อมลรัตน เลี่ยมตระก...

81
ผลงานที่เปนผลการดําเนินงานที่ผานมา พฤกษศาสตรพื้นบาน : พืชอาหารชาวขมุ อําเภอศรีสวัสดิจังหวัดกาญจนบุรี Ethnobotany : Edible Plants for Khamu Amphoe Srisawat, Changwat Kanchanaburi อมลรัตน เลี่ยมตระกูลพานิช AMOLRAT LIAMTRAKOOLPANICH สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษที3 (บานโปง) กรมอุทยานแหงชาติ สัตวปาและพันธุพืช .. 2550

Transcript of อมลรัตน เลี่ยมตระก...

Page 1: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

ผลงานที่เปนผลการดําเนินงานที่ผานมา

พฤกษศาสตรพื้นบาน : พชือาหารชาวขมุ อําเภอศรสีวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุร ี

Ethnobotany : Edible Plants for Khamu Amphoe Srisawat, Changwat Kanchanaburi

อมลรัตน เลี่ยมตระกูลพานิช AMOLRAT LIAMTRAKOOLPANICH

สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษที่ 3 (บานโปง) กรมอุทยานแหงชาติ สัตวปาและพันธุพืช

พ.ศ. 2550

Page 2: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

พฤกษศาสตรพื้นบาน : พืชอาหารชาวขมุ อําเภอศรีสวัสด์ิ จังหวัดกาญจนบุรี

อมลรัตน เลี่ยมตระกลูพานิช

บทคัดยอ

การศึกษาพฤกษศาสตรพื้นบาน : พืชอาหารชาวขมุ อําเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เปนสวนหนึ่งของโครงการวิจัยการมีสวนรวมของชุมชนดั้งเดิมในการอนุรักษและฟนฟูความหลากหลายทางชีวภาพของอาหารปา ดําเนินการในพื้นที่บานบนเขาแกงเรียง หมูท่ี 3 ตําบลทากระดาน อําเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งหมูบานดังกลาวมีชาวขมุอาศัยอยูรอยละ 65 ของจํานวนครัวเรือนทั้งหมด เปนชุมชนดั้งเดิมตั้งถิ่นฐานอยูอาศัย ทํากินและพึ่งพิงทรัพยากรปาไมประมาณ 87 ป การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพ่ือ 1) ศึกษาขอบเขตการเก็บหาพืชอาหารปาของชาวขมุ 2) ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของพืชอาหารปา 3) ศึกษาชวงเวลาการใชประโยชนพืชอาหารปา 4) ศึกษาคุณคาของพืชอาหารปาในพื้นท่ีศึกษา 5) เพื่อเปนขอมูลเบ้ืองตนในการเสนอแนวทางการจัดการพืชอาหารปาใหยั่งยืน วิธีการศึกษาใชวิธีการเก็บรวบรวมขอมูลทุติยภูมิท่ีไดจากรายงานการวิจัยที่เกี่ยวของ สวนการเกบ็ขอมูลปฐมภูมิ ใชวิธีการสํารวจชนบทแบบมีสวนรวม โดยมีแบบบันทึกขอมูล การสัมภาษณกึ่งเปนทางการ การทําปฏิทินการเก็บหาพืชอาหารปา ภาพถาย เปนเครื่องมือในการเก็บรวบรวมขอมูล สําหรับการวิเคราะหขอมูลใชวิธีการเชิงพรรณาและสถิติที่เกี่ยวของ ผลการศึกษาพบวาหมูบานบนเขาแกงเรียงมีจํานวนครัวเรือนรวม 147 ครัวเรือน ราษฎรสวนใหญประกอบอาชีพเกษตรกรรมเปนหลัก มีการพึ่งพิงและใชประโยชนทรัพยากรปาไมในปาเบญจพรรณ มีขอบเขตการเก็บหาพืชอาหารปาในรัศมี 1-2 กิโลเมตร โดยรอบหมูบาน ความหลากหลายของพืชอาหารปาที่บริโภคโดยชาวขมุในพื้นที่ศึกษารวม 37 ชนิด แยกเปนพืชกินใบ 20 ชนิด ดอก 6 ชนิด ผล 9 ชนิด และอื่น ๆ เชน หัว ราก ลําตน จํานวน 9 ชนิด โดยมีชวงเวลาการเก็บหาพืชอาหารปา 2 ลักษณะคือ เก็บไดทั้งป 15 ชนิด และเก็บหาไดตามฤดูกาล 22 ชนิด สําหรับการใชประโยชนพืชอาหารปา พบวาทุกครัวเรือนของชาวขมุในหมูบานศึกษามีการเก็บหาพืชอาหารปาเพื่อบริโภค ในปริมาณมากนอยแตกตางกันไปตามความสามารถและเวลาวางของแตละครัวเรือน นอกจากนี้พบวาพืชอาหารจากปามีสวนชวยสรางความมั่นคงในการดํารงชีวิตใหแกราษฎรในพื้นที่ศึกษาทั้งในแงคุณคาทางโภชนาการ เภสัชโภชนาการ ประหยัดรายจาย และออมรายได และความยั่งยืนในแงของการมีอาหารที่ปลอดภัยที่สามารถหามาเพื่อการบริโภคไดตลอดทั้งป จากการศึกษาเปรียบเทียบกับขอมูลทุติยภูมิพบวาพืชอาหารที่มีการบริโภคมีคุณคาทางเภสัชโภชนาอยางนอย 30 ชนิด

คําหลกั : พฤกษศาสตรพ้ืนบาน พืชอาหาร ขมุ

Page 3: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

Ethnobotany : Edible Plants for Khamu Amphoe Srisawat, Changwat Kanchanaburi

Amolrat Liamtrakoolpanich

ABSTRACT

The study on “Ethnobotany : Edible Plants for Khamu Amphoe Srisawat, Changwat Kanchanaburi” , a part of the research project entitled “Local Community’s Participation in Biodiversity Conservation and Rehabilitation”, was conducted in Banbonkaokangriang, Amphoe Srisawat, Changwat Kanchanaburi. The community for this study were settled in the forest since the past 87 years. The objectives of this study were : 1) to monitor the boundary of edible plants collection, 2) to make a survey of edible plants diversity, 3) to determine duration of edible plants consumption, 4) to assess the usage and value of edible plants, and 5) to get principle information and guideline for sustainable management of edible plants. Secondary data was compiled from related research works, whereas field data collection was carried out using the Participatory Rural Appraisal (PRA) tools and techniques such as data recording form, semi-interviewing, crop calendar, etc.

Findings showed that the total family of Khamu tribal community was 147 families. Most of villagers engaged in agriculture. They were dependent on forest resources, i.e., collecting edible plants in the radius of 1-2 kilometer away from the village. The total of 37 species of edible plants were found to be consumed by Khamu tribal community, consisting of 20 leaf consuming species, 6 flower consuming species, 9 fruit consuming species, and 9 other species. The duration of edible plants collection was divided into two groups, 15 species could be collected in the whole period of year and 22 species could be seasonally collected. Additionally, all Khamu families collected edible plants for household consumption with different quantity based on their performance and skill as well as their available time. Khamu could live securely with edible plants as they could minimize their living cost and could benefit from its medical values along the whole period of year. Comparing with secondary data on medical values, it was found that at least 30 species could provide villagers with medical values.

