เอกสารเผยแพร บทความ ก รgraduate.rtu.ac.th/pdf_files/thesis...

416
อกสารเผยแพรบทความ ารศึกษาคนควาดวยตนเอง ะดับบัณฑิตศึกษา บั ณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชธานี ปที2 ฉบับที2 เดือนกันยายน 2554

Transcript of เอกสารเผยแพร บทความ ก รgraduate.rtu.ac.th/pdf_files/thesis...

  • เอกสารเผยแพรบทความ การศึกษาคนควาดวยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา

    บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชธานี

    ปที่ 2 ฉบบัที่ 2 เดือนกันยายน 2554

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    กเอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนกันยายน 2554 www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    สารจากคณบดบัีณฑติวทิยาลยั

    การจัดทําเอกสารเผยแพร่บทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา เป็นโครงการที่บัณฑิตวิทยาลัยได้จัดขึ้น เพ่ือเผยแพร่องค์ความรู้ที่เกิดจากผลงานวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เพ่ือพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ และการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ตลอดจนสร้างเสริมประสบการณ์และพัฒนาทักษะการนําเสนอผลงานวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งจะสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ . ) กระทรวงศึกษาธิการ ที่ให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ได้มีโอกาสตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิทยานิพนธ์เพ่ือขอสําเร็จการศึกษาได้ และยังเป็นแนวทางนําไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของงานวิจัย และการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาอีกด้วย

    ดังน้ัน ผลงานที่ตีพิมพ์ในเอกสารน้ีจึงเป็นงานวิจัยที่ผ่านการประเมินคุณภาพแล้ว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชธานี หวังเป็นอย่างย่ิงว่า เอกสารเผยแพร่น้ีจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจทุกท่าน ในการนําไปพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมที่เก่ียวข้องเพื่อจะได้นําความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและประเทศชาติต่อไป บัณฑิตวิทยาลัย ขอขอบคุณคณะทํางานที่ร่วมใจกันจัดเตรียมเอกสารส่ิงพิมพ์ที่มีประโยชน์เพื่อ

    เผยแพร่ในวงกว้างต่อไป

    รองศาสตราจารย์ ดร.จรูญ คูณมี

    คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

    บัณฑิต

    วิทยา

    ลัย

    มหาว

    ิทยาล

    ัยราช

    ธานี

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    ข เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนกันยายน 2554 R

    atch

    atha

    ni Un

    iversi

    ty |

    www.

    rtu.ac

    .th

    คณะกรรมการพิจารณาบทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

    (Peer Review)

    1. รองศาสตราจารย์ ดร.จรูญ คูณมี 2. รองศาสตราจารย์ ดร.พิพัฒน์ ตั้งสืบกุล 3. รองศาสตราจารย์ ดร.สุภาพ บุญไชย 4. รองศาสตราจารย์ ดร.วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์ 5. รองศาสตราจารย์ อุไรวรรณ อินทรีย์ 6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระ สุภากิจ 7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ น่ิมจินดา 8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จํารัส มุกุศล 9. ดร.สิริรัตน์ เกษประทุม 10. ดร.อดุลศักดิ์ สุนทรโรจน์ 11. ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร 12. ดร.ชัชวาลย์ คัมภีรวัฒน์ 13. ดร.ชาญยุทธ หาญชนะ

    บัณฑิต

    วิทยา

    ลัย

    มหาว

    ิทยาล

    ัยราช

    ธานี

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    คเอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนกันยายน 2554 www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    สารบัญ

    หน้า

    ศึกษาบทบาทของครูผู้สอนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ 1

    ตามความคิดเห็นของนักเรียนโรงเรียนสวายพิทยาคม อําเภอปรางค์กู่

    สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาศรีสะเกษเขต 3

    ฐานุตรา กานุวงศ์

    องค์ประกอบในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพ้ืนฐาน 9

    ตําบลขนุน อําเภอกันทรลักษ ์ สํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 4

    ถวิน คําไชย

    การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เร่ือง การอ่านจับใจความ 17

    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน

    ทองสุข นิ้วทอง

    การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู ้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 25

    เร่ือง การอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน

    ทัศน ี ศิลบุตร

    การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระคณิตศาสตร ์ เร่ือง เศษส่วน 34

    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กลุ่มร่วมมือแบบ STAD

    ทัศพร คําปลิว

    การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เร่ือง การผันวรรณยุกต ์ 40

    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ STAD

    ทิฆัมพร ทบเทิบ

    ศึกษาการโอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ไปสังกัดองค์การบริหารส่วนตําบล 48

    กลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 7 สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 3

    นคร ปักเขตานัง

    การศึกษาความพึงพอใจครูผู้สอนที่มีต่อการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียน กลุ่มเครือข่าย 60

    พัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 6 คงแคนคํา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 2

    นพดล จําปาพันธ์

    บัณฑิต

    วิทยา

    ลัย

    มหาว

    ิทยาล

    ัยราช

    ธานี

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    ง เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนกันยายน 2554 R

    atch

    atha

    ni Un

    iversi

    ty |

    www.

