จากสมัชชาการศึกษาตำบล สู่...

4
การจดการศกษาเชงพนทสรนทรหยบยกการแกปญหาเดก ออกกลางคนเปนโจทยรวมการทำงาน ใชกลไก “ปญจภาค” ท ประกอบดวย พอแมผูปกครอง หนวยงานจดการศกษา ทองถน ทองท หนวยสนบสนนการศกษา และองคกรเอกชน มูลนธ สมาคม ชวยกนตดตามเฝาระวงและออกแบบการเรยนรูใหเดก เยาวชนลูกหลานคนสรนทรใหไดรบการศกษาจนจบภาคบงคบ หรอไดรบการฝกทกษะอาชพสามารถดำรงชวตในสงคมไดอยาง ปกตสข ผลจากการทำงานในพนทนำรอง 20 ตำบล ทำให สามารถตดตามเดกเยาวชนออกกลางคนกลบเขาศกษาตอจน จบการศกษาภาคบงคบ 454 คน และผูทจบภาคบงคบแลว ไม กษาต อหร อไม งานทำให ได บการฝ กอบรมหล กสูตรว ชาช ระยะสนจำนวน 287 คน แตจากขอมูลการสำรวจลาสดปญหา เดกออกกลางคนสรนทรยงคงมอยูในจำนวนทสูงมาก ขอมูลเดกออกกลางคนจากการสำรวจลาสดของคณะ กรรมการปฏรูปการเรยนรูสรนทรทม อบจ.สรนทร เปนฝาย เลขานการ มการทำงานรวมกบเครอขายปญจภาคและสภา องคกรชมชนทงจงหวด พบวามจำนวนเดกออกกลางคน 4,290 คน จากขอมูลทสำรวจแลวเสรจ 775 หมูบาน ดงนน หาก สามารถรวบรวมขอมูลไดครบทงหมด 2,120 หมูบาน สรนทร นาจะมจำนวนเดกออกกลางคนรวมไมตำกวา 10,000 คน ปญหาเดกออกกลางคนถูกหยบยกขนมาเปนวาระทำงาน รวมของคณะทำงานปญจภาคในเวทสมชชาการศกษาตำบลใน 20 ตำบลนำรองของจงหวดทจดขนตอเนองในชวงเดอนธนวาคม 2558 – กมภาพนธ 2559 เวททง 20 ตำบลมคณะทำงาน ปญจภาคในพนทเปนเจาภาพเชญชวนผูมสวนไดเสยกบการ ศกษาในพนทโดยเฉพาะเดกเยาวชนและหนวยจดการศกษา มารวมคด กำหนดมาตรการและทำงานตดตามเฝาระวงเดก ออกกลางคนของพนทรวมกนโดยมคณะทำงานจงหวดเปนพ เลยงใหการสนบสนนอกทางหนง เสยงจากเวทระดบตำบล จากสมัชชาการศึกษาตำบล สู่สมัชชาการศึกษาจังหวัดสุรินทร์ พฒนะพงษ สขมะดน สะทอนวาปญหาความยากจน ปญหาการเดนทางไกล และการ เรยนวชาการทไมตอบโจทยการใชชวตเปนสาเหตสำคญของการ ดงเดกออกจากระบบการศกษา ในการประชมสมชชาการศกษาจงหวดสรนทร ปญจภาค เวทปฏรูปการจดการศกษาเชงพนท ในวนท 4 มนาคม 2559 ณ หองรตนสยามมงคล โรงแรมทองธารนทร อำเภอเมอง จงหวด สรนทร ซงเปนเวทตอเนองจากการจดสมชชาการศกษาตำบล นายทองสุข รวยสูงเนิน ประธานคณะกรรมการปฏรูปการ เรยนรูจงหวดสรนทร ไดนำเสนอผลการดำเนนงานและขอมูล เดกออกกลางคนดงกลาวตอ นายอรรถพร สิงหวิชัย ผูวา ราชการจงหวดสรนทร และผูเขารวมประชมประมาณ 600 คน โดยผูวาราชการจงหวดใหความเหนวา “ปญหาเดกออกกลาง คนทำใหประเทศเสยโอกาสทางการแขงขน จำเปนทคนสรนทร ตองชวยกนแกปญหาอยางเรงดวน การจดการศกษาเชงพนท จั ง ห วั ด ป ฏิ รู ป ก า ร เ รี ย น รูเด่นในฉบับ.. งานวชาการเทศบาลนครจงหวดภูเกตในหวขอการเรยนรู ในศตวรรษท 21 ตราดรำลก 110 ป : ใช ‘วาระจงหวด’ ในการสอสารเพอ ชนำอนาคตคนตราดบนพนทเศรษฐกจพเศษ ตดตามความเคลอนไหวของจงหวดปฏรูปการเรยนรูท ABE Network’s Corner ฉบับทีอานตอหนา 4 วันที่ 16 มีนาคม 2559 18