Keywords : Ethnobotany, edible plants, Khamu

Page 4: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for
Page 5: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

(1)สารบาญ

หนา สารบาญ (1) สารบาญตาราง (2) คํานํา 1 วัตถุประสงค 2 นิยามศัพท 2 การตรวจเอกสาร 3 อุปกรณและวธิีการ 15 สถานที่และระยะเวลา 17 ประโยชนที่คาดวาจะไดรับ 18 ผลและวิจารณผล 19 สรุปผล 71 เอกสารอางอิง 72

Page 6: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

(2)สารบาญตาราง

ตารางที่ หนา

1 การใชประโยชนพืชอาหารของชาวขมุ อําเภอศรีสวัสดิ์ 22 จังหวัดกาญจนบรุี เปรียบเทียบกับชาวขมุและเผาอ่ืนในทองที่ตางๆ 2 ขอมูลการใชประโยชนพืชอาหารของชาวขมุ อําเภอศรีสวัสดิ ์ 62 จังหวัดกาญจนบรุ ี 3 คุณคาทางเภสัชโภชนาของพืชอาหารของชาวขมุ อําเภอศรีสวัสดิ ์ 68

จังหวัดกาญจนบรุ ี

Page 7: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

คํานํา ประเทศไทยตัง้อยูในเขตรอนชื้นมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีพื้นที่ปาไมทีม่ีความอุดมสมบูรณของสิ่งมีชีวิตนานาชนิด จากความอุดมสมบูรณของพื้นที่ปาไมทําใหชุมชนที่มีการตั้งถ่ินฐานอยูใกลพืน้ที่ดงักลาวมีการดาํรงชีวิตโดยการพึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติ ไมวาจะเปนดานอาหาร ยารักษาโรค ที่อยูอาศัยรวมถึงเครื่องนุงหม ซ่ึงแตกตางกันไปตามวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อที่ไดสืบตอกันมา ตลอดจนทรัพยากรที่มีอยูในทองถ่ิน จากการพึ่งพิงทรัพยากรปาไมในรูปแบบที่มกีารถายทอดจากชนรุนหนึ่งสูอีกรุนหนึ่งทําใหเกิดเปนองคความรูทองถ่ินจนกลายเปนภูมิปญญาทองถ่ินที่มีการนํามาใชในปจจุบัน พฤกษศาสตรพื้นบานเปนรูปแบบวิธีการหนึ่งในการศกึษาหาความรูเกีย่วกบัความสัมพันธระหวางคนในชนบทและพรรณพชื อีกทัง้ความรูเกีย่วกบัพฤกษศาสตรพื้นบานนี ้ จะชวยใหเกิดการเรียนรู และเขาใจเกีย่วกับความสัมพันธระหวางทรัพยากรพรรณพืชและชุมชนในทองถ่ินไดเปนอยางดี โดยเฉพาะการพึ่งพิงและการใชประโยชนเพื่อเปนอาหารและยาสมุนไพร ซ่ึงรูปแบบและวิธีการศึกษาพฤกษศาสตรพื้นบานโดยทัว่ไป สามารถปรับเปลี่ยนเพือ่ใหเหมาะสมกับวตัถุประสงคของการศกึษาในแตละพืน้ที่ การศกึษาพฤกษศาสตรพืน้บาน : พืชอาหารชาวขมุ อําเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เปนการรวบรวมองคความรูในการจดัการทรัพยากรปาไมของชนเผา อันเปนเอกลักษณเฉพาะที่มีบางอยางที่คลายคลึงหรือแตกตางจากชนเผาอื่นๆ ซ่ึงองคความรูเหลานี้รวมกับการสํารวจชนิดของพืชอาหารที่ชนเผาขมุนํามาใชประโยชน จะสามารถบอกถึงความหลากหลายทางชวีภาพของพืชอาหารปาบริเวณนั้นๆ นอกจากนี้ยังไดศึกษาถึงคุณคาทางเภสัชโภชนาของพืชอาหารที่มีการนํามาใชบริโภคเพื่อเปนขอมูลเบื้องตนในการจัดการพืชอาหารปาใหยั่งยืนตอไป

Page 8: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

2

วัตถุประสงค

1. ศึกษาขอบเขตการเก็บหาพืชอาหารปาของชาวขมุในพื้นที่ศึกษา 2. ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของพืชอาหารปา 3. ศึกษาชวงเวลาการใชประโยชนพืชอาหารปา 4. ศึกษาคุณคาของพืชอาหารปาในพื้นที่ศึกษา 5. เพื่อเปนขอมูลเบื้องตนในการเสนอแนวทางการจัดการพืชอาหารปาใหยั่งยืน

นิยามศัพท

พืชอาหารปา หมายถึง พชืพรรณชนิดตางๆ ที่ขึ้นอยูในปาธรรมชาติ ที่ชาวขมุเก็บหามาใชประโยชนดานอาหารและยา พฤกษศาสตรพื้นบาน หมายถึง การศกึษาความสัมพันธระหวางชาวขมุ กับการใชประโยชนทางดานอาหาร จากทรัพยากรพรรณพืชทีม่ีอยูในปาธรรมชาติ ภูมิปญญาทองถ่ิน หมายถึง องคความรูในการใชประโยชน และการจดัการทรัพยากรพรรณพืช ที่มีการสืบทอดตอกันมาของชาวขม ุ ขอบเขตการเกบ็หาพืชอาหารปา หมายถึง ขอบเขตพื้นที่ที่มีการเก็บหาพืชอาหารปาจากปาโดยรอบหมูบานชาวขมุในพืน้ที่ศึกษา ชวงเวลาการใชประโยชนพชือาหารปา หมายถึง ปริมาณการเก็บหาพืชอาหารปาแตละชนดิในชวงเวลาหนึ่งปจากปาโดยรอบหมูบานชาวขมุในพื้นที่ศกึษา คุณคาของพืชอาหารปา หมายถึง คุณคาของพืชอาหารปา 2 ลักษณะคือ 1) คณุคาทางอาหาร และ 2) คุณคาทางเภสัชโภชนา ความหลากหลายทางชีวภาพ หมายถึง ความหลากหลายในเรื่องชนิดพนัธุ (species diversity) และความหลากหลายทางพนัธุกรรม (genetic diversity) เทานั้น

ชาวขมุ หมายถึง ราษฎรชาวขมุในหมูบานบนเขาแกงเรียง หมูที่ 3 ตําบลทากระดาน อําเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี

Page 9: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

3

การตรวจเอกสาร

พฤกษศาสตรพื้นบาน ความหมายของพฤกษศาสตรพื้นบาน

Ethnobotany มาจากรากศัพท Ethno หมายความถึงขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมที่ไดมีการสืบทอดมาแตโบราณ Botany หมายถึงการศึกษาเกี่ยวกับพืช ผูบัญญัติศัพทคํานี้ใชเปนครั้งแรก คือ Dr. John W. Harsberger นักพฤกษศาสตรแหงมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ในการประชุมทางดานโบราณคดีของมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย และใหความหมายวา “The study of plants used by primitive and aboriginal people” หมายถึง เปนการศึกษาถึงพืชที่คนดั้งเดิมในทองถ่ินไดนํามาใชประโยชน (วีระชัย, 2534)

พฤกษศาสตรพื้นบาน เปนคําผสมระหวาง “พฤกษศาสตร” หมายถึง วิชาที่ศึกษาในเรื่องพืช และ “พื้นบาน” หมายถึง กลุมชนใดกลุมชนหนึ่ งที่มี เอกลักษณอยางใดอยางหนึ่ งรวมกัน (ราชบัณฑิตยสถาน, 2526)

สมศักดิ์ (2539) ไดใหความหมายเพิ่มเติมไววา พฤกษศาสตรพื้นบาน (ethnobotany) เปนสวนหนึ่งของวิชานิเวศวิทยาพื้นบาน โดยเปนวิชาที่วาดวยความสัมพันธระหวางคนในชนบท กับทรัพยากรพรรณพืช ความรูดานการใชประโยชนจากพรรณพืชของราษฎรในทองถ่ินนั้นเกิดจากการลองผดิลองถูก เรียนรู และถายทอดตอๆ กันมา การศึกษาพฤกษศาสตรพื้นบานนั้น กระทําไดหลายทาง ทั้งจากการคนควาจากสิ่งบันทึกตางๆ และการเขาไปศึกษาในชุมชนนั้นๆ โดยตรง การศึกษาพฤกษศาสตรพื้นบาน