    rtu.ac

    .th

    สารบัญ

    หน้า

    การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 67

    เร่ืองร่างกายมนุษย์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ 5 E

    นวลจันทร์ เดชพิมลพร

    การศึกษาปัญหาการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ 75

    ศรีสะเกษ สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา ศรีสะเกษ เขต 1

    นวลอนงค์ วุฒิเสลา

    การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 81

    เร่ือง คําราชาศัพท์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยโครงงาน

    นัทธ์กานท์ แก้วทอง

    การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เร่ือง การอา่นและการเขยีนคําใหม่ 89

    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะ

    นาตยาพร ศิริพันธ์

    การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร ์เร่ือง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 97

    โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

    นิตยาพร อํานวย

    การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เร่ือง สระเปลี่ยนรูปและสระลดรูป 105

    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะ

    นิรมล นาคาธร

    ศึกษาความต้องการของชุมชนในการพัฒนาโรงเรียนอนุบาลขุนหาญ (ส)ิ 112

    สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 4

    นิลยา นาไชยธง

    ศึกษาการดําเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 120

    ตําบลสังเม็ก อําเภอกันทรลักษ ์ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 4

    นีระภา วิริยะบัณฑิต

    การพัฒนาการเรียนรู้ เร่ือง สารรอบตัวเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกทักษะ 129

    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโจดม่วง สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษเขต 2

    บุญญาพร นรสาร

    บัณฑิต

    วิทยา

    ลัย

    มหาว

    ิทยาล

    ัยราช

    ธานี

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    จเอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนกันยายน 2554 www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    สารบัญ

    หน้า

    คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของชาวพุทธตามความคิดเห็นของพระภิกษุสงฆ์ วัดมหาพุทธาราม 135

    อําเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ

    บุญทัน เที่ยงธรรม

    ความต้องการของผู้ปกครองของนักเรียนในการพัฒนาโรงเรียนบ้านหนองคับคา 140

    ตําบลท่าคล้อ สํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 4

    พงศธร เทียวประสงค์

    ศึกษาความคิดเห็นของชุมชนที่มีต่อการจัดการศึกษาของ 150

    โรงเรียนพระปริยัติธรรมกันทรลักษ์ธรรมวิทย ์(วัดกระบี่) ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ ์

    พระใบฎีกากฤษญเมธา ปณฺฑิโต (ปัญญาคม)

    ความต้องการของชุมชนในการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางของชุมชน ตําบลชีทวน 158

    อําเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธาน ี

    พระอธิการพูลศักดิ์ หอมสมบัติ

    การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชางานระบบฉีดเช้ือเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ เร่ือง ระบบจุดระเบิด 166

    ชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3 ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบการเรียนรู้ร่วมกัน (LT)

    พลวุฒิ แก้วสง่า

    ศึกษาปัญหาการใช้สื่อการเรียนรู้ของครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มโรงเรียนตําบลหนองหว้า 175

    อําเภอเบญจลักษ ์ สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 4

    พินิจ จริตรัมย์

    ศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองฮาง 182

    อําเภอเบญจลักษ ์ สํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา ศรีสะเกษ เขต 4

    รวิภา ชาภักดี

    ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โรงเรียนบ้านหนองฮาง 189

    อําเภอเบญจลักษ ์ จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 4

    ระเบียบ เขียวสุข

    ความต้องการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศกึษาโรงเรียนอนุบาล ดํารงราชานุสรณ์ 197

    อําเภอกันทรลักษ์ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 4

    วนิดา ศิริเศวตกุลวงศ์

    บัณฑิต

    วิทยา

    ลัย

    มหาว

    ิทยาล

    ัยราช

    ธานี

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    ฉ เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนกันยายน 2554 R

    atch

    atha

    ni Un

    iversi

    ty |

    www.

    rtu.ac

    .th

    สารบัญ

    หน้า

    ศึกษาปัญหาวินัยนักเรียนโรงเรียนวัดมหาพุทธาราม อําเภอเมือง 207

    จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาศรีสะเกษเขต 1

    วัชรา ท้าวด่อน

    การดําเนินการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในกลุ่มตรวจราชการเบญจลักษ ์ 214

    สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 4

    วันนา บุดดา

    การศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อการบริหารกลุ่มงานบริหารท่ัวไปในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 224

    ในตําบลขนุน อําเภอกันทรลักษ ์ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 4

    วันเพ็ญ คําไชย

    ศึกษาการดําเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกันทรลักษ์วิทยา 233

    อําเภอกันทรลักษ ์ จังหวัดศรีสะเกษ

    วิจิตฎ์ตรา บุญตา

    ปัจจัยส่งเสริมการดําเนินการในระบบประกันคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 240

    กลุ่มเครือข่ายแก้งโนนกาเร็น อําเภอเดชอุดม

    สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5

    วิโรจน์ ใกล้ฝน

    การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เร่ือง พลังงานแสง 250

    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ 5E

    ศิรารินทร์ บุญยรัชชัยนนท์

    การศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูผู้สอน โรงเรียนบึงมะลูวิทยา 259