Transcript of จากสมัชชาการศึกษาตำบล สู่...

Page 1: จากสมัชชาการศึกษาตำบล สู่ ...apps.qlf.or.th/member/UploadedFiles/prefix-16032559... · 2016-03-16 · เศรษฐีได้ หากมีอาชีพที่หลากหลายและตรงกับจุดแข็งของตราด

การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่สุรินทร์หยิบยกการแก้ปัญหาเด็ก

ออกกลางคันเป็นโจทย์ร่วมการทำงาน ใช้กลไก “ปัญจภาคี” ที่

ประกอบด้วยพ่อแม่ผู้ปกครองหน่วยงานจัดการศึกษาท้องถิ่น

ท้องที่ หน่วยสนับสนุนการศึกษา และองค์กรเอกชน มูลนิธิ

สมาคม ช่วยกันติดตามเฝ้าระวังและออกแบบการเรียนรู้ให้เด็ก

เยาวชนลูกหลานคนสุรินทร์ให้ได้รับการศึกษาจนจบภาคบังคับ

หรือได้รับการฝึกทักษะอาชีพสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่าง

ปกติสุข ผลจากการทำงานในพื้นที่นำร่อง 20 ตำบล ทำให้

สามารถติดตามเด็กเยาวชนออกกลางคันกลับเข้าศึกษาต่อจน

จบการศึกษาภาคบังคับ 454 คน และผู้ที่จบภาคบังคับแล้ว

ไม่ศึกษาต่อหรือไม่มีงานทำให้ได้รับการฝึกอบรมหลักสตูรวิชาชีพ

ระยะสั้นจำนวน 287 คน แต่จากข้อมูลการสำรวจล่าสุดปัญหา

เด็กออกกลางคันสุรินทร์ยังคงมีอยู่ในจำนวนที่สูงมาก

ข้อมูลเด็กออกกลางคันจากการสำรวจล่าสุดของคณะ

กรรมการปฏิรูปการเรียนรู้สุรินทร์ที่มี อบจ.สุรินทร์ เป็นฝ่าย

เลขานุการ มีการทำงานร่วมกับเครือข่ายปัญจภาคีและสภา

องค์กรชุมชนทั้งจังหวัด พบว่ามีจำนวนเด็กออกกลางคัน 4,290

คน จากข้อมูลที่สำรวจแล้วเสร็จ 775 หมู่บ้าน ดังนั้น หาก

สามารถรวบรวมข้อมูลได้ครบทั้งหมด 2,120 หมู่บ้าน สุรินทร์

น่าจะมีจำนวนเด็กออกกลางคันรวมไม่ต่ำกว่า10,000คน

ปัญหาเด็กออกกลางคันถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นวาระทำงาน

ร่วมของคณะทำงานปัญจภาคีในเวทีสมัชชาการศึกษาตำบลใน

20ตำบลนำร่องของจังหวัดที่จัดขึ้นต่อเนื่องในช่วงเดือนธันวาคม

2558 – กุมภาพันธ์ 2559 เวทีทั ้ง 20 ตำบลมีคณะทำงาน

ปัญจภาคีในพื้นที่เป็นเจ้าภาพเชิญชวนผู้มีส่วนได้เสียกับการ

ศึกษาในพื้นที่โดยเฉพาะเด็กเยาวชนและหน่วยจัดการศึกษา

มาร่วมคิด กำหนดมาตรการและทำงานติดตามเฝ้าระวังเด็ก

ออกกลางคันของพื้นที่ร่วมกันโดยมีคณะทำงานจังหวัดเป็นพี่

เลี ้ยงให้การสนับสนุนอีกทางหนึ่ง เสียงจากเวทีระดับตำบล

จากสมัชชาการศึกษาตำบล สู่สมัชชาการศึกษาจังหวัดสุรินทร์ พัฒนะพงษ์ สุขมะดัน

สะท้อนว่าปัญหาความยากจนปัญหาการเดินทางไกลและการ

เรียนวิชาการที่ไม่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตเป็นสาเหตุสำคัญของการ