การศึกษาพฤกษศาสตรพื้นบานอาจแบงตามบทบาทหนาที่และความมีประโยชนในชีวิต ประจําวันของชุมชนในทองถ่ิน ทั้งนี้พืชชนิดหนึ่งๆ อาจยังประโยชนแกมนุษยไดหลายอยาง โดยเนนในดานประโยชนพื้นฐาน หรือปจจัยส่ีที่มนุษยตองการเปนหลัก ดังนั้นจึงสามารถจําแนกการศึกษา พฤกษศาสตรพื้นบาน ไดเปน 5 กลุม คือ พืชอาหาร พืชสมุนไพร ไมทอนและไมกอสราง เครื่องนุงหม และการใชพืชเพื่อประโยชนอ่ืนๆ โดยมีรายละเอียดของแตละกลุมดังนี้คือ

Page 10: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

4

1. กลุมพืชอาหาร

พืชอาหารในพฤกษศาสตรพื้นบาน หมายถึง พืชที่เก็บหามาไดในธรรมชาติเพื่อนํามาใชเปนอาหาร พืชเหลานี้มีอยูตามปา ในทองทุงหรือตามหัวไรปลายนา ดังนั้นการศึกษาพฤกษศาสตรพื้นบานในเรื่องของพืชอาหาร จึงเนนเฉพาะพืชที่เก็บหาไดจากในธรรมชาติ ซ่ึงพืชปาหลายชนิดจะถูกนํามาปลูกไวตามหัวไรปลายนา หรือในบริเวณหมูบาน เพื่อความสะดวกในการเก็บหาเพื่อนํามา บริโภคในชีวิตประจําวัน (มาโนชและเพ็ญนภา, 2540) พืชอาหารในแตละทองที่แตกตางกันไปตามวัฒนธรรมการบริโภค และการดําเนินชีวิตในแตละพื้นที่ ซ่ึงมีความแตกตางกันไปตามสภาพแวดลอม โดยผูคนในแตละทองถ่ินจะมีวิถีชีวิต วัฒนธรรม และการบริโภคที่สอดคลองกับธรรมชาติและสภาพแวดลอม (ล่ันทม, 2537) ตัวอยางพืชอาหาร ไดแก ผักกูด (Diplazium esculentum (Retz.) Sw.) เปนผัก , มะไฟปา (Baccaurea ramiflora Lour.) เปนผลไมและมะเดื่อหลวง (Ficus auriculata Lour.) เปนผักและผลไม เปนตน

2. กลุมพืชสมุนไพร (ยารักษาโรค)

พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ใหความหมายวา สมุนไพร หมายถึง ยาที่ไดมาจากพืช สัตว แรธาตุ จากธรรมชาติที่ไมมีการเปลี่ยนแปลงสภาพโครงสรางภายใน สามารถนํามาใชเปนยารักษาโรคตางๆ และบํารุงรางกายได (สดใสและธนารัตน, 2522) และราชบัณฑิตยสถาน (2526) ไดใหความหมายของสมุนไพรวาหมายถึง ผลิตผลธรรมชาติไดจากพืช สัตว และ แรธาตุ ที่ใชเปนยาหรือผสมกับสารอื่นๆ ตามตํารับยา เพื่อบําบัดโรค บํารุงรางกาย หรือใชเปนยาพิษ โดยสรุปแลวพืชสมุนไพรหมายถึงพรรณพืชชนิดตางๆ ที่นํามาใชเปนยารักษาโรค พืชสมุนไพร มีหลายรอยชนิดและมีสรรพคุณในการรักษาโรคที่แตกตางกันไป ตัวอยางพืชสมุนไพร ไดแก สวอง (Vitex limonifolia Wall.) ใชผลกินแกแผลฝ , ยอ (Morinda sp.) ใชผลกินขับพยาธิ เปนตน

3. กลุมไมทอนและไมสรางบาน (ที่อยูอาศัย)

การใชประโยชนจากปาไมประการหนึ่งที่เห็นไดอยางชัดเจนคือ การตัดไมจากปาแลวนํามาสรางที่อยูอาศัย ไมจะถูกนํามาใชในสวนประกอบตางๆ ของบานไมวาจะเปนเสาบาน ฝาบาน คาน วงกบ หรือโครงสรางอื่นๆ ของบาน สาเหตุที่นิยมนําไมมาใชในการกอสรางบานเรือน เพราะมีลักษณะพิเศษหลายประการคือ แปรรูปไดงายกวาวัสดุอ่ืนๆ ประสานตอเชื่อมดวยวิธีการงายๆ มีความทนทานเมื่อใชในสถานที่ปลอดจากการทําลายของแมลงและเห็ดรา (ปรีชา, 2541) ตัวอยาง ไมทอนและไมสรางบาน ไดแก ตะเคียนทอง (Hopea odorata Roxb.), กอ (Castanopsis sp.) เปนตน

Page 11: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

5

4. กลุมเครื่องนุงหม

การใชประโยชนดานนี้สวนใหญเปนพืชที่มีเสนใชถักทอ รวมถึงพืชที่ใหสียอมและพืชที่ใชเล้ียงแมลงที่ใหเสนใย (เต็มและวีระชัย, 2534) ตัวอยาง ไดแก ตองสาด (Phrynium capitatum Willd.) ใชทําเสื่อ, ฮอม (Baphicacanthus cusia Brem.) ใชทําสียอมผา และคราม (Indigofera uncinata Roxb.) ใชทําสียอมผา เปนตน

5. กลุมใชเพื่อประโยชนอ่ืนๆ

พฤกษศาสตรพื้นบานเพื่อใชประโยชนอ่ืน ไดแก เปนสัญลักษณและความเชื่อถือตางๆ หมายถึง พืชที่มนุษยใหความเชื่อถือเปนตัวแทนหมูคณะ เปนเครื่องรางของขลัง นําโชค และปองกันภูตผีปศาจ (เต็มและวีระชัย, 2534) ตัวอยางเชน กะตังใบ (Leea indica Merr.) ชาวถ่ินใชในพิธีแรกขวัญไร และใบปอแฮก (Trema orientalis Bl.X) ชาวมงลายใชทาตัวเพื่อปองกันภูตผี เปนตน

การศึกษาทางพฤกษศาสตรพื้นบานโดยทั่วไปประกอบดวยวัตถุประสงค 3 ประการ คือเพื่อรวบรวมความรูดั้งเดิมที่เกี่ยวกับพรรณพืชที่เปนประโยชนกับชุมชน เพื่อประเมินเชิงปริมาณวามีการใชประโยชนทรัพยากรพรรณพืชนั้นมากนอยเพียงใด ชุมชนมีวิธีใชและจัดการทรัพยากรเหลานี้อยางไร และเพื่อนําความรูและทรัพยากรที่มีอยูในทองถ่ินมาปรับใชเพื่อใหเกิดประโยชนกับชุมชนทองถ่ินตอไป

ภูมิปญญาพื้นบานกับการจัดการทรัพยากรปาไม

ภูมิปญญาพื้นบาน (indigenous knowledge) เปนเรื่องที่สังคมปจจุบันใหความสนใจอยางมาก จะเห็นไดจากผลงานวิจัยที่เกี่ยวของกับภูมิปญญาพื้นบานที่มีจํานวนมากขึ้นอยางตอเนื่อง และในงานวิจัยแตละเรื่องก็จะมีการใชคําเรียกภูมิปญญาพื้นบานที่แตกตางกันไป เชนคําวา ภูมิปญญาทองถ่ิน (local wisdom) ภูมิปญญาชาวบาน (popular wisdom) ความรูชาวบาน (folk knowledge) ความรูทองถ่ิน (local knowledge) ภูมิปญญาประชาชน (people knowledge) เปนตน แตไมวาจะใชคําใดก็มีความหมายคลายคลึงกันสามารถใชแทนกันได ซ่ึงแนวคิดเรื่องภูมิปญญาพื้นบานกําลังเปนประเด็นที่สําคัญ ทั้งนี้เปนเพราะแรงผลักดันจากกระแสสังคมที่หันมาเนนความสําคัญของทองถ่ิน และใหความสําคัญตอองคความรู และวิถีชีวิตแบบทองถ่ิน มองเห็นความงดงามในวิถีชีวิตของคนธรรมดาสามัญ คนชนบท และชนเผา ที่หางไกลความกาวหนาทางวัตถุและเทคโนโลยีมากขึ้นนั้นเอง