    อําเภอกันทรลักษ ์จังหวัดศรีสะเกษ

    สุจิตรา เฉลิมศร ี

    การดําเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนกระแชงวิทยา 267

    อําเภอกันทรลักษ ์ สํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาศรีสะเกษเขต4

    สุนทร ทองสวัสดิ์

    บัณฑิต

    วิทยา

    ลัย

    มหาว

    ิทยาล

    ัยราช

    ธานี

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    ชเอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนกันยายน 2554 www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    สารบัญ

    หน้า

    การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยีงานเกษตร 276

    เร่ืองการปลูกผักสวนครัว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โดยใช้กิจกรรมโครงงาน

    สุนันท์ ทองกลึง

    ศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาของ 284

    โรงเรียนอนุบาลสุพรรณิกา อําภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธาน ี

    สุพรรณิกา มหาเสนา

    การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 292

    เร่ือง คําที่สะกดไม่ตรงมาตรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD

    สุพรรณิการ์ มงคล

    ขวัญและกําลังใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนโรงเรียนกลุ่มตรวจราชการเบญจลักษ ์ 300

    อําเภอเบญจลักษ ์ สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 4

    สุภัทธา จริตรัมย์

    ความต้องการของชุมชนในการพัฒนาโรงเรียนบ้านท่าสว่าง อําเภอกันทรลักษ์ 308

    สํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 4

    สุภาณีย์ ตุ้มคง

    การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย 317

    ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้หนังสือภาพการ์ตูน

    สุภาพ ผ่องใส

    การศึกษาการดําเนินงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในโรงเรียนกระแชงวิทยา 324

    อําเภอกันทรลักษ ์ สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 4

    สุภาพร งาสุ้ย

    การศึกษาปัญหาการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนโรงเรียนบ้านโพนค้อ 333

    อําเภอเมือง สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 1

    สุภาวด ี ธรรมธร

    การศึกษาความต้องการในการทําวิจัยในช้ันเรียนของครูผู้สอนโรงเรียนวัดมหาพุทธาราม 340

    อําเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

    สุรีรัตน์ ถึงไชย

    บัณฑิต

    วิทยา

    ลัย

    มหาว

    ิทยาล

    ัยราช

    ธานี

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    ซ เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนกันยายน 2554 R

    atch

    atha

    ni Un

    iversi

    ty |

    www.

    rtu.ac

    .th

    สารบัญ

    หน้า

    ศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาโรงเรียนบ้านโนนหมากเดือย 348

    อําเภอบุณฑริก สํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา อุบลราชธานี เขต 5

    อดิศักดิ์ เคหารมย์

    ศึกษาความความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อการใช้หลักสูตรการศกึษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 355

    ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตําบลภูฝ้าย อําเภอขุนหาญ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 4

    อภิชาต ิ สํานวน

    การพัฒนาบุคลากรด้านการเสริมสร้างวินัยนักเรียนเร่ืองการรักษา 366

    ความสะอาด โรงเรียนบ้านท่าสว่าง สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 4

    อภินันท์ ฝอยทอง

    การศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อการบริหารกลุ่มงานบริหารท่ัวไป โรงเรียนบ้านหนองบักโทน 376

    อําเภอเบญจลักษ ์สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 4

    อรอนงค์ ธรรมบุตร

    การพัฒนาการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระวิทยาศาสตร ์ เร่ืองไฟฟ้า ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 384

    โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้

    อรัณ ทิพมาตย์

    การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระคณิตศาสตร ์เร่ือง ทศนิยม 391

    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กลุ่มร่วมมือแบบ STAD

    อัญชล ี เกษมสุข

    การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย เร่ืองการอ่านจับใจความ 400

    นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะ

    อารีย์ สุดาชม

    บัณฑิต

    วิทยา

    ลัย

    มหาว

    ิทยาล

    ัยราช

    ธานี

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    1เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนกันยายน 2554 www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    ชื่อเรื่อง ศึกษาบทบาทของครูผู้สอนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ

    ตามความคิดเห็นของนักเรียนโรงเรียนสวายพิทยาคม อําเภอปรางค์กู่ สังกัดสํานักงานเขต

    พื้นที่การศึกษาศรีสะเกษเขต 3

    ผู้ศึกษาค้นคว้า นางสาวฐานุตรา กานุวงศ์

    ปริญญา ศษ.ม. สาขาวิชา การบริหารการศึกษา

    บทคัดย่อ

    การศึกษาค้นคว้าคร้ังนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทของครูผู้สอนเกี่ยวกับการจัดการ

    เรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ตามความคิดเห็นของนักเรียนโรงเรียนสวายพิทยาคม อําเภอปรางค์กู่ สังกัด

    สํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาศรีสะเกษเขต 3 จํานวน 140 คน ตามกรอบแนวคิด 4 ด้าน คือ ด้านความรู้ความสามารถ

    ในการปฏิบัติการสอน ด้านสนับสนุนการเรียนการสอนของนักเรียน ด้านการมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ

    ครู และด้านความมุ่งมั่นในการพัฒนาผู้เรียน เคร่ืองมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าคือ แบบสอบถามที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้าง

    ขึ้น เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอํานาจจําแนกรายข้อระหว่าง 0.33 ถึง 0.73 และค่าความเช่ือมั่นทั้ง

    ฉบับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Independent

    Sample)

    ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏผลดังนี้

    1. บทบาทของครูผู้สอนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนท่ีเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ตามความคิดเห็นของ

    นักเรียนโรงเรียนสวายพิทยาคม อําเภอปรางค์กู่ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศรีสะเกษ เขต 3 โดยรวมและราย

    ด้านอยู่ในระดับมาก เรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านสนับสนุนการเรียนการสอนของนักเรียน ด้านการ

    มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณครู ด้านความรู้ความสามารถในการปฏิบัติการสอน ด้านความมุ่งมั่นในการ

    พัฒนาผู้เรียน

    2. เปรียบเทียบบทบาทของครูผู้สอนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ตามความ

    คิดเห็นของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนสวายพิทยาคม อําเภอปรางค์กู่ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่

    การศึกษาศรีสะเกษเขต 3 โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

    บัณฑิต

    วิทยา

    ลัย

    มหาว

    ิทยาล

    ัยราช

    ธานี

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    2 เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนกันยายน 2554 R

    atch

    atha

    ni Un

    iversi

    ty |

    www.

    rtu.ac

    .th

    ภูมิหลัง

    การศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นกระบวนการเสริมสร้างคุณภาพการศึกษาของเด็กและเยาวชน การศึกษามีความมุ่ง

    หมายให้เยาวชนมีความเจริญเติบโต มีพัฒนาการที่สมบูรณ์รอบด้านตามวัย ท้ังในด้านร่างกาย สุขภาพอนามัย

    สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคม เป็นการศึกษาที่สร้างรากฐานที่สมดุลขององค์ความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเน่ือง

    ตลอดชีวิต มีความคิดสร้างสรรค์ พัฒนาตน พัฒนาสังคม พัฒนางานอาชีพ พึ่งตนเอง มีเหตุผล มีวิจารณญาณในการ

    รับข้อมูลข่าวสาร และการตัดสินใจที่ถูกต้อง เป็นการเสริมสร้างจิตใจ เจตคติ ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรมที่เหมาะสม

    (กระทรวงศึกษาธิการ. 2540 : 15)

    พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 หมวดที่ 4 มาตรา 22 และมาตรา 23 ได้กล่าวถึงแนว

    ทางการจัดการศึกษาว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และ

    ถือวา่ผู้เรียนมีความสําคัญที่สุด (สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 2542 : 8)

    กระทรวงศึกษาธิการได้กําหนดนโยบายในการปฏิรูปการศึกษาโดยการดําเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการ

    เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมตามแนวทางการดําเนินงานที่มีอยู่เดิม ด้วยความคาดว่าจะสามารถแก้ปัญหา

    และอุปสรรคที่มีอยูเ่ดิมให้เบาบางลงหรือหมดไป หรือสามารถพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้บรรลุจุดมุ่งหมายของความ

    เป็นทางวิชาการ โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อให้ประชาชนไทยมีศักยภาพในการพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพชีวิตที่ด ี

    สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข (กระทรวงศึกษาธิการ. 2539 : 2) โดยมีแนวทางในการดําเนินการปฏิรูป

    การศึกษา 4 ด้าน คือ ปฏิรูปสถานศึกษา ปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา จะพัฒนาครูและผู้บริหารให้เป็นมือ

    อาชีพ สอนเด็กโดยยึดเด็กเป็นสําคัญ เด็กเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ ครูเป็นผู้สนับสนุน ปฏิรูปหลักสูตร กระบวนการเรียน

    การสอน และปฏิรูประบบบริหารการศึกษา

    การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดประสบการณ์ให้เด็กที่จากเดิมครูเป็นศูนย์กลาง

    ครูเป็นผู้บอกความรู้ เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุข จากการวิเคราะห์วางแผนการเรียน

    และทํางานที่ตนเองต้องการด้วยตนเอง นําสิ่งที่คิดมาวางปฏิบัติเพื่อให้เกิดความรู้และมีความหมายชัดเจน แล้วจึงสรุป

    สิ่งที่ได้เรียนด้วยตนเอง กระบวนการเรียนรู้ในลักษณะต่างๆ ท้ังการเรียนรู้อย่างมีความสุข การเรียนรู้องค์รวม การ

    เรียนรู้จากการคิดการปฏิบัติจริง การเรียนรู้จากบุคคลอืน่ กระบวนการเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ยึดผู้เรียนเป็นสําคัญ

    ครูเป็นผู้ที่มีความสําคัญมากที่สุดในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยมีจุดประสงค์ท่ีจะพัฒนาคุณภาพ

    ผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มศักยภาพของผู้เรียนให้สูงขึ้น สามารถ

    ดํารงชีวิตอย่างมีความสุขบนพื้นฐานของความเป็นไทยและความเป็นสากล รวมทั้งมีความสามารถในการประกอบ

    อาชีพหรือศึกษาต่อตามความถนัดและความสามารถของแต่ละบุคคล (กรมวิชาการ. 2544 :17) ซึ่งเป็นผลจากการจัด

    กิจกรรมการเรียนการสอนที่ต้องอาศัยการทํางานที่มีประสิทธิภาพของครู การจัดกระบวนการเรียนรู้โดยการถ่ายทอด

    ความรู้ การฝึกปฏิบัติ การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การ

    สร้างองค์ความรู้อันเกิดจากสภาพแวดล้อม สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และจัดให้มีปัจจัยเกื้อหนุนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้

    อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เป็นสิ่งที่จําเป็นในการจัดการศึกษาให้กับผูเ้รียนในยุคปัจจุบัน ครูเป็นส่วนหนึ่งของสถานศึกษา

    และสถานศึกษาเป็นหน่วยงานแรกที่ต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อผลที่เกิดกับนักเรียนที่จบการศึกษาออกไปในด้านความรู้

    ความสามารถที่จําเป็นต้องมีติดตัว นําไปใช้ในอนาคตภายภาคหน้า สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เป็น

    หน่วยงานที่สามารถส่งเสริม กํากับ ติดตาม ดูแลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน พฤติกรรมการเรียนการสอน

    บทบาทหน้าที่ของครูได้มากที่สุดเพื่อให้ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน

    โรงเรียนสวายพิทยาคม ได้ดําเนินการปฏิรูปการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิรูปครูและบุคลากรทางการ

    ศึกษา และการปฏิรูปการเรียนการสอนมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2542 โดยเฉพาะภารกิจด้านการปฏิรูปครู ได้ดําเนินการ

    บัณฑิต

    วิทยา

    ลัย

    มหาว

    ิทยาล

    ัยราช

    ธานี

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    3เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนกันยายน 2554 www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    จัดอบรมพัฒนาครูให้สามารถจัดเตรียมการสอน รู้การเตรียมตัวเอง เตรียมแหล่งความรู้ และการจัดทําแผนการเรียนรู้

    เพื่อให้สามารถดําเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ เรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ และ

    นําความรู้ไปประยุกต์ใช้ สามารถประเมินผู้เรียนจากพัฒนาการและพฤติกรรมตามสภาพจริง ด้วยวิธีการและเคร่ืองมือ

    อย่างหลากหลาย

    ผู้ศึกษาค้นคว้า ในฐานะครูผู้ปฏิบัติการสอน โรงเรียนสวายพิทยาคม อําเภอปรางค์กู่ สังกัดสํานักงานเขต

    พื้นที่การศึกษาศรีสะเกษเขต 3 จึงสนใจมุ่งศึกษาบทบาทของครูผู้สอนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน

    เป็นสําคัญ ตามความคิดเห็นของนักเรียนโรงเรียนสวายพิทยาคม อําเภอปรางค์กู่ สังกัดสํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษา

    ศรีสะเกษเขต 3 เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญให้มี

    ประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป

    กรอบแนวคิดของการศึกษาค้นคว้า

    ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเร่ืองบทบาทของครูผู้สอนเกี่ยวกับการจัดการเรียน

    การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ และผู้ศึกษาค้นคว้าได้ประยุกต์เป็นกรอบแนวคิด 4 ด้าน ดังนี้

    1. ด้านความรู้ความสามารถในการปฏิบัติการสอน

    2. ด้านสนับสนุนการเรียนการสอนของนักเรียน

    3. ด้านการมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณครู

    4. ด้านความมุ่งมั่นในการพัฒนาผู้เรียน

    ความมุ่งหมายของการศึกษา

    1. เพื่อศึกษาบทบาทของครูผู้สอนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ตามความคิดเห็น

    ของนักเรียนโรงเรียนสวายพิทยาคม อําเภอปรางค์กู ่สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษเขต 3

    2. เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของครูผู้สอนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ตามความ

    คิดเห็นของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนสวายพิทยาคม อําเภอปรางค์กู่ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่

    การศึกษาศรีสะเกษเขต 3

    ความสําคัญของการศึกษาค้นคว้า

    เพื่อศึกษาบทบาทของครูผู้สอนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนท่ีเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ตามความคิดเห็น

    ของนักเรียนโรงเรียนสวายพิทยาคม อําเภอปรางค์กู่ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศรีสะเกษ เขต 3 โดยนําความ

    คิดเห็นที่ได้มาเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญให้มีประสิทธิภาพ

    ยิ่งขึ้นต่อไป

    ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

    1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

    1.1 ประชากร ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนสวายพิทยาคม อําเภอปรางค์กู่ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา

    ศรีสะเกษเขต 3 จํานวน 220 คน บัณ

    ฑิตวิท

    ยาลัย

    มหาว

    ิทยาล

    ัยราช

    ธานี

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    4 เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนกันยายน 2554 R

    atch

    atha

    ni Un

    iversi

    ty |

    www.

    rtu.ac

    .th

    1.2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนสวายพิทยาคม อําเภอปรางค์กู่ สังกัดสํานักงานเขตพื้นท่ี

    การศึกษาศรีสะเกษเขต 3 จํานวน 140 คน โดยใช้ตารางของ Krejcie and Morgan

    2. ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า

    2.1 ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ระดับชัน้ แบ่งเป็น

    2.1.1 ช่วงชั้นที่ 3

    2.1.2 ช่วงชั้นที่ 4

    2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับบทบาทของครูผู้สอนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการ

    สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ตามกรอบแนวคิด 4 ด้าน ได้แก่

    2.2.1 ด้านความรู้ความสามารถในการปฏิบัติการสอน

    2.2.2 ด้านสนับสนุนการเรียนการสอนของนักเรียน

    2.2.3 ด้านการมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณครู

    2.2.4 ด้านความมุ่งมั่นในการพัฒนาผู้เรียน

    สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า

    นักเรียนช่วงช้ันเรียนต่างกันมีความเห็นเกี่ยวกับบทบาทของครูผู้สอนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนท่ีเน้น

    ผู้เรียนเป็นสําคัญแตกต่างกัน

    เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

    เคร่ืองมือท่ีใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลสําหรับการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามท่ีผู้ศึกษาค้นคว้า

    สร้างขึ้น มี 2 ตอน คือ

    ตอนท่ี 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ช่วงชั้นท่ีเรียน ลักษณะการ

    ตอบเป็นแบบเลือกตอบ

    ตอนท่ี 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับบทบาทของครูตามความคิดเห็นของนักเรียนโรงเรียนสวายพิทยาคม

    อําเภอปรางค์กู่ สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาศรีสะเกษเขต 3 แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้

    1. ด้านความรู้ความสามารถในการปฏิบัติการสอน จํานวน 10 ข้อ

    2. ด้านสนับสนุนการเรียนการสอนของนักเรียน จํานวน 10 ข้อ

    3. ด้านการมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณครู จํานวน 10 ข้อ

    4. ด้านความมุ่งมั่นในการพัฒนาผู้เรียน จํานวน 10 ข้อ

    แบบสอบถามดังกล่าว เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปาน

    กลาง น้อย และน้อยที่สุด

    สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

    1. สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพของเครื่องมือ

    1.1 หาค่าอํานาจจําแนกรายข้อของแบบสอบถาม

    1.2 หาค่าความเช่ือมั่นของแบบสอบถามโดยใช้วิธีหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของ

    ครอนบาค (α - Cronbach) 2. สถิติพื้นฐาน

    บัณฑิต

    วิทยา

    ลัย

    มหาว

    ิทยาล

    ัยราช

    ธานี

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    5เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนกันยายน 2554 www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    2.1 ร้อยละ (Percentage)

    2.2 ค่าเฉลี่ย (Mean)

    2.3 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

    3. สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน t-test (Independent Sample)

    นิยามศัพท์

    1. ความคิดเห็น หมายถึง ความคิดเห็นของนักเรียนโรงเรียนสวายพิทยาคมเกี่ยวกับบทบาทของครูผู้สอน

    เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญในการจัดการเรียนการสอน แบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ มาก

    ที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด

    2. บทบาท หมายถึง การทําตามหน้าท่ีที่กําหนด ในท่ีนี้หมายถึง บทบาทหน้าที่ของครูตามความคิดเห็นของ

    นักเรียนโรงเรียนสวายพิทยาคม ตําบลสวาย อําเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ

    เขต 3 ในด้านความรู้ความสามารถในการปฏิบัติการสอน ด้านสนับสนุนการเรียนการสอนของนักเรียน ด้านการมี

    คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณครู ด้านความมุ่งมั่นในการพัฒนาผู้เรียน

    3. การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ หมายถึง การสอนที่มุ่งจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับการ

    ดํารงชีวิต เหมาะสมกับความสามารถและความสนใจของผู้เรียน โดยผู้เรียนมีส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติจริงทุกขั้นตอน

    จนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง แบ่งเป็น 4 ด้าน คือ

    3.1 ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติการสอน หมายถึง ความแม่นยําและละเอียดลึกซึ้งในเนื้อหา

    ปรับปรุงวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่เสมอ

    3.2 สนับสนุนการเรียนการสอนของนักเรียน หมายถึง ส่งเสริมให้นักเรียนได้รับการพัฒนาให้มีความรู้

    ความเข้าใจ ความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนตลอดเวลา

    3.3 มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณครู หมายถึง มีความรัก เมตตา และกรุณาต่อศิษย์ มีความ

    รับผิดชอบต่อหน้าท่ี มีความวิริยะ อุตสาหะ และความอดทน มีความซ่ือสัตย์สุจริตในการปฏิบัติงาน มีความสามัคค ี

    ช่วยเหลือเกื้อกูลหมู่คณะ การพัฒนาบุคลิกภาพ วิสัยทัศน์ วิชาชีพ ไม่ทําตนเป็นปฏิปักษ์ต่อการพัฒนาด้านสติปัญญา

    อารมณ์ สังคมของศิษย ์เป็นผูน้ําในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย

    3.4 ความมุ่งมั่นในการพัฒนาผู้เรียน หมายถึง ความตั้งใจในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเอาใจใส่ จัดเนื้อหา

    สาระกิจกรรมตามความสนใจและความถนัด โดยคํานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล

    4. ช่วงชั้นท่ีเรียน หมายถึง ช่วงชั้นท่ีนักเรียนกําลังเรียนอยู่ แบ่งเป็น 2 ช่วงชั้น คือ ช่วงชั้นท่ี 3 คือนักเรียนที่

    ศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 และช่วงช้ันที่ 4 คือ นักเรียนที่ศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6

    5. ครูผู้สอน หมายถึง บุคลากรที่ปฏิบัติการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนสวายพิทยาคม

    อําเภอปรางค์กู่ สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาศรีสะเกษเขต 3

    สรุปผลการศึกษาค้นคว้า

    จากการศึกษาค้นคว้าเร่ืองบทบาทของครูผู้สอนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ

    ตามความคิดเห็นของนักเรียนโรงเรียนสวายพิทยาคม อําเภอปรางค์กู่ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษเขต

    3 สรุปผลได้ดังนี้

    1. บทบาทของครูผู้สอนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนท่ีเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ตามความคิดเห็นของ

    นักเรียนโรงเรียนสวายพิทยาคม อําเภอปรางค์กู ่สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา

    บัณฑิต

    วิทยา

    ลัย

    มหาว

    ิทยาล

    ัยราช

    ธานี

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    6 เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนกันยายน 2554 R

    atch

    atha

    ni Un

    iversi

    ty |

    www.

    rtu.ac

    .th

    ศรีสะเกษเขต 3 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านสนับสนุนการ

    เรียนการสอนของนักเรียน ด้านการมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณครู ด้านความรู้ความสามารถในการ

    ปฏิบัติการสอน ด้านความมุ่งมั่นในการพัฒนาผู้เรียน

    1.1 ด้านความรู้ความสามารถในการปฏิบัติการสอน ระดับความคิดเห็นของนักเรียนอยู่ในระดับมาก ข้อที่มี

    ค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก คือ ครูมีความรู้ความเข้าใจ รู้เป้าหมายของการจัดการศึกษาและหลักสูตรการศึกษาขั้น

    พื้นฐาน ครูมีความสามารถในการจัดประสบการณ์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ และครูมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

    ในการพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองและผู้เรียน

    1.2 ด้านสนับสนุนการเรียนการสอนของนักเรียน ระดับความคิดเห็นของนักเรียนอยู่ในระดับมาก ข้อที่มี

    ค่าเฉลี่ยสูง 3 อันดับแรก คือ ครูมีการวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อและการเรียนรู้ของผู้เรียนและนําผลไปใช้พัฒนาผู้เรียน ครูมี

    การนําผลการประเมินมาปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ ครูใช้สื่อการสอนเพ่ือ

    การคิด การแก้ปัญหา และการค้นพบความรู้ และครูส่งเสริมให้ผู้เรียนฝึกคิด ทํา และฝึกปรับปรุงตนเอง

    1.3 ด้านการมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณครู ระดับความคิดเห็นของนักเรียนอยู่ในระดับมาก

    ข้อท่ีมีค่าเฉลี่ยสูง 3 อันดับแรก คือ ครูไม่กระทําตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญของผู้เรียน ครูช่วยเหลือเกื้อกูลผู้เรียน

    อย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ และครูควบคุมอารมณ์ความรู้สึกของตนเองได้

    อย่างเหมาะสม

    1.4 ด้านความมุ่งมั่นในการพฒันาผู้เรียน ระดับความคิดเห็นของนักเรียนอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูง

    3 อันดับแรก คือ ครูส่งเสริมให้ผู้เรียนเลือกทํากิจกรรมตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจของตนเองอย่าง

    มีความสุข ครูจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน และครูมีการแสวงหาความรู้และเทคนิค

    วิธีการใหม่ๆ รับฟังความคิดเห็น ใจกว้าง และยอมรับการเปลี่ยนแปลง

    2. วิเคราะห์เปรียบเทียบบทบาทของครูผู้สอนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ตาม

    ความคิดเห็นของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนสวายพิทยาคม อําเภอปรางค์กู่ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่

    การศึกษาศรีสะเกษเขต 3 โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

    อภิปรายผล

    จากการศึกษาค้นคว้าเร่ืองบทบาทของครูผู้สอนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ

    ตามความคิดเห็นของนักเรียนโรงเรียนสวายพิทยาคม อําเภอปรางค์กู่ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษเขต

    3 มีประเด็นสําคัญที่ควรนํามาอภิปรายดังนี้

    1. บทบาทของครูผู้สอนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนท่ีเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ตามความคิดเห็นของนักเรียนโรงเรียนสวายพิทยาคม อําเภอปรางค์กู่ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษเขต 3 โดยรวมอยู่ใน

    ระดับมากทุกด้าน ที่เป็นเช่นนี้อาจเนื่องมาจาก นักเรียนในระดับช่วงช้ันท่ี 3 และช่วงช้ันท่ี 4 ต่างก็มีความคิดเห็น

    เช่นเดียวกันว่า การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ เป็นการสอนที่มุ่งจัดกิจกรรมท่ีสอดคล้องกับการ

    ดํารงชีวิต เหมาะสมกับความสามารถ และความสนใจของผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติจริงทุก

    ขั้นตอน จนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของนายเจริญ เต็มราม เร่ือง การศึกษาบทบาทของครู

    ตามความต้องการของนักเรียนโรงเรียนควนขนุน อําเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง พบว่า นักเรียนมีความต้องการให้ครูมี

    บทบาทดังนี้ ด้านความรู้ความสามารถของครู ด้านสนับสนุนการเรียนการสอน ด้านการมีคุณธรรม จริยธรรม และ

    จรรยาบรรณครู และด้านความมุ่งมั่นในการพัฒนา

    บัณฑิต

    วิทยา

    ลัย

    มหาว

    ิทยาล

    ัยราช

    ธานี

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    7เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนกันยายน 2554 www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    2. บทบาทของครูผู้สอนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ด้านความรู้ความสามารถ

    ในการปฏิบัติการสอน มีระดับปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ครูมีความรู้ความเข้าใจ รู้เป้าหมายของ

    การจัดการศึกษา และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่เป็นเช่นนี้อาจเนื่องมาจาก ครูมีความเข้าใจในพระราชบัญญัติ

    การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 22 และมาตรา 23 ที่ได้กล่าวไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุก

    คนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสําคัญที่สุด (สํานักงานเลขาธิการสภา

    ผู้แทนราษฎร. 2542 : 8) และสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ว่า การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็น

    กระบวนการเสริมสร้างคุณภาพการศึกษาของเด็กและเยาวชน การศึกษามีความมุ่งหมายให้เยาวชนมีความ

    เจริญเติบโต มีพัฒนาการที่สมบูรณ์รอบด้านตามวัย ท้ังในด้านร่างกาย สุขภาพอนามัย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และ

    สังคม เป็นการศึกษาที่สร้างรากฐานที่สมดุลขององค์ความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเน่ืองตลอดชีวิต มีความคิดสร้างสรรค ์

    พัฒนาตน พัฒนาสังคม พัฒนางานอาชีพ พึ่งตนเอง มีเหตุผล มีวิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสาร และการ

    ตัดสินใจที่ถูกต้อง เป็นการเสริมสร้างจิตใจ เจตคติ ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรมท่ีเหมาะสม (กระทรวงศึกษาธิการ.

    2540 : 15)

    3. บทบาทของครูผู้สอนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ด้านสนับสนุนการเรียนการ

    สอนของนักเรียน มีระดับปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ครูมีการวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อและการเรียนรู้

    ของผู้เรียนและนําผลไปใช้พัฒนาผู้เรียน ที่เป็นเช่นนี้อาจเนื่องมาจาก กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียน

    สามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ การทําวิจัยในชั้นเรียนถือได้ว่าเป็นกระบวนการจัดการศึกษาที่

    ครูผู้สอนควรทําควบคู่ไปกับการสอน เพื่อให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนและจัด

    ประสบการณ์ให้กับผู้เรียน

    4. บทบาทของครูผู้สอนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ด้านการมีคุณธรรม

    จริยธรรม และจรรยาบรรณครู มีระดับปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ครูไม่กระทําตนเป็นปฏิปักษ์ต่อ

    ความเจริญของผู้เรียน สอดคล้องกับอรอนงค์ สุทธิพัฒนสมบุญ (2541: บทคัดย่อ) ได้ทําการวิจัยเร่ือง เจตคติของ

    ผู้ปกครองต่อคณะครูอนุบาลโรงเรียนอนุบาลพิปูนวิทยา พบว่า ด้านบุคลิกภาพ ต้องเป็นผู้มีอารมณ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส

    เป็นผู้ท่ีรักและเมตตาต่อเด็ก มีความกระตือรือร้นในการทํางาน แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสมกับกาลเทศะ อดทน อด

    กลัน้ และใจเย็น ด้านมนุษยสัมพันธ ์ต้องเป็นผู้ให้ความสนิทสนมและเป็นกันเองกับเด็ก ให้ความรัก เมตตา เท่าเทียมกัน

    ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สนใจปัญหาของเด็ก และหาวิธีการช่วยเหลือ รู้จักการให้อภัย สามารถควบคุม

    อารมณ์และความรู้สึกได ้ด้านความรับผิดชอบ เป็นผูน้ําในการส่งเสริมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ปฏิบัติตามระเบียบวินัย

    และจรรยาบรรณครู ด้านการดูแลเอาใจใส่เด็ก เป็นผู้คอยระวังความปลอดภัย และดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด ให้

    คําแนะนําผู้ปกครองเมื่อเด็กมีปัญหา มีความรักและเอาใจใส่เด็ก

    5. บทบาทของครูผู้สอนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนท่ีเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ด้านความมุ่งมั่นในการ

    พัฒนาผู้เรียน ระดับปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ครูส่งเสริมให้ผู้เรียนเลือกทํากิจกรรมตาม

    ความสามารถ ความถนัด และความสนใจของตนเองอย่างมีความสุข สอดคล้องกับ สมาน เศรษฐดาวิทย์ (2542 : 41)

    ได้กล่าวถึง การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางว่า เป็นการสอนที่มุ่งจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับการ

    ดํารงชีวิต เหมาะสมกับความสามารถและความสนใ