ดึงเด็กออกจากระบบการศึกษา

ในการประชุมสมัชชาการศึกษาจังหวัดสุรินทร์ ปัญจภาคี

เวทีปฏิรูปการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ในวันที่4มีนาคม2559ณ

ห้องรัตนสยามมงคล โรงแรมทองธารินทร์ อำเภอเมือง จังหวัด

สุรินทร์ ซึ่งเป็นเวทีต่อเนื่องจากการจัดสมัชชาการศึกษาตำบล

นายทองสุข รวยสูงเนิน ประธานคณะกรรมการปฏิรูปการ

เรียนรู้จังหวัดสุรินทร์ ได้นำเสนอผลการดำเนินงานและข้อมูล

เด็กออกกลางคันดังกล่าวต่อ นายอรรถพร สิงหวิชัย ผู้ว่า

ราชการจังหวัดสุรินทร์ และผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 600 คน

โดยผู้ว่าราชการจังหวัดให้ความเห็นว่า “ปัญหาเด็กออกกลาง

คันทำให้ประเทศเสียโอกาสทางการแข่งขัน จำเป็นที่คนสุรินทร์

ต้องช่วยกันแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่

จั ง ห วั ด ป ฏิ รู ป ก า ร เ รี ย น รู้

เด่นในฉบับ.. • งานวิชาการเทศบาลนครจังหวัดภูเก็ตใน

หัวข้อการเรียนรู้

ในศตวรรษที่21

• ตราดรำลึก110ปี:ใช้‘วาระจังหวัด’ในการสื่อสารเพื่อ

ชี้นำอนาคตคนตราดบนพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ

• ติดตามความเคลื่อนไหวของจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้ที ่

ABENetwork’sCorner

ฉบับที่

อ่านต่อหน้า4

วันที่ 16 มีนาคม 2559 18

Page 2: จากสมัชชาการศึกษาตำบล สู่ ...apps.qlf.or.th/member/UploadedFiles/prefix-16032559... · 2016-03-16 · เศรษฐีได้ หากมีอาชีพที่หลากหลายและตรงกับจุดแข็งของตราด

2

เทศบาลนครจังหวัดภูเก็ต ได้จัดกิจกรรมวิชาการ หัวข้อ

การเรียนรู ้ในศตวรรษที่ 21 ขึ ้น เพื ่อส่งเสริมการเรียนรู ้ของ

นักเรียน และมอบความรู้ในเรื่องการศึกษาในปัจจุบันที่มีการใช้

เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเรียนการสอน และการศึกษาเพื่อ

เตรียมตัวสู ่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ให้กับ

ประชาชนและนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม

ในวันที่ 4-6 กุมภาพันธ์ 2559 เทศบาลนครจังหวัดภูเก็ต

ได้จัดกิจกรรมวิชาการขึ้น ณ บริเวณเวทีกลางสะพานหิน โดย

ได้เชิญหน่วยงานต่างๆ เพื่อร่วมจัดนิทรรศการให้ความรู ้กับ

ผู้เข้าร่วมงาน ได้แก่ โรงเรียนเทศบาลวัดขจรรังสรรค์, โรงเรียน

เทศบาลบ้านบางเหนียว, โรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญาใน

พระอุปถัมภ์, โรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง, โรงเรียนเทศบาล

เมืองภูเก็ต, โรงเรียนอนุบาลเทศบาลนครภูเก็ต, โรงเรียน

เทศบาลพิบูลสวัสดี, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, ศูนย์พัฒนาทักษะ

และการเรียนรู้ ICT,โรงเรียนสอนภาษาจีนซึ่งทางทีมวิจัยระบบ

ฐานข้อมูลสารสนเทศฯ มหาวิทยาลัยนเรศวรได้ร ับเกียรติ

เข้าร่วมจัดนิทรรศการในครั้งนี้ด้วย

ภายในงานกิจกรรมวิชาการ แต่ละหน่วยงานได้มีการจัด

นิทรรศการขึ ้นเพื ่อให้ความรู ้ก ับผู ้เข้าร่วมงานในครั ้งนี ้ ซึ ่ง

หน่วยงานที่เข้าร่วมได้จัดนิทรรศการให้ความรู้ในหัวข้อต่างๆ

เช่น การใช้เทคโนโลยีในการเรียนในยุคปัจจุบัน, การเตรียม

ความพร้อมสำหรับการก้าวเข้าสู่ AEC, เศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ

ซึ่งทางทีมวิจัยระบบสารสนเทศฯ ได้ร่วมจัดนิทรรศการในครั้งนี้

ด้วยในหัวข้อ ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศเพื่อสร้างหลักประกัน

โอกาสการเรียนรู้เพื่อการสร้างข้อตกลงการพัฒนาคุณภาพการ

ศึกษาของโรงเรียน เพื่อมอบความรู้ในเรื่องของการใช้เทคโนโลยี

มาช่วยในการยกระดับการศึกษา และภายในงานยังมีกิจกรรม

การแสดงของนักเรียนต่างๆ เช่น การแสดงละครภาษาอังกฤษ,

การแสดงดนตรีไทย ดนตรีสากลของนักเรียน ฯลฯ ซึ่งกิจกรรม

ต่างๆได้รับความสนใจจากนักเรียนและผูเ้ข้าร่วมงานเป็นอย่างดี

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 17.00 น. นางสาว สมใจ

สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต ได้ให้เกียรติเป็น

ประธานในพิธีเปิดงานวิชาการหัวข้อการเรียนรู้ในศตวรรษที่21

ในครั้งนี้ โดยมีแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมพิธี และได้กล่าวให้โอวาท

แก่ผูเ้ข้าร่วมงานโดยกล่าวถึงการเตรียมพร้อมเพ่ือเข้าสูป่ระชาคม

เศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC พร้อมนำนครภูเก็ตเข้าสู่เมืองแห่ง

การเรียนรู้นานาชาติ เพื่อยกระดับการศึกษาไทยสู่สากล ทั้งนี้

นางสาวสมใจสุวรรณศุภพนานายกเทศมนตรีนครภูเก็ตยังได้

ร่วมรับชมการแสดงเปิดพิธีของนักเรียน และร่วมพูดคุยกับ

หน่วยงานต่างๆ พร้อมกับให้เกียรติถ่ายรูปร่วมกับคณะครูและ

บุคลากรจากหน่วยงานที่เข้าร่วมในกิจกรรมวิชาการในครั้งนี้

อีกด้วย

พัฒนาคน... พัฒนางาน

ดร.วรลักษณ์ คงเด่นฟ้า

งานวิชาการเทศบาลนครจังหวัดภูเก็ต ในหัวข้อการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21

แสดงภาพบรรยากาศภายในงานกิจกรรมวิชาการ

นางสาว สมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต ได้ให้

เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด งานวิชาการ

Page 3: จากสมัชชาการศึกษาตำบล สู่ ...apps.qlf.or.th/member/UploadedFiles/prefix-16032559... · 2016-03-16 · เศรษฐีได้ หากมีอาชีพที่หลากหลายและตรงกับจุดแข็งของตราด

ปลายเดือนกุมภาพันธ์ที ่ผ ่านมา สสค.ได้ร ่วมกับกรม

ประชาสัมพันธ์และจังหวัดตราดนำโดยนางสาริกา วรรณรัตน์

ประชาสัมพันธ์จังหวัดตราด จัดเวทีเสวนา “จุดเปลี่ยนการ

เรียนรู้ก้าวสู่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ : จังหวัดตราด”

โดยได้รับเกียรติจากผู้ใหญ่ใจดีในจังหวัด อาทิ ผู้ว่าราชการ

จังหวัดตราด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตราด ให้แนวคิด

และทิศทางที่ภาคการศึกษาต้องปรับตัวให้เท่าทัน ซึ่งถือเป็น

โอกาสในการเร ียนรู ้ท ี ่จะใช้จ ุดแข็ง “ทุนจังหวัด” ให้เป็น

ประโยชน์บนพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษอย่างไรให้คุ้มค่า