Page 12: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

6

ความหมายของภูมิปญญาพื้นบาน

ภูมิปญญาพื้นบาน เปนความรูชาวบานที่ถูกสรางขึ้นมาจากความรู ความสามารถของ ชาวบาน ตลอดจนประสบการณของชาวบาน และถูกถายทอดซึ่งกันและกันในชุมชน หรือชุมชนใกลเคียง โดยตกทอดและสะสมจากคนรุนหนึ่งไปยังคนอีกรุนหนึ่ง ภูมิปญญาพื้นบานเปนทรัพยสินทางปญญาที่มีคุณคาไมยิ่งหยอนไปกวาความรูทางวิทยาศาสตร โดยทั่วไปแลวชาวบานไมสามารถอธิบายรายละเอียด และใหเหตุผลได สวนใหญเปนความเชื่อ แตเปนความเชื่อที่ประกอบไปดวยความรูที่สลับซับซอน โดยเฉพาะอยางยิ่งความรูเกี่ยวกับระบบนิเวศ อยางไรก็ตาม บางครั้งพบวาภายในภูมิปญญาพื้นบานมีบางอยางที่นักวิทยาศาสตรคาดไมถึง (พรชัย, 2541)

ภูมิปญญาหรือภูมิปญญาชาวบาน เปนระบบความคิดและวิธีการแกปญหาตางๆ ของมนุษย ทั้งในดานสิ่งแวดลอมทางธรรมชาติและวัฒนธรรม แนวความคิดและวิธีการดังกลาวเกิดจากการสังเกต การทดลอง การลองผิดลองถูก หรือใชวิธีการอยางอื่นจากประสบการณหลายๆ ครั้งแลวสรุปเปนบทเรียนภายใตกรอบความคิดความเชื่อของบุคคลในสังคม ระบบความคิดเปนภูมิปญญาพื้นบานในลักษณะนามธรรม แสดงออกในเรื่องความเชื่อ ความศรัทธา ความกลัว หรือแนวความคิดอื่นๆ ที่ยึดมั่นรวมกันและเปนอุดมการณในการดํารงชีวิตอีกรูปแบบหนึ่งเปนลักษณะของรูปธรรม ที่แสดงออกมาเห็นไดชัดเจน เชน รูปแบบกรรมวิธีในการเพาะปลูก ลักษณะของภูมิปญญาพื้นบานที่แสดงออกเปนรูปธรรมยอมมีส่ิงที่เปนนามธรรมสนับสนุนอยูเบื้องหลัง ดังนั้นบุคคลจะแสดงพฤติกรรมออกมาอยางไรในการประกอบอาชีพ การดํารงชีวิต หรือพิธีกรรมตางๆ ยอมมีแนวความคิด และความเชื่อเปนผูบงการอยูเบื้องหลังพฤติกรรม (มลฤดี, 2541)

ภูมิปญญาพื้นบาน หรือภูมิปญญาทองถ่ิน หรือภูมิปญญาชาวบาน (local wisdom) เปนภูมิปญญาความรูของมนุษยที่มิไดเกิดขึ้นลอยๆ แตความรูเปนสิ่งที่กอรางสรางตัวลงหลักฐานภายในระบบนิเวศของทองถ่ิน ภูมิปญญาเกิดและพัฒนาขึ้นในกระบวนการที่คนและชุมชนปรับตัว เขากับระบบนิเวศชุดหนึ่ง ความรูที่พัฒนาขึ้นในระบบนิเวศชุดนั้นก็ยอมมีลักษณะจําเพาะ มีพืชสมุนไพร สูตรยา และอาหารเฉพาะถิ่นที่ส่ังสมและพัฒนากลายเปนสวนหนึ่งขององคความรูในภูมิปญญาทองถ่ิน หรือภูมิปญญาพื้นบานของชนกลุมใดกลุมหนึ่งโดยเฉพาะ (ยศ, 2542) ภูมิปญญาพื้นบานกับการใชประโยชนทรัพยากรปาไม

การเรียนรูเกี่ยวกับการนําพืชมาใชประโยชนนั้นเปนประสบการณจริงเพื่อการอยูรอด วิธีการนําพืชแตละชนิดมาใชประโยชนไดรับการถายทอดสืบตอกันมาหลายชั่วอายุคนจนกลายเปนวัฒนธรรมของชนแตละกลุม อาจมีการดัดแปลงบางสิ่งบางอยางตามกําลังสติปญญาของคนแตละรุนเพื่อใหเกิด

Page 13: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

7

ประโยชนมากยิ่งขึ้น ความรูและประสบการณเพื่อการอยูรอดเหลานี้บรรพบุรุษไดถายทอดใหแกลูกหลานสืบตอกันมาตลอดระยะเวลาที่ยาวนาน จัดวาเปนภูมิปญญาของชนแตละกลุม (ชูศรี, 2539)

สถาบันแพทยแผนไทย (2540) ใหความเห็นเพิ่มเติมวา พันธุไมนานาชนิดในธรรมชาติ ไดเขามาเกี่ยวของเกือบจะทุกๆ ดาน ไมวาจะเปนดานสิ่งแวดลอม สังคม วัฒนธรรม โดยเฉพาะอยางยิ่งดานปจจัย 4 อันเปนความตองการพื้นฐานของมนุษยในการนําพืชผักพื้นบานมาใชประโยชนนั้น ถือวาชาวบานเปนผูที่ศึกษาและเขาใจธรรมชาติของพืชผักไดอยางแทจริง อีกทั้งมีเทคโนโลยีที่เหมาะสมตอการใชทรัพยากรที่มีอยูอยางคุมคา ไมกอใหเกิดการสูญเสียหรือทําลายทั้งตอตัวมนุษยเองและสิ่งแวดลอม

การพัฒนาอยางยั่งยืนโดยไมฝนธรรมชาติเปนแนวทางการพัฒนายุคใหมที่มีความเชื่อมโยง ไปถึงการใชทรัพยากรธรรมชาติอยางยั่งยืน (ประเวศ, 2536) โดยเฉพาะทรัพยากรดานความหลากหลายทางชีวภาพที่บรรพบุรุษของเราไดหยิบมาใชสอยอยางทะนุถนอมเปนเวลายาวนานนับพันๆ ป และไดส่ังสมความรูความเขาใจในการใชทรัพยากรชีวภาพอยางยั่งยืนมาโดยตลอดในรูปแบบของหมอชาวบานที่ใชวิธีการรักษาโรคภัยไขเจ็บแบบโบราณจากพืชสมุนไพรที่หาไดจากปาเขาลําเนาไพรที่มีอยูมากมายในอดีต และในรูปแบบของเกษตรพื้นบานที่พัฒนาและรักษาพันธุพืชอาหารและพันธุสัตวเล้ียง เพื่อการดํารงชีวิต และจากรายงานสรุปการสัมมนาเชิงปฏิบัติการพฤกษศาสตรพื้นบาน และการใชทรัพยากรอยางยั่งยืนในภาคใตตอนลาง ไดสนับสนุนเพิ่มเติมไววาคนสามารถอยูกับปาไดโดยอาศัยผลผลิตจากปาในการดํารงชีวิต ชาวบานจะไดรับการถายทอดความรูจากคนเกาคนแก และมีความเชื่อที่สืบทอดกันมา การกิน การใช เปนไปตามที่ไดรับการสืบทอดมา (ศูนยฝกอบรมวนศาสตรชุมชนแหงภูมิภาคเอเชียและแปซิฟก, 2541)

จากขอมูลขางตนจะเห็นวาองคความรูและภูมิปญญาทองถ่ินที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรปาไมไดกอกําเนิดขึ้นจากการพึ่งพิงและใชประโยชนจากทรัพยากรปาไมของคนและชุมชนมาตั้งแตในอดีต ซ่ึงเปนพัฒนาการทางดานประวัติศาสตร และพัฒนาการทางดานวัฒนธรรมของกลุมชาติพันธุตางๆ ที่ไดดํารงชีวิตอยูรวมกับธรรมชาติมาหลายชั่วคน โดยอาศัยธรรมชาติในเรื่องความตองการพื้นฐาน ไมวาเปนที่อยูอาศัย อาหาร เครื่องนุงหม และยารักษาโรค ทุกอยางลวนไดมาจากทรัพยากรปาไมทั้งสิ้น ซ่ึงกวาจะรูวาพืชชนิดใดใชประโยชนไดหรือไมได ก็ตองผานการลองผิดลองถูกมานาน แลวนํามาใชในวิถีชีวิตใหคนรุนตอๆ มาไดปฏิบัติตาม นอกจากนี้จากการตรวจเอกสาร เรื่องภูมิปญญากับการจัดการทรัพยากรปาไม ในงานวิจัยตางๆ สวนใหญพบวามีการใชประโยชนทางดานอาหาร และยาสมุนไพร เปนหลัก เห็นไดจากผลการศึกษาพฤกษศาสตรพื้นบานของชาวขมุ ชาวลัวะ และชาวถิ่นในบางพื้นที่ของจังหวัดนาน พบพืชที่มีการนําไปใชประโยชนในชีวิตประจําวันทั้งสิ้น 232 ชนิด 199 สกุล 85 วงศ สามารถจําแนกพืชตามลักษณะการนําไปใชประโยชนเปน 5 ประเภท คือ พืชสมุนไพร พืชอาหาร พืชใชสรางที่อยูอาศัย พืชเศรษฐกิจ และพืชใชประโยชนอ่ืนๆ โดยการนําพืชมาใชประโยชนเปนอาหาร พบวามีจํานวนชนิดพืชมากที่สุด ผลการศึกษาพฤกษศาสตรพื้นบานของชาวไทลื้อ ชาวมงและชาวเยาในบางพื้นที่ของจังหวัดนาน พบวามีการนําพืชจากปา

Page 14: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

8

มาใชประโยชน 273 ชนิด แบงเปน พืชอาหาร 98 ชนิด สมุนไพร 162 ชนิด พืชเศรษฐกิจ 11 ชนิด และพืชประโยชนอ่ืนๆ 31 ชนิด (จันทรารักษ, 2541)

ดังนั้นอาจกลาวไดวา อาหาร และยาสมุนไพรเปนปจจัยพื้นฐานสําคัญที่มนุษยแสวงหาไดจากปา ทําใหมนุษยมีชีวิตอยูไดอยางผาสุข มนุษยจึงตองพยายามเรียนรู และลองผิดลองถูกในการอนุรักษและจัดการทรัพยากรปาไมใหมีความยั่งยืน เพื่อเปนแหลงผลิตอาหาร และยารักษาโรคใหพอเพียงตอความตองการของสมาชิกในสังคมไดอยางยั่งยืนและมั่นคง อันเปนที่มาของความสัมพันธระหวางภูมิปญญาทองถ่ินกับการจัดการทรัพยากรปาไม ที่มุงเนนใหเกิดความมั่นคงทางดานอาหารและยาสมุนไพรนั่นเอง

การจัดการทรัพยากรปาไมเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ

ความหมายของความหลากหลายทางชีวภาพ

สํานักนโยบายและแผนสิ่งแวดลอม (2539) และวิสุทธิ์ (2540) กลาวถึงความหมายของความหลากหลายทางชีวภาพวา ความหลากหลายทางชีวภาพนั้นมีองคประกอบอยู 3 อยาง คือความหลากหลายในเรื่องชนิดพันธุ (species diversity) ความหลากหลายทางพันธุกรรม (genetic diversity) และความหลากหลายของระบบนิเวศ (ecosystem diversity)

คุณคาของความหลากหลายทางชีวภาพ

เกรียงไกร (2546) จากการศึกษาเกี่ยวกับคุณคาของความหลากหลายทางชีวภาพสามารถแบงคุณคาของความหลากหลายทางชีวภาพออกไดเปน 3 ประเด็นหลัก คือ คุณคาเพื่อการบริโภค คุณคาเพื่อการผลิต และคุณคานอกเหนือจากการบริโภคใชสอย

คุณคาเพื่อการบริโภค (comsumptive use value) หมายถึงคุณคาของความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งสามารถบริโภคไดโดยตรง เชน เห็ดปา ไมฟน พืชผัก เนื้อสัตว เปนตน

คุณคาเพื่อการผลิต (productive use value) หมายถึงคุณคาของความหลากหลายทาง ชีวภาพ ที่สามารถใชประโยชนเชิงการคาได เชน การนําพืชในปามาผลิตเปนยารักษาโรค การผลิตอาหารจากทรัพยากรในทะเล เปนตน

คุณคานอกเหนือจากการบริโภคใชสอย (non–consumptive use value) หมายถึงคุณคาในการบํารุงรักษาระบบนิเวศ เชน เปนแหลงตนน้ําลําธาร ควบคุมสภาพอากาศและคุณภาพดิน เปนตน

ดังนั้นสามารถกลาวไดวาคุณคาของความหลากหลายทางชีวภาพตอความเปนอยูของมนุษยเปนไปทั้งทางตรงและทางออม ซ่ึงจะแตกตางกันไปตามขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม และภูมิ

Page 15: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

9

ปญญาที่มีอยูในแตละทองถ่ิน ปจจัย 4 อันไดแก อาหาร เครื่องนุงหม ที่อยูอาศัย และยารักษาโรค สวนใหญลวนไดมาจากทรัพยากรทางชีวภาพทั้งสิ้น ซ่ึงกลาวไดวาชุมชนทองถ่ินและชนเผาตางๆ ของประเทศมั่นคงอยูได ทั้งนี้ดวยการพึ่งพิงทรัพยากรชีวภาพดังกลาว แตมิไดหมายความวาทรัพยากรชีวภาพจะเอื้ออํานวยประโยชนเฉพาะชุมชนทองถ่ินเดียวเทานั้น ดังเชนกรณีผืนปาในภาคเหนือซ่ึงเปนแหลงตนน้ําลําธารที่สามารถหลอเล้ียงชุมชนทั้งลุมน้ําเจาพระยาที่เปนแหลงเกษตรกรรมที่สําคัญของประเทศไดอีกดวย เปนตน การจัดการทรัพยากรปาไมเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย

ประเทศไทยไดลงนามใหการรับรองอนุสัญญาวาดวยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity) ในระหวางการประชุมสหประชาชาติวาดวยการสิ่งแวดลอมและการพัฒนา เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2535 ณ กรุงริโอ เดอจาเนโร ประเทศบราซิล ซ่ึงวัตถุประสงคของอนุสัญญาฯ ฉบับนี้คือ การอนุรักษและการใชประโยชนอยางยั่งยืน การแบงปนผลประโยชนที่ยุติธรรม และทัดเทียมกันจากการใชทรัพยากรทางพันธุกรรมตางๆ รวมถึงการเขาถึงทรัพยากรทางพันธุกรรม และการถายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวของและเหมาะสม โดยพิจารณาถึงสิทธิเหนือทรัพยากรและเทคโนโลยีเหลานั้นและการใหทุนสนับสนุนที่เหมาะสม (บรรพต, 2545)

ในป พ.ศ. 2538 คณะอนุกรรมการอนุสัญญาวาดวยความหลายหลายทางชีวภาพ ไดจัดทํา สถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย ไดยกรางนโยบาย มาตรการและแผนการอนุรักษ และใชประโยชนความหลากหลายทางชีวภาพอยางยั่งยืน ในเปาหมายดํารงรักษากระบวนการทางนิเวศและระบบนิเวศไวเพื่ออนุรักษความหลากหลายทางชีวภาพ และเพื่อใชประโยชนทรัพยากรทางชีวภาพอยางยั่งยืนโดยมีหลักการที่สําคัญคือ การอนุรักษในถิ่นที่อยูอาศัยตามธรรมชาติ ปองกันและแกไขตนเหตุแหงความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ การยอมรับและดํารงรักษาภูมิปญญา การสรางสรรคและธรรมเนียมปฏิบัติของชุมชนทองถ่ินที่มีความสําคัญเปนอันดับแรกตอการอนุรักษและใชประโยชนทรัพยากรชีวภาพอยางยั่งยืน และในการอนุรักษความหลากหลายทางชีวภาพ สามารถดําเนินการพรอมกับการแสวงหาขอมูลและความรูเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ (สํานักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดลอม, 2539)

การอนุรักษและฟนฟูความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ปาอนุรักษของประเทศไทย จึงไดมีการจัดการในหลายรูปแบบขึ้นอยูกับวัตถุประสงคของการจัดการ เชน เพื่อใหเกิดความมั่นคงทางดานอาหาร เพื่อเปนแหลงตนน้ําลําธาร เพื่อคุมครองความหลากหลายทางชีวภาพ และเพื่อคุมครองสัตวปา ในแงความหลากหลายทางชีวภาพคนสวนใหญจะนึกถึงปาและตนไมในปา แตความสําคัญของปาในเรื่องนี้ไมไดขึน้อยูกบัชนิด ขนาด หรือความหนาแนนของตนไม แตขึ้นอยูกับคุณคาของชีวภาพตอมนุษย ทั้งในปจจุบันและในอนาคต ดังนั้นการศึกษาการมีสวนรวมในการจัดการปาที่เปนระบบ เพื่อใชเปนฐานขอมูลดานการอนุรักษ

Page 16: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

10

ความหลากหลายทางชีวภาพของปา ที่มีการใชประโยชน และบริหารจัดการโดยชุมชนจึงเปนการดําเนินการตามแนวทางของอนุสัญญาวาดวยความหลากหลายทางชีวภาพแนวทางหนึ่ง

การจัดการทรัพยากรปาไมเพื่อความมั่นคงดานอาหาร

ความมั่นคงดานอาหาร มีแนวคิดมาจากการรับรองปฏิญญากรุงโรมของการประชุมสุดยอดอาหารโลก เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2539 มีวัตถุประสงคเพื่อขจัดความหิวโหยและลดปญหาดานอาหารของประชากรโลก โดยตั้งเปาหมายที่จะลดจํานวนประชากรที่ขาดอาหารใหเหลือเพียงครึ่งหนึ่งจากที่มีอยูในปจจุบันภายในป พ.ศ. 2558 โดยมีหลักการของความมั่นคงดานอาหารดังนี้คือ เพื่อใหประชากรโลกมีอาหารเพียงพอตอความตองการ แหลงอาหารมีเสถียรภาพ และประชาชนสามารถเขาถึงแหลงอาหารนั้นไดอยางเทาเทียมกัน และโครงการพัฒนาสหประชาชาติ (United Nations Development Program) หรือ UNDP ไดใหคําจํากัดความของ คําวา “ความมั่นคงดานอาหาร” หมายถึง ประชาชนสามารถหาอาหารมาเลี้ยงชีวิตไดอยางเพียงพอ

รายงานของ Food and Agriculture [FAO] (1989) กลาววาแหลงอาหารที่พอเพียงของมนุษย ก็คือ ปาไม ดังนั้นการลดลงของปาไมจะสงผลตอความมั่นคงทางดานอาหาร ทั้งนี้เพราะปาไมมีประโยชนทั้งทางดานอาหาร รายได และเปนพื้นที่อนุรักษตนน้ําที่มีความสําคัญตอประชากรโลกและยังชวยสรางความมั่นคงดานอาหารไดอยางยั่งยืน และHoskins (1990) ไดสนับสนุนเพิ่มเติมวามีความสําคัญอยางยิ่งที่จะตองกําหนดปาไมใหเปนพื้นที่สรางความมั่นคงทางดานอาหาร ทั้งนี้เพราะปาไมสามารถสรางอาหารไดเปนจํานวนมากในพื้นที่ในแถบเอเชีย บทบาทของตนไมและปาไมมีความสําคัญในการผลิตอาหาร ที่เปนไปตามฤดูกาล และมีความหลากหลายของอาหารมากกวาผลผลิตทางการเกษตร นอกจากนี้ วนิดา (2539) กลาวไววา ของปามีบทบาทสําคัญในการพัฒนาประเทศ เนื่องจากมีสวนเกี่ยวของกับการครองชีพของประชาชนในชนบทและประชาชนที่อาศัยอยูในปา และตอเศรษฐกิจของประเทศ บทบาทที่สําคัญของของปาบทบาทหนึ่งก็คือ เพื่อใชเปนอาหารพื้นบาน และการใชสอยในครัวเรือนในชีวิตประจําวันของประชาชน

ดังนั้นการจัดการทรัพยากรปาไมเพื่อใหเกิดความมั่นคงทางดานอาหาร นอกจากจะมีชนิดพืชอาหารที่หลากหลายแลว จะตองสามารถเก็บหาพืชอาหารแตละชนิดมาใชประโยชนตามฤดูกาลไดอยางตอเนื่องหมุนเวียนกันตลอดทั้งป โดยมีการพึ่งพิงอาหารจากภายนอกใหนอยที่สุดเพื่อเปนการลดคาใชจายในครัวเรือน นอกจากนี้ตองเปนพืชที่มีปริมาณสารอาหารที่สําคัญเพียงพอตอความตองการของรางกาย ซ่ึงโดยทั่วไปแลวพืชอาหารปามีสารอาหารที่สําคัญไมแตกตางจากพืชที่มีการปลูกขายตามตลาดทั่วไป ดังจะเห็นไดจาก ผักกูดที่เก็บจากริมหวย อุดมไปดวยสารโปรตีน ยอดตําลึง ใบชะพลู ใบยานาง ใบยอ โหระพา ยอดมะระ มีวิตามินเอมาก ดอกงิ้วแดง ใบชะพลู ใบยอ สะเดา ผักแพรวหรือผักไผ มีแคลเซียมสูง ยอดกระถิน ยอดแค ยอดมะมวง ยอดมะขาม มีวิตามินซีสูง (สถาบันการแพทยแผนไทย, 2540ข) เปนตน

Page 17: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

11

นอกจากนี้ พืชผักพื้นบานหลายชนิดถูกนํามาเปนสารปรุงแตงรสชาติอาหารไดอีกดวย ตัวอยางเชน เครื่องปรุงที่ให รสเปรี้ยว เชน มะสัง มะอึก ยอดมะขาม ยอดสมปอย บอนสม ใหรสเผ็ดรอน เชน โหระพา ดีปลี ผักแพวหรือผักไผ รสหวาน เชน มะเขือเทศลูกเล็กๆ ของทางเหนือ ใบยานาง รสขม เชน สะเลโด (กะเหรี่ยง) เพี้ยฟาน (เหนือ) ใหกล่ินหอม เชน ผักไผ โหระพา ใบขิง ชวยดับกลิ่นคาว เชน ตะไคร ขา ขมิ้น ใบและผิวมะกรูด เปนตน และคุณคาที่สําคัญอีกประการหนึ่งของพืชผักพื้นบาน คือการมี เสนใยอาหารหรือที่เรียกวา Fiber ซ่ึงเสนใยอาหารนี้เปนโครงสรางของผัก มีมากที่เปลือก ใบ และกาน รางกายเราไมสามารถยอยได เมื่อรับประทานเขาไปแลวจึงเหลือเปนกากชวยกระตุนใหลําไสใหญบีบตัวขับถายของเสียออกมา จึงทําใหชวยปองกันการทองผูกได นอกจากนี้ ใยอาหารยังมีคุณสมบัติในการจับคอเลสเตอรอลไว แลวขับถายออกมาพรอมกัน จึงทําใหลดระดับคอเลสเตอรอลในเสนเลือดไดดวยและการที่ใยอาหารทําใหอาหารผานจากปากถึงทวารหนักในอัตราที่เร็วขึ้นจึงทําใหเวลาในการที่เยื่อบุลําไสเล็กจะสัมผัสกับสารพิษ และสารที่กอใหเกิดมะเร็งที่มีอยูในอาหารลดลง รางกายจึงไดรับสารพิษนอยลงไปดวย พืชผักที่มีใยอาหารสูงมากเรียงตามลําดับ ไดแก ผักไผ ยอดสะเดา ยอดมะกอก ยอดผักเหรียง ขนุนออน ยอดขี้เหล็ก เปนตน

พฤติกรรมการตั้งถิ่นฐานของชาวขม ุ

ลักษณะของเชื้อชาติขมุอยูในกลุมที่พูดภาษาในตระกูลออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic) สาขามอญ-เขมร ซ่ึงเชื่อวาเปนกลุมชนที่เกาแกที่สุดในดินแดนสุวรรณภูมิ (สุวิไล, 2533) คําวา “ขมุ” อานวา “ขะ-มุ” เปนชื่อของเผาและภาษา แปลวา “คน” เปนชื่อที่ชาวขมุไมใชพูดกับคนภายนอก ในประเทศลาวมีคําที่ใชเรียกชาวขมุอยู 2 คํา คือคําวา “ขา” เปนคําที่ชาวลาวทั่วไปใชเรียกขมุ หมายถึง ขาหรือทาสผูรับใช แตเปนคําที่ชาวขมุไมยอมรับ พวกเขายอมรับอีกชื่อหนึ่ง คือคําวา “ลาวเทิง” ซ่ึงหมายถึง ลาวบนที่สูง เปนชื่อที่ทางรัฐบาลลาวใชเรียกชนกลุมนอยเช้ือสายมอญ-เขมร ดังนั้นเมื่อชาวขมุในลาวพูดจากับคนภายนอกวัฒนธรรมจึงเรียกตนเองวา “ลาวเทิง” และพูดภาษาลาวเทิง

ขมุ เปนชาว เขา เผ าหนึ่ งซึ่ งสวนใหญมี ถ่ินที่ อยูทางภาคเหนือของประเทศไทย นักภาษาศาสตรจําแนกภาษาของชาวขมุอยูในตระกูลภาษา มอญ-เขมร ซ่ึงอยูในตระกูลออสโตรีเอเชียติก ชาวขมุเรียกตัวเองวา “ขมุ” อานวา ขะ-มุ (เสียงวรรณยุกตตรี) แตคนตางเผากับชาวขมุมักจะเรียกชาวขมุวา “ขมุ” นี้มีความหมายในภาษาไทยวา”คน” ขมุในประเทศไทย นิพัทธเวช (2535) ไดแบงออกเปน 2 กลุมยอย คือ

1. ขมุมกพลาง หรือขมุฮอก 2. ขมุล้ือ

Page 18: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

12

โดยแยกตามความแตกตางทางภาษาทองถ่ินและลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม กลาวคือ ชาวขมุล้ือ เปนกลุมที่ไดรับอิทธิพลจากโลกภายนอกมากกวา ภาษาพูดมีภาษาไทยเหนือปะปนอยูมาก การยึดถือจารีตประเพณีและความเชื่อดั้งเดิมก็คอนขางจะเปลี่ยนแปลงไปมากกวาขมุมกพลาง หรือขมุฮก

เชื่อกันวา ขมุเปนชนพื้นเมืองดั้งเดิมของเอเชียอาคเนย ในปจจุบันขมุกระจายตัวอยูทางประเทศลาวตอนเหนือโดยเฉพาะอยางยิ่งในแขวงหลวงพระบาง สําหรับประเทศไทยนั้น ขมุมีอยูอยางหนาแนนในจังหวัดนาน นอกจากนั้นมีอยูในจังหวัดเชียงราย ลําปาง เชียงใหม สุโขทัยและอุทัยธานี

ลักษณะการตั้งบานเรือน

ลักษณะบานขมุ เปนบานยกพื้นและพื้นบานมี 2 ระดับ บานสวนใหญจะมีหองนอนเดียว ขมุมักจะมีครอบครัวเปนครอบครัวเดียว จึงมิไดมีโครงสรางบานที่สามารถจะแบงออกเปนหองเล็กๆ ไดมากนัก ชาวขมุจะนิยมตั้งหมูบานในระดับความสูงที่ต่ํากวา 900 เมตร จากระดับน้ําทะเล บนพื้นที่ราบระหวางหุบเขา ทางเขาหมูบานตองหันไปทางทิศตะวันออก ซ่ึงเชื่อวาจะทําใหคนในหมูบานอยูเย็นเปนสุข และที่สําคัญอีกประการหนึ่งคือ ตองเลือกตั้งหมูบานใกลแหลงน้ําที่มีน้ําไหลอุดมสมบูรณตลอดป (นิพัทธเวช, 2535)

ชาวขมุจะใชระบบเครือญาติควบคูกับถ่ินที่อยูในการกําหนดความเปนสมาชิกของสังคมสวนใหญจํากัดอยูในระดับหมูบาน เนื่องจากชุมชนขมุในแตละหมูบาน มักแยกเปนอิสระตอกันการติดตอสัมพันธกันระหวางชุมชนสวนใหญ มีเฉพาะกับชุมชนที่อยูใกลกันมากกวา ดังนั้นความรูสึกในความเปนพวกเดียวกันมักพิจารณาถึงพื้นที่ที่อาศัยเปนเกณฑหลัก และอาศัยความสัมพันธทางเครือญาติเปนองคประกอบ (นิพัทธเวช, 2535)

วัฒนธรรมการดําเนินชีวิต

อาชีพของชาวขมุคือ ทําการเกษตร และเปนการเกษตรแบบยังชีพเทานั้น เนื่องจากการปลูกพืชสวนใหญนั้นเพื่อการบริโภค เชน ปลูกขาว เผือก มัน และพืชจําพวกเครื่องเทศปรุงรสตางๆ เชน พริก ตะไคร ขา สะระแหน หอม กระเทียม เปนตน สวนพืชไรและไมผลมีเล็กนอย ไดแก ขาวโพด ถ่ัว กลวย ขนุน มะขาม มะมวง เปนตน ซ่ึงมักปลูกไวบริโภคเทานั้น ถายังมีเหลือก็นํามาแบงปนใหกับญาติพี่นอง ชาวขมุสวนนอยที่มีการปลูกพืชเศรษฐกิจ เชน ขาวโพด และฝาย จําหนาย อยางไรก็ตามการประกอบการเกษตรของชาวขมุ จะเนนในเรื่องการปลูกขาวเพื่อบริโภคเปนสําคัญ แตผลผลิตขาวที่ไดในแตละครัวเรือนมักไมเพียงพอตอการบริโภคตลอดป และมีแนวโนมที่ลดลงอยางเดนชัด บางครอบครัวเก็บเกี่ยวผลผลิตขาวไดนอยกวาจํานวนเมล็ดพันธุขาวที่ปลูกไปก็มี

Page 19: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

13

ปจจัยที่ทําใหการเกษตรของชาวขมุเปนเพียงการเกษตรแบบยังชีพ และไมสามารถพัฒนาไปสูการเกษตรแบบตลาดได มีดังตอไปนี้

1. ปจจัยทางดานนิเวศวิทยากายภาพ ชาวขมุมีการกอตั้งหมูบานสวนใหญมักตั้งแบบถาวร ดังนั้นลักษณะของพื้นที่ประกอบการเกษตรก็เปนพื้นที่ที่ถูกใชมาเปนเวลานาน ทําใหความอุดมสมบูรณ คุณภาพของดินลดลงจึงเปนสาเหตุที่ทําใหผลผลิตตกต่ํา

2. ปจจัยดานประยุกตวิทยาทางการเกษตร ชาวขมุทําการเกษตรแบบไรหมุนเวียน กลาวคือเปนการเกษตรแบบตัด โคน ฟน เผา แลวทําการเกษตรอยูช่ัวระยะเวลาหนึ่ง จนกระทั่งผลผลิตเริ่มลดลง ไมคุมกับการลงทุน ก็จะปลอยใหพื้นที่มีการพักตัวอยูระยะหนึ่ง จนมีความอุดมสมบูรณอีกครั้งจึงจะหวนกลับมาใหพื้นที่นี้อีก อยางไรก็ตามการใชเฉพาะพื้นที่เดิม แมจะทําหมุนเวียนกันไป ก็ไมอาจรักษาความอุดมสมบูรณของดินไวไดเชนเดิม นอกจากนี้ขีดความสามารถที่จะใชประโยชนสูงสุดจากที่ดินก็จะลดลงดวย

3. ปจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม ชาวขมุนิยมแตงงานแบบสามี -ภรรยาเดียว (monogamy) จึงทําใหขนาดครัวเรือนเล็ก มีสมาชิกนอย ซ่ึงมีสวนสัมพันธกับผลประโยชนในทางเศรษฐกิจดวยเพราะมีกําลังแรงงานนอย ไมสามารถแบงแรงงานไป ชวยประกอบการเกษตรอยางอื่นได นอกจากการปลูกขาว สวนสังคมของชาวขมุนั้นจํากัดอยูแตในระดับหมูบาน มีการติดตอสัมพันธกันระหวางชุมชนที่อยูใกลเทานั้น

ประเพณีสําคัญ ชาวขมุเชื่อในเรื่องผีและอํานาจเหนือธรรมชาติ ที่มนุษยไมสามารถควบคุมได อาจใหทั้งคุณและโทษ มนุษยตองปฏิบัติตอผีในลักษณะที่ยอมรับความเหนือกวาและดวยความเคารพบูชา ดังนั้นชาวขมุจึงมีพิธีกรรมเซนไหวผีเพื่อปองกันมิใหผีใหโทษแกมนุษยและบันดาลความเจริญงอกงามใหเกิดแกมนุษย ผีที่สําคัญในความเชื่อของชาวขมุ (นิพัทธเวช, 2535) ไดแก 1. พิธีเซนไหวผีหลวง จัดขึ้นปละครั้งหลังการเก็บเกี่ยวขาวแลว ผีหลวง (โฮรยน่ํา) เปนผีที่มีอํานาจมากกวาผีทั้งปวง สามารถใหคุณหรือโทษกับมนุษยได ถามนุษยกระทําการลบลูจะทําใหเกิดความหายนะและความเจ็บปวด แตถามนุษยทําการสักการะบูชาก็จะบันดาลใหเกิดความสงบสุขและความเจริญกาวหนา ผีหลวงจึงเปนผีที่ชาวขมุเคารพนับถือมากที่สุด 2. พิธีเซนไหวผีหมูบาน จัดขึ้นเวลาประกอบพิธีกรรมตางๆ ผีประจําหมูบาน (โฮรยกุง) เปนผีที่คอยปกปองคุมครองดูแลผูคนในหมูบาน ปดเปาโรคภัยไขเจ็บ และขับไลผีปาตางๆ ใหออกไปจากหมูบาน จะทําใหคุณแกมนุษยมากกวาโทษ 3. พิธีเซนไหวผีประจําตระกูลหรือผีบรรพบุรุษในบานจัดขึ้นในชวงเทศกาลสงกรานต

Page 20: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

14

ผีบาน (โฮรยกาง) เปนผีที่ใหคุณแกมนุษยมากที่สุด และใหโทษนอยที่สุด สวนใหญจะทําหนาที่ปกปองคุมครองผูที่อาศัยในบาน และมีอยูในบานทุกหลัง ผีบานจะแทรกตัวอยูในทุกสวนของบานจึงไมตองมีหิ้งเปนที่สิงสถิตย 4. พิธีสงเคราะห จัดขึ้นในวันสงกรานต เพื่อขับไลส่ิงชั่วรายใหออกมาจากหมูบาน 5. พิธีเซนไหวผีไร จัดขึ้นปละสี่คร้ัง คือ กอนถางปา กอนปลูกขาว ขณะขาวเริ่มออกรวง และเมื่อขาวแกพรอมที่จะเก็บเกี่ยว

ขมุมีความเชื่อเรื่องขวัญวา คนเรามีขวัญเกาขวัญ คนที่เจ็บเพาะขวัญตนเอง การเรียกขวัญใหกลับคืนตองเชิญหมอขวัญมาทําพิธีเรียกขวัญ

Page 21: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

15

วิธีการ อุปกรณ 1. แบบสอบถามแบบปลายปด สําหรับเก็บขอมูลพื้นฐานของชุมชน 2. แบบบันทึกขอมูล สําหรับเก็บขอมูลพืชอาหารปาและการพึ่งพิงทรัพยากรปาไม 3. เครื่องมือถายภาพ (กลองถายรูป) 4. คูมือการสํารวจพรรณไม 5. ชุดคอมพิวเตอร 6. เอกสารวิชาการที่เกี่ยวของ วิธีการ

1 การเลือกประชากรตัวอยาง ประชากรที่ใชในการสํารวจครั้งนี้เปนชาวขมุบานบนเขาแกงเรียง หมูที่ 3 ตําบลทา

กระดาน อําเภอศรสีวัสดิ์ จงหวดักาญจนบุรี ที่อาศัยอยูในพืน้ที่อุทยานแหงชาติเอราวัณ อําเภอศรีสวัสดิ์ จังหวดักาญจนบุรี ทําการสํารวจประชากรตัวอยางจากจํานวนครวัเรือนของราษฎรบานบนเขาแกงเรียงที่เปนชาวขมุ จํานวน 147 หมูบาน เพื่อทาํการเก็บขอมลูรวบรวมขอมูล ที่เกี่ยวของกับการเก็บพชือาหารปา ใชสูตรตามYamane (1970) ที่กําหนดคาความคลาดเคลื่อนของการสุม จะไดขนาดตัวอยางที่เหมาะสม ดังนี ้

n = N 1+ N (e)2

โดย n = จํานวนประชากรตัวอยาง N = จํานวนครัวเรือนกลุมเปาหมาย e = คาความคลาดเคลื่อนของการสุมตวัอยาง โดยในการศึกษาครั้งนี้กําหนดใหเทากับ 0.05 แทนคา n = 147 1+ 147(0.05)2 = 107.50 ดังนั้นขนาดตวัอยางที่เหมาะสมที่ใชในการวิจัยคร้ังนีจ้ึงเทากับ 108 ตัวอยาง

3. เก็บรวบรวมขอมูล

3.1 ขอมูลเกี่ยวกับชุมชนที่ศกึษา ไดจากการสํารวจชุมชนโดยอาศัยเทคนิคการสํารวจชนบทแบบมสีวนรวม (PRA) รวมกับการใชเครื่องมือตางๆ เชนใชแบบบันทึกขอมูล การสัมภาษณกึ่งเปนทางการ ภาพถาย

Page 22: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

16

3.2 ขอมูลพฤกษศาสตรพื้นบาน ปริมาณและชวงเวลาการใชประโยชนพืชอาหารปา และวิธีการเกบ็หาพืชอาหารปาของชