แบบฟอร์มรายงานBusiness Creation and Networking1" " รายงาน...

5
1 รายงาน Business Creation and Networking สคต. กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี วันที4 เดือนธันวาคม .. 2560 1. ข้อมูลบุคคล/องค์กรที่เข้าพบ ชื่อ.................Mr. Bernd .........................นามสกุล...............Meyer……………........ตำแหน่ง..... Owner & CEO....................................... ชื่อ.................Miss Sasipin .....................นามสกุล.............N. Meyer.................ตำแหน่ง……...Owner.................................................... บริษัท/องค์กร...................Decoroso GmbH…………….ที่อยู...............Heidlohstraße 5…............เมือง................Hamburg..................... ประเทศ.........เยอรมนี......รหัสไปรษณีย์ .....22459.....โทรศัพท์......49 (0)40 69 60 9400......โทรสาร........ 40 (0)40 69 60 8973........... [email protected]/[email protected]….Website....www.decorosocoffee.com… 2. รายละเอียดองค์กรบริหารจัดการ Decoroso GmbH 2.1) ก่อตั้งเมื่อ: .. 2560 2.2) ประวัติความเป็นมา : บริษัท Decoroso GmbH ก่อตั้งและจดทะเบียนเมื่อวันที1 มีนาคม . . 2560 ที่เมืองฮัมบูร์กประเทศ เยอรมนี เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจและผลิตสินค้าจากเมล็ดกาแฟ โดยบริษัท Decoroso จะทำการคั่ว คั่วบด และบรรจุสินค้า โดยเมล็ดกาแฟ สด Decoroso ได้นำเข้าเมล็ดกาแฟสดจากประเทศไทย ผ่านตัวแทนบริษัท อันฟัง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในการดูแลของผู้ประกอบการ เช่นเดียวกัน บริษัท อันฟัง จำกัด ก่อตั้งเมื่อวันที17 ตุลาคม 2557 ขณะนีผู้ประกอบการกำลังดำเนินการขอเปลี่ยนชื่อบริษัทดังกล่าวเป็น ชื่อ บริษัท เดโคโรโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด และคาดว่าจะเสร็จสิ้นในช่วงเดือนมกราคม 2561 ทางบริษัทมีเป้าหมายที่จะพัฒนาและสร้างชื่อเสียงของกาแฟในระดับนานาชาติ และไม่ใช่เพียงกาแฟเท่านั้นที่บริษัททำการผลิตและ ส่งออก บริษัทยังได้ส่งเสริมสินค้าทางการเกษตรไทยที่มีคุณภาพสูง หรือในระดับพรีเมี่ยม ที่มีรูปแบบการปลูกและผลิตแบบ Organics โดยสินค้าที่บริษัทกำลังดำเนินการและคาดว่าจะสามารถวางขายได้ในอีกไม่นานคือโกโก้ ชา และข้าว 2.3) รูปแบบของการดำเนินธุรกิจ โรงงานผู้ผลิต ผู้ส่งออก ผู้นำเข้า ผู้ขายส่ง ผู้ขายปลีก (สาขา) บริษัทตัวแทน ห้างสรรพสินค้า ห้างสรรพสินค้าเฉพาะ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร องค์กรระหว่างประเทศ องค์กรทางการค้า อื่นๆ (โปรดระบุ) ..................................................................... 2.4) สินค้าและบริการของบริษัท/องค์กร: เมล็ดกาแฟคั่วและกาแฟคั่วบดบรรจุห่อ แบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่ 1. Maximus (แม็กซิมุส) เป็นกาแฟอราบิกาไทย 100% เกรดพรีเมี่ยมจากดอยช้าง .เชียงราย คั่วแบบเข้ม แบบฟอร์มรายงาน Business Creation and Networking

Transcript of แบบฟอร์มรายงานBusiness Creation and Networking1" " รายงาน...

Page 1: แบบฟอร์มรายงานBusiness Creation and Networking1" " รายงาน Business Creation and Networking สคต. ณ กร งเบอร ล น ประเทศเยอรมน

1    

รายงาน Business Creation and Networking

สคต. ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมน ี

วันที่ 4 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2560

1.   ข้อมูลบุคคล/องค์กรที่เข้าพบ

ชื่อ.................Mr. Bernd .........................นามสกุล...............Meyer……………........ตำแหน่ง….....  Owner & CEO.......................................