ในเวทีเดียวกันนายสันติพงษ์ ช้างเผือก บรรณาธิการ

รายการเสียงประชาชน เปลี่ยนประเทศไทย สถานี

โทรทัศน์ไทยพีบีเอส ได้ตั้งคำถามสำคัญในฐานะนักเล่าเรื่อง

ว่าจุดแข็งของตราดคือ การค้าชายแดน การท่องเที่ยวเชิง

นิเวศน์ และการเกษตรพานิชย์ ในวาระตราดรำลึก 110ปีนี้

คนในจังหวัดจึงควรใช้เป็นโอกาสในการถามหาทิศทางการขับ

เคลื ่อนการเร ียนรู ้ท ี ่ตอบโจทย์จุดแข็งของจังหวัดบนพื ้นที ่

เศรษฐกิจพิเศษ เช่น การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ทำอย่างไรให้นัก

ท่องเที่ยวไม่เลี้ยวเข้าแต่เกาะช้าง มีเมนูการท่องเที่ยวอื่นๆ ที่

สร้างมูลค่าเพิ่มได้หรือไม่ หรือการค้าชายแดน จะเปลี่ยนการ

มองแยกส่วนเพียงแค่เศรษฐกิจของไทยและกัมพูชาเป ็น

เศรษฐกิจคู่ค้าร่วมกันได้อย่างไร จึงต้องมีการเตรียมกำลังคนให้

พร้อมในพื้นที่ลักษณะพิเศษแบบนี้ ฉะนั้นการเรียนรู้ย่อมต้อง

แตกต่าง “คนตราดต้องยกระดับการเรียนรู ้ให้เป็นวาระของ

จังหวัด เปลี่ยนการตอกย้ำในอดีตเป็นพลังในการเปลี่ยนแปลง

เพื่ออนาคต ต้องทำให้คนตราดตระหนักว่า รอไม่ไหวแล้วนะ!

จังหวัดต้องเร ิ ่มมาสนใจเร ื ่องในพื ้นที ่ และชวนทุกคนมา

เปลี่ยนแปลงอนาคตคนตราดร่วมกัน ฉะนั้นต้องเริ ่มจากการ

สื่อสารที่ไม่ได้มองแต่การศึกษาเท่านั้น แต่ต้องมองการเรียนรู้

ร่วมกันของคนทั้งจังหวัด เพื่อการเชื่อมต่อข้อมูล และเลือก

ข้อมูลขึ้นมาใช้ให้ถูกจังหวะ และวาระ”

นางสาวกัลยาวีร์ แววคล้ายหงษ์ ผู้สื่อข่าวสถานี

โทรทัศน์ TNN 24 อีกหนึ่งนักสื่อสารสาวชาวตราดกล่าวว่า

ตราดรำลึก 110 ปี : ใช้ ‘วาระจังหวัด’ ในการสื่อสารเพื่อชี้นำอนาคตคนตราดบนพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ

กนกวรรณ กลินณศักดิ์ นักวิชาการสื่อสาร สสค.

3

รณรงค์สื่อสาร จังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้

หากย้อนไปช่วงเวลาที่ตนตัดสินใจเลือกเรียนต่อนั้นยังไม่มีทาง

เลือกที่หลากหลายให้ผู้เรียน และเมื่อผู้ปกครองยังมีค่านิยมใน

เรื่องการเรียนต่อปริญญาตรี เด็กตราดส่วนใหญ่เมื่อเรียนจบเลย

ไม่ได้กลับบ้าน เพราะสิ่งที่เรียนมาไม่ตอบโจทย์อาชีพที่มีอยู่ใน

พื้นที่ ในวาระตราดรำลึก 110 ปีจึงเห็นเป็นเรื่องดีหากเปลี่ยน

จากมิติย้อนรำลึกอดีต เป็นการมองอนาคตของเด็กเยาวชนใน

จังหวัด โดยเฉพาะการช่วยกันปรับทัศนคติของผู้ปกครองให้

ยอมรับว่า แม้ลูกหลานชาวตราดจะไม่จบปริญญาตรี ก็เป็น

เศรษฐีได้หากมีอาชีพที่หลากหลายและตรงกับจุดแข็งของตราด

“ในรุ่นเดียวกัน มีเพื่อนไม่กี่คนที่ตัดสินใจไม่เรียนต่อ และยึด

อาชีพเกษตรพานิชย์ ทำให้ทุกวันนี้เขาสามารถมีรายได้และ

ความเป็นอยู่ที่ดีในจังหวัด ไม่จำเป็นต้องดิ้นรนออกไปทำงาน

ต่างถิ่น หากคนตราดช่วยกันสร้างความเข้าใจใหม่ในเรื่องการ

เรียนรู้ที่เปิดกว้างและหลากหลายก็ทำให้เด็กตราดมีที่ยืนต่อไป

ในจังหวัดของตน”

ตราดรำลึก110ปีในวันที่23-27มีนาคมนี้ต้องรอชมตราด

มิติใหม่กัน!

Page 4: จากสมัชชาการศึกษาตำบล สู่ ...apps.qlf.or.th/member/UploadedFiles/prefix-16032559... · 2016-03-16 · เศรษฐีได้ หากมีอาชีพที่หลากหลายและตรงกับจุดแข็งของตราด

อำนาจเจริญ : 29 กุมภาพันธ์ 2559นายณรงศักดิ์ พลศักดิ์ รองผู้ว่าราชการ

จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นประธานการประชุมและแถลงข่าวการสนับสนุนโครงการ

ปฏิรูปการเรียนรู้เชิงพื้นที่ มีนายนรงฤทธิ์ จันทรเนตร ประธานสภาการศึกษา

จังหวัดอำนาจเจริญพร้อมสมาชิกสภาฯ และส่วนราชการร่วมเป็นสักขีพยานพร้อม

เพรียงงานนี้ไม่ต้องรอ4ปีมีครั้งเพราะจะมีอีกหลายกิจกรรมตามมาเร็วๆนี้...

สุราษฎร์ธานี : 4-5 มีนาคม 2559 หลักสูตรพุทธทาสศึกษา ความภูมิใจของ

ชาวสมัชชาการศึกษาสุราษฎร์ธานี เดินหน้าไปถึงขั้นการจัดทำคู่มือครูร่วมกับศึกษา

นิเทศจากเขตพื ้นท ี ่การศ ึกษาทั ้ง 4 เขตของจ ังหว ัดแล ้ว งานนี ้ท ่านนายก

อบจ.สุราษฎร์ธานีนายทนงศักดิ์ ทวีทอง ในฐานะฝ่ายเลขานุการกล่าวขอบคุณ

และให้กำลังใจศึกษานิเทศทุกท่านที่ช่วยกันลงแรงแข็งขัน หลังจากนี้คือการทดลอง

นำร่องใช้หลักสูตรในโรงเรียน12แห่ง...

ลำปาง : 8มีนาคม 2559หลังจากให้เวลากับงานในตำแหน่งรองอธิการบดีมาพักใหญ่ผศ.จำลอง คำบุญชู นำคณะวิจัย

การศึกษาเชิงพื้นที่ลำปางเข้าหารือกับนางสาวเพ็ญภัค รัตนคำฟู นายกเทศมนตรีตำบลเกาะคา และหน่วยงานสนับสนุน

หารือการเปิดเวทีขับเคลื่อนเครือข่ายในพื้นที่เกาะคาภายหลังพบว่าเด็กที่เรียนในเกาะคาร้อยละ 98 เป็นเด็กจากครอบครัว

ยากจนโจทย์นี้คงเหนื่อยไม่น้อยไปกว่างานในตำแหน่งรองอธิการบดีแน่นอน...

สมัครสมาชิก สสค. ดาวน์โหลดไฟล์จดหมายข่าว “สานปัญญา” ได้ที่ www.QLF.or.th

ติดตามข่าวสาร สสค. ที่ Quality Learning Foundation QLFThailand

แจ้งเปลี่ยนที่อยู่สมาชิก/สอบถาม โทร. 02-6191811

ต่อจาก หน้า 1

ABE Network’s Corner

หรือ Area-based Education จะช่วยให้การศึกษาตอบสนอง

บริบทของสังคมได้ เด็กสุรินทร์ต้องมีความกระตือรือร้น เรียน

แล้วต้องทำงานได้ ไม่ให้ผลิตภาพแรงงานต่ำเหมือนที่เป็นอยู่”

โดยผู ้ว่าราชการจังหวัดจะนำข้อเสนอแนวทางการทำงานที ่

ได้จากการหารือของสมัชชาการศึกษาในวันนี ้ไปหารือกับ

คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนของจังหวัด (กรอ.) เพื่อ

กำหนดมาตรการสนับสนุนต่อไป

ความเห็นที่ได้จากช่วงแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อหารือภาพความ

สำเร็จของการจัดการศึกษาของสุรินทร์ในอีก 5 ปีข้างหน้าและ

แนวทางความร่วมมือของเครือข่ายปัญจภาคีมีข้อเสนอในหลาย

ประการที่สำคัญคือการจัดการเรียนการสอนที่สร้างคุณธรรม

จริยธรรมให้กับเด็ก การเรียนการสอนที่นำไปสู่การมีทักษะชีวิต

ทักษะอาชีพให้กับเด็กโดยเฉพาะในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ซึ่งเป็นข้อต่อสำคัญก่อนที่เด็กจะหลุดจากระบบการศึกษา และ

บทบาทของครอบครัวที่จะสนับสนุนการศึกษาให้กับบุตรหลาน

น้องๆ นักเรียนโรงเรียนสุรวิทยาคารและโรงเรียนศิรินธรให้ความ

เห็นต่อที่ประชุมว่า “ช่องว่างคนรวยจนเป็นสิ่งสำคัญทางการ

ศึกษา การจัดการศึกษาควรส่งเสริมทักษะชีวิตในการอยู่ร่วมกัน

มีตลาดแรงงานรองรับให้กับเยาวชนเรียนแล้วมีรายได้ จบแล้ว

มีงานทำ พ่อแม่ผู ้ปกครองเป็นตัวอย่างที่ดีให้ความรักความ

อบอุ่นไม่เปรียบเทียบลูกกับเด็กอื่น การประเมินผลครูควรวัดที่

เด็กไม่ให้เป็นอย่างที ่เป็นอยู ่คือครูบางคนสอนดีแต่ประเมิน

ไม่ผ่านขณะที่ครูบางคนประเมินผ่านแต่สอนไม่ดี”

การดำเนินงานต่อจากนี้คณะกรรมการปฏิรูปการเรียนรู ้

จังหวัดสุรินทร์จะประมวลความเห็นและแนวทางความร่วมมือ

ที ่ได้ยกเป็น ร่างแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัด เสนอต่อ

ผู ้ว ่าราชการจังหวัดเพื ่อบรรจุไว้ในแผนยุทธศาสตร์จังหวัด

ด้านการศึกษาเพื่อให้เกิดการสนับสนุนงบประมาณและการ

ทำงานร่วมกันในจังหวัด โดยจะเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง

คณะกรรมการการศึกษาจังหวัด ที่มีผู้แทนจากหน่วยงานการ

ศึกษา ผู้ได้รับผลจากการศึกษาและหน่วยงานสนับสนุนเข้า

ร่วมเพื่อแปลงความคิดไปสู่การปฏิบัติโดยจะนำเสนอผลการ

ดำเนินงานต่อผู้ว่าราชการจังหวัดและเวทีสมัชชาการศึกษาเป็น

ระยะๆ ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ได้ให้ความเห็นก่อนปิด

ประชุมว่า “ภายใต้เงื ่อนไขข้อจำกัดของจังหวัดสุรินทร์วันนี้

คนสุรินทร์มาช่วยกันคิดว่าอยากเห็นการศึกษาของเราเป็น

อย่างไร สุรินทร์เป็นจังหวัดที่รักษาความเป็นเอกลักษณ์ไว้ได้

ตลอดมาต้องช่วยกันทำให้เด็กมีความรู้ ทุกคนต้องมีงานทำเต็ม

ตามความรู ้ความสามารถ จัดการศึกษาต่อเนื ่องเพื ่ออาชีพ

เน้นภาษา คนที่ไม่มีโอกาสเข้าสู่ระบบโรงเรียนต้องเอาโรงเรียน

การอาชีพเข้าไปให้ความรู้ เราไม่มีเวลาตำหนิผู้อื่น ต้องช่วยกัน

ดูแลเด็กของเราให้ดีที่สุด”