ชื่อ.................Miss Sasipin .....................นามสกุล….............N. Meyer.................ตำแหน่ง……...Owner....................................................

บริษัท/องค์กร...................Decoroso GmbH…………….ที่อยู่...............Heidlohstraße 5…............เมือง................Hamburg.....................

ประเทศ.........เยอรมนี......รหัสไปรษณีย์.....22459.....โทรศัพท์......49 (0)40 69 60 9400......โทรสาร........ 40 (0)40 69 60 8973...........

[email protected]/[email protected]….Website....www.decorosocoffee.com…

2.   รายละเอียดองค์กรบริหารจัดการ Decoroso GmbH

2.1) ก่อตั้งเมื่อ: พ.ศ. 2560

2.2) ประวัติความเป็นมา: บริษัท Decoroso GmbH ก่อตั้งและจดทะเบียนเมื่อวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 2560 ทีเ่มืองฮัมบูรก์ประเทศ

เยอรมน ีเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจและผลิตสินค้าจากเมล็ดกาแฟ โดยบริษัท Decoroso จะทำการคั่ว คั่วบด และบรรจุสินค้า โดยเมล็ดกาแฟ

สด Decoroso ได้นำเข้าเมล็ดกาแฟสดจากประเทศไทย ผ่านตัวแทนบริษัท อันฟัง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในการดูแลของผู้ประกอบการ

เช่นเดียวกัน บริษัท อันฟัง จำกัด ก่อตัง้เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2557 ขณะนี้ ผู้ประกอบการกำลังดำเนินการขอเปลี่ยนชื่อบริษัทดังกล่าวเป็น

ชือ่ บริษทั เดโคโรโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด และคาดว่าจะเสร็จสิ้นในช่วงเดือนมกราคม 2561

ทางบริษัทมีเป้าหมายที่จะพัฒนาและสร้างชื่อเสียงของกาแฟในระดับนานาชาติ และไม่ใช่เพียงกาแฟเท่านั้นที่บริษัททำการผลิตและ

ส่งออก บริษัทยังไดส้่งเสริมสินค้าทางการเกษตรไทยที่มีคุณภาพสงู หรือในระดับพรีเมี่ยม ที่มีรูปแบบการปลูกและผลิตแบบ Organics

โดยสินค้าที่บริษัทกำลังดำเนินการและคาดว่าจะสามารถวางขายได้ในอีกไม่นานคือโกโก้ ชา และข้าว

2.3) รูปแบบของการดำเนินธุรกิจ

þ โรงงานผู้ผลิต þ ผู้ส่งออก þ ผู้นำเข้า

þ ผู้ขายส่ง þ ผู้ขายปลีก (สาขา) บริษัทตัวแทน

ห้างสรรพสินค้า ห้างสรรพสินค้าเฉพาะ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร

องค์กรระหว่างประเทศ องค์กรทางการค้า

อื่นๆ (โปรดระบุ) .....................................................................

2.4) สนิค้าและบริการของบริษัท/องค์กร: เมล็ดกาแฟคั่วและกาแฟคั่วบดบรรจุห่อ แบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก ่

1. Maximus (แม็กซิมุส) เป็นกาแฟอราบิกาไทย 100% เกรดพรีเมี่ยมจากดอยช้าง จ.เชียงราย คั่วแบบเข้ม

แบบฟอร์มรายงาน Business Creation and Networking  

       

s

 

 

Page 2: แบบฟอร์มรายงานBusiness Creation and Networking1" " รายงาน Business Creation and Networking สคต. ณ กร งเบอร ล น ประเทศเยอรมน

2     2. Kiri (คีรี) เป็นกาแฟอราบิกาไทย 100% เกรดพรีเมี่ยมจากดอยช้าง จ.เชียงราย คั่วแบบปานกลาง (medium light)

3. Tecoma (เทโคม่า) เป็นกาแฟอราบิกาไทยเกรดพรีเมี่ยม ผสมกับกาแฟจากประเทศแถบลาตินอเมริกา คั่วแบบเข้มมาก

(Espresso Roast)

4. Latina Cassia (ลาติน่า คาซเซีย) เป็นกาแฟอราบิกาไทยเกรดพรีเมี่ยม ผสมกับกาแฟจากประเทศแถบลาตินอเมริกา คั่วแบบ

ปานกลาง (medium light)

อีกทั้งบริษัทยังมีบริการวางแผนการท่องเที่ยวสำหรับชาวต่างชาติเพื่อไปเยี่ยมชมไร่กาแฟ Organics ที่จังหวัดเชียงรายด้วยเช่นกัน

2.5) สินค้า/บริการที่สนใจจะส่งออกจากไทย: กาแฟของ Decoroso เป็นเมล็ดกาแฟสดที่นำเข้าจากไทย และนำมาคั่ว/คั่วบดในเยอรมนี

โดยมีที่มีฐานการผลิตอยู่ที่ Hamburg ซึ่งการส่งออกนั้นได้ทำผ่านทางบริษัทย่อย โดยมีฐานที่ตั้งอยู่ทีป่ระเทศไทยในชื่อ บริษัท อันฟัง

จำกัด โดยแบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 ชนิด Maximus, Kiri, Tecoma, และ Latina Cassia

3.   สรุปผลของการหารือ/เข้าพบ 3.1) บริษัท Decoroso เป็นบริษัทที่นำเข้าผลิตผลเมล็ดกาแฟสดจากประเทศไทย และนำเข้าเพื่อทำการคั่ว คั่วบดและบรรจุห่อที่ประเทศ

เยอรมนี โดยมีฐานบริษัทในเยอรมนีที่ Hamburg โดยเมล็ดกาแฟได้มาจากไร่กาแฟที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งปัจจุบันเป็นกิจการของครอบครัว

ผู้ประกอบการด้วยเช่นกัน ทำให้ผู้ประกอบการสามารถคัดเลือกคุณภาพของสินค้าได้ทุกขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกไปจนถึงขั้นตอน

การบรรจุลงห่อ และเนื่องจากผู้ประกอบการต้องการเน้นสินค้าที่มีคุณภาพดีเท่านั้น ทำให้ราคาสินค้าอยู่ในเกณฑ์สูงตามไปด้วย ดังนั้น

กลุ่มเป้าจึงจะเน้นไปที่ชาวต่างชาติที่มีกำลังบริโภคสูงมากกว่ากลุ่มชาวไทย

3.2) ผลิตภัณฑ์ที่มีวางอยู่ในขณะนี้มีทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก่ Maximus, Kiri, Tecoma, และ Latina Cassia แต่ไม่ได้จับกลุ่มเฉพาะคอ

กาแฟเท่านั้น โดยบริษัทยังได้วางแผนที่จะนำเข้าสินคา้ Organics ชนิดอื่นๆเพิ่มเติม ซึ่งสินค้าที่อยู่กระบวนการศึกษาและทดลอง ได้แก่

โกโก้ ชา และข้าว เป็นต้น นอกเหนือจากสินค้าแล้ว บริษัทยังมีการบริการวางแผนการท่องเที่ยวสำหรับชาวต่างชาติ โดยเฉพาะ

ผู้ประกอบการที่ทำเกี่ยวกับกาแฟ เข้าไปเยี่ยมชมไร่กาแฟที่เชียงราย โดยไร่ดังกล่าวมีการดำเนินงานโดยเน้นวิธีทางธรรมชาติ หรือ รูปแบบ

Organics เป็นหลัก เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูล รวมทั้งยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ประกอบการในธุรกิจประเภท

เดียวกันอีกด้วย

3.3) ทางบริษัท ยังไม่มีการทำการผลิตตามความต้องการของลูกค้า (OEM) เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานของสินค้าให้ได้มากที่สุด

3.4) อย่างไรก็ตาม แม้ทางบริษัทจะทำการค้าเพื่อผลทางธุรกิจ แต่ทางบริษัทยังให้ความสำคัญกับภาคส่วนอื่นๆในสังคมด้วยเช่นกัน โดย

บริษัทได้มีการดำเนินโครงการต่างๆ และร่วมมือกันหน่วยงานและบริษัทเพื่อสนับสนุนภาคสังคมและสิ่งแวดล้อมในทุกขั้นตอนการผลิต

ตั้งแต่การปลูกผลิตผล ไปจนถึงการเก็บรักษาและกระจายสินค้า ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี ้

3.4.1) สำหรับประเทศไทย บริษัทได้ร่วมมือกับโรงเรียนชีวิตในจังหวัดเชียงใหม่ในการจัดตั้งโครงการ coffee for life ซึ่งเป็น

โครงการที่ให้ความรู้และสอนทักษะต่างๆที่เกี่ยวกับกาแฟอย่างครบวงจร เพื่อให้เด็กสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพ

หรือทำธุรกิจในอนาคต

3.4.2) สำหรับการบรรจุภัณฑ์ ทางบริษัทได้เลือกใช้ห่อบรรจุเมล็ดกาแฟที่ไม่ผสมสารอลูมิเนียม ซึ่งเป็นตัวการที่ส่งผลเสียทัง้ต่อ

สุขภาพผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ซึ่งแม้ในปัจจุบันบรรจุภัณฑ์ที่ทางบริษัทใช้จะมีเพียงรูปแบบเดียว แต่ทางบริษัทกำลังค้นคว้าหา

รูปแบบอื่นๆโดยที่ยังคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ ในการหารือครั้งนี้ ผู้ประกอบการจึงได้สอบถาม

ข้อมูลกับทาง สคต. เกี่ยวกับบริษัทที่มีการผลิตบรรจุภัณฑ์ตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการในข้างต้น

Page 3: แบบฟอร์มรายงานBusiness Creation and Networking1" " รายงาน Business Creation and Networking สคต. ณ กร งเบอร ล น ประเทศเยอรมน

3    

3.4.3) ในส่วนของการเก็บและกระจายสินค้า บริษัท Decoroso ได้ร่วมมือและดำเนินธุรกิจกับ บริษัท Elbe-Werkstaetten

GmbH ซึ่งเป็นบริษัทที่เปิดโอกาสให้ผู้พิการสามารถเข้ามาทำงานได้ จึงถือเป็นการส่งเสริมการสร้างรายได้แก่ผู้พิการอีกรูปแบบ

หนึ่ง

3.4.4) นอกจากนี้ ในส่วนของประเทศเยอรมนเีอง บริษัทกำลังทำการจัดตั้ง Decoroso Foundation ซึ่งองค์กรดังกล่าวจะนำ

รายได้ส่วนหนึ่งจากการค้าขายสินค้าของบริษัทมอบให้กับหน่วยงาน และองค์กรทางสังคมในเยอรมนีต่อไป

3.5) นอกเหนือจากแผนการดำเนินงานที่ทางบริษัทต้องการให้ความสังคมและสิ่งแวดล้อมในส่วนหนึ่งแล้วนั้น ในอนาคตอันใกล้นี ้ทาง

บริษัทยังมีแผนที่จะพัฒนาธุรกิจให้สอดคล้องกันการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยเช่นกัน ซึ่งไม่ว่าจะนโยบายที่มีการดำเนินการอยู่แล้ว หรือที่จะ

มีการพัฒนาต่อไปในอนาคต นอกจะสามารถนับเป็นการกุศล และสะท้อนความใส่ใจในสิ่งแวดล้อมของทางบริษัทอย่างหนึ่งแล้ว ทาง

บริษัทยังมองว่าสามารถดึงเรื่องราวเหล่านี้ในการโฆษณาและเป็นจุดขายอีกหนึ่งจุดของสินค้าและบริษัทด้วยเช่นกัน

3.6) ส่วนเรื่องการทำการตลาดนั้น ณ ปัจจุบัน ทางบริษัทจะเน้นการค้าขายทางออนไลน์เป็นหลัก เนื่องจากยังต้องการดูผลตอบรับจาก

ผู้บริโภคในช่วงหนึ่งก่อน ถึงอย่างไร บริษัทก็ยังมีแผนที่จะสร้างร้านค้าใหญ่ในเมืองใหญ่ เพื่อทำการโฆษณาสินค้าให้มากขึ้น ซึ่ง

ผู้ประกอบการอยู่ในระหว่างการตัดสินใจระหว่างเมืองฮัมบวร์ก และเบอร์ลิน โดยในการหารือนี้ ผู้ประกอบการได้ขอความคิดเห็น และ

คำแนะนำจากทาง สคต. ด้วยเช่นกัน

3.7) ในเรื่องของเครื่องหมายรับรองนั้น ปัจจุบันตัวสินค้ายังไม่มีเครื่องหมายรับรองใดๆ แต่มีแผนที่จะทำเนินการขอต่อไป อย่างไรก็ตาม

แม้สินค้าจะไม่มีเครือ่งหมายรับรอง แต่ก็ได้รับการสนันสนุนจากหลายๆหน่วยงาน 1 ในนั้นคือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ที่มี

การเผยแผ่บทความเกี่ยวกับสินค้าและบริษัทลงบนหน้าเว็บไซต์ขององค์กร ซึ่งทำให้สินค้าเป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับมากยิ่งขึ้น

3.8) ผู้ประกอบการได้นำสินค้าไปออกงานแสดงสินค้าเพื่อดูกระแสตอบรับที่ไดท้ั้งในเยอรมนีเอง และประเทศอื่นๆ เช่น สวิตเซอร์แลนด์

การออกงานแสดงสินค้าในเยอรมนีนั้น ผู้ประกอบการได้ร่วมงาน Berlin food week ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-21 ตุลาคม ซึ่งนับว่าได้รับ

กระแสตอบรับที่ดี โดยมีลูกค้าหลายรายสอบถามและเรียกร้องให้เปิดร้านกาแฟในเบอร์ลิน นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังมีแผนที่จะร่วมงาน

แสดงสินค้าอีก 3 เมืองด้วยกันในเยอรมนี 1 ในนั้นคือมิวนิคที่ถือเป็นตลาดสำคัญอีกแห่งของเยอรมนี

3.9) ในขณะที่สวิตเซอร์แลนด์ แม้ผู้บริโภคจะชื่นชอบในรสชาติกาแฟ แต่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังนิยมกาแฟที่มาในบรรจุภัณฑ์แคปซูล

มากกวา่เมล็ดกาแฟคั่วและคั่วบดในห่อบรรจุทั่วไป ที่สำคัญจะต้องเป็นบรรจุภัณฑ์แคปซูลที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้อีก ผู้ประกอบการ

จึงใช้โอกาสนี้ในการสอบถามทาง สคต. เกี่ยวกับรูปแบบบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวด้วยเช่นกัน

3.10) นอกจากตัวผลิตภัณฑ์กาแฟแล้ว ผู้ประกอบการยังได้เสนอความคิดที่จะออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องต่างๆ เช่น แก้วกาแฟที่มีโล

โก้ของบริษัทในการนำขายในอนาคต โดยสินค้าจะมาพร้อมคุณสมบัติในการเก็บเครื่องดื่มประเภทร้อนและเย็น ที่สำคัญผู้ประกอบการจะ

ยังคงให้ความสำคัญกับวัสดุที่นำมาใช้เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพผู้อุปโภค-บริโภค และสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน

4.   ข้อคิดเห็นและเสนอแนะ 4.1) สคต. เห็นโอกาสและความเป็นไปได้ในการเจาะตลาดเยอรมนี เนื่องจากตลาดกาแฟจากไทยยังมีการแข่งขันที่ไม่สูงมากนัก ถึง

อย่างไรผู้ประกอบการจะต้องระวังคู่แข่งอย่างอินโดนิเชียและเวียดนาม ที่มีชื่อเสียงในตลาดกาแฟจากเอเชียและเป็นที่ยอมรับจาก

ชาวต่างชาติในระดับหนึ่งแล้วเช่นกัน

4.2) สคต. สนับสนุนกับการชูเรื่องราวที่เกี่ยวกับการร่วมมือกับภาคสังคมและสิ่งแวดล้อม นอกจากจะสะท้อนความใส่ใจของผู้ผลิตแล้ว ยัง

สามารถนำมาทำการตลาดอีกจุดได้เช่นกัน โดยคนเยอรมันมักจะบริโภคสินค้าที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม และสินค้าที่ปลอดสาร

อันตรายใดๆ นโยบายและโครงการที่ผู้ประกอบการดำเนินการอยู่นั้นจึงเป็นจุดที่จะสามารถดึงดูดผู้บริโภคได้ไม่นอน

4.3) ในขณะที่เรื่องการทำตลาด ทีน่อกจากรูปแบบการขายทางออนไลน์ในการทำการตลาดเป็นหลักแล้วนั้น สคต. ยังได้แนะนำให้

ผู้ประกอบการถึงรูปแบบอื่นๆ ในการทำตลาด สรุปไดด้ังต่อไปนี้

Page 4: แบบฟอร์มรายงานBusiness Creation and Networking1" " รายงาน Business Creation and Networking สคต. ณ กร งเบอร ล น ประเทศเยอรมน

4    

4.3.1) สคต. จะช่วยประสาน และประชาสัมพันธ์ร้านอาหารไทยที่มีชื่ออยู่ในโครงการ Thai select ซึ่งเป็นร้านอาหารที่ได้รับ

การรับรองจากกรมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ว่าเป็นร้านอาหารที่ได้คุณภาพ และโดดเด่นในเรื่องอัตลักษณ์

ความเป็นไทยตั้งแต่การคัดสรรวัตถุดิบไปจนถึงขั้นตอนการปรุงอาหาร ซึ่งผู้ประกอบการสามารถติดต่อเพื่อเสนอขายสินค้ากาแฟ

ไทยสำหรับการนำไปประกอบเมนูเครื่องดื่ม หรือวางขายในร้านอาหาร โดยขึ้นอยู่กับการเจรจาต่อรองระหว่าง 2 ฝ่ายต่อไป

4.3.2) หากผู้ประกอบการต้องการ และตัดสินใจทำตลาดขนาดใหญ่ในเยอรมนี จะมีผู้นำเข้า 3 รายใหญ่ที่น่าสนใจไม่น้อย ได้แก่

Kreyenhop & Kluge (KK), Heuschen & Schrouff และ VINH-LOI โดย KK และHeuschen & Schrouff ที่มีการส่งสินค้า

ให้กับร้านค้าซุปเปอร์มาร์เกตหลายแห่งทั่วประเทศ รวมไปถึงอีกหลายประเทศในทวีปยุโรป ส่วน VINH-LOI ก็เป็นผู้นำเข้าและ

เจ้าของธุรกิจค้าปลีกอาหารจากเอเชียที่มีชื่อเสียง และเป็นที่ยอมรับในเยอรมนี ทาง สคต. จึงมองว่าผู้นำเข้าทั้ง 3 ราย เป็นอีก

หนึ่งช่องทางในการสร้างความร่วมมือ และการกระจายสินค้าในระดับใหญ่มากยิ่งขึ้น

4.3.3) หากทางผู้ประกอบการสนใจตลาดระดับสูง บริษัท Lo-Tao ถือเป็นตัวเลือกที่ดี เนื่องจากทางบริษัทดังกล่าว มีมีรูปแบบ

การขายสินค้าทั้งทางออนไลน์ และวางสินค้าในร้านค้า โดยได้มีการส่งสินค้าไปยังห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ อย่าง Lafayette

และ KADEWE ซึ่งหากสามารถนำสินค้าวางขายในห้างดังกล่าวได้ จะเป็นการทำเจาะตลาดสินค้าระดับสูงได้เป็นอย่างดี ทั้งยัง

เป็นการรับประกันคุณภาพสินค้าได้อีกทางหนึ่งด้วย

4.4) ส่วนในอนาคตที่ผู้ประกอบการมีแผนที่จะเปิดร้านค้าในเมืองใหญ่นั้น โดยกำลังตัดสินใจระหว่างเมืองฮัมบวร์ก และเบอร์ลิน ทาง

สคต. เสนอว่าทั้งสองเมื่อมีข้อดีที่แตกต่างกันไป เบอร์ลินจะเป็นตัวเลือกที่ดีหากต้องการเจาะกลุ่มลูกค้าที่มีความหลากหลายทั้งทางเพศ

และวัยมากกว่า โดยย่านที่เหมาะในการเปิดร้านจะมีหลายย่านด้วยกัน เช่น อำเภอ Charlottenburg ถนน Kant ซึ่งเป็นย่านที่อยู่ของ

สังคมระดับสูงในอดีต ทั้งยังมีร้านค้าปลีกของเอเชียอยู่มาก หรือ ย่าน Kreuzberg, Neukölln, และ Friedrichshain ซึ่งทั้ง 3 ย่านนี้เป็น

แหล่งรวมผู้บริโภคแนวฮิปสเตอร์ที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพสินค้า พร้อมทั้งสิ่งแวดล้อม ซึ่งตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่ผู้ประกอบการต้องการ

เป็นอย่างมาก ในขณะที่ฮัมบวร์ก แม้กลุ่มลูกค้าจะไม่มีความหลากหลายเท่า แต่ยอมรับว่าผู้คนที่อาศัยในเมืองฮัมบวร์กมีกำลังทรัพย์ในการ

อุปโภค-บริโภคสินค้าที่สูงกว่า ดังนั้นหากเป็นสินค้าที่มีคุณภาพสูงและราคาสูง เมืองฮัมบวร์กก็ถือว่าน่าสนใจไม่แพ้กันเลยทีเดียว

4.5) งานแสดงสินค้า เป็นอีกประเด็นที่ทาง สคต. ให้ความสำคัญอย่างมาก โดยงานที่ สคต. ได้แนะนำไปทั้งในประเทศไทยและเยอรมนี

มีดังนี้

4.5.1) THAIFEX เป็นงานแสดงสินค้าประเภทอาหารที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย โดยจะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ โดยกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งจะ

เป็นงานที่รวมเหล่าผู้ส ่งออก และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องที่ม ีการติดต่อกับกรมการค้าระหว่างประเทศของไทยใน 59

สำนักงานทั่วโลก ผู้ประกอบการจึงสามารถพบปะพูดคุยกับนักธุรกิจไม่เฉพาะแต่ประเทศไทยเท่านั้น จึงเป็นโอกาสอันดีหาก

ผู้ประกอบการวางแผนการตลาดอื่นๆด้วยเช่นกัน

4.5.2) Thai Week ในงาน Green Week ณ กรุงเบอร์ลินที่ถือว่าเป็นอีกช่องทางในการทดลองตลาดสำหรับสินค้าใหม่ๆ เพื่อนำ

ผลลัพธ์ที่ได้ไปเสนอแก่ผู้ประกอบการร้านค้าต่างๆ

4.5.3) Barzaar Berlin ถือเป็นตลาดค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 8-12 พฤศจิกายน ในงานนี้ ทาง สคต. ได้

แนะนำว่าผู้ประกอบการสามารถจัดรูปแบบสินค้าแบบเซทของขวัญสำหรับเทศกาลคริสมาส โดยสินค้าในรูปแบบดังกล่าวมักจะ

ได้รับความนิยมในงานนี้ โดยเฉพาะช่วงสิ้นปีใกล้เทศกาลคริสมาสและปีใหม ่

ซึ่งงานแสดงสินค้าที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ทาง สคต. จะส่งรายละเอียดแก่ผู้ประกอบการเพื่อการพิจารณาทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ต่อไป

4.6) อย่างไรก็ตาม สคต. มองว่าการขอเครื่องหมายรับรองก็สำคัญไม่แพ้กัน และสนับสนุนให้ผู้ประกอบการดำเนินเรื่องขอในเร็ววัน

โดยเฉพาะเครื่องหมาย Trade mark และ Bio เพราะจะเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่รับรองมาตรฐานของสินค้า และรับประกับความปลอดภัยได้เป็น

อย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าชาวเยอรมันที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพและมาตรฐานสินค้าอย่างมาก และเมื่อสินค้าเป็นที่ยอมรับใน

เยอรมนีแล้ว การเจาะตลาดประเทศอื่นๆในยุโรป โดยเฉพาะยุโรปตะวันออกก็จะง่ายยิ่งขึ้น

Page 5: แบบฟอร์มรายงานBusiness Creation and Networking1" " รายงาน Business Creation and Networking สคต. ณ กร งเบอร ล น ประเทศเยอรมน

5    

4.7) สคต. ยังมองว่าหากผู้ประกอบการสามารถนำเข้า และผลิตสินค้าที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้นในเรื่องของรูปแบบและชนิดของ

บรรจุภัณฑ์ ก็จะสามารถเจาะตลาดได้ใหญ่และหลากหลายมากยิ่งขึ้น อย่างเช่นบรรจุภัณฑ์แบบแคปซูลธรรมดา และแคปซูลที่สามารถนำ

กลับมาใช้ซ้ำได้ เป็นต้น โดยทาง สคต. ยินดีที่จะค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวในประเทศไทย หากมีความคืบหน้า

อย่างไร ทาง สคต. จะติดต่อกับทางผู้ประกอบการต่อไปในอนาคต

4.8) ท้ายสุด สคต. ยังได้แนะนำผู้ประกอบการพิจารณาเกีย่วกับการนำเข้า และผลิตกาแฟในรูปแบบเครื่องดื่มชนิดบริโภคเย็นด้วย เพื่อให้

สามารถทำตลาดได้หลากหลายตามความชอบของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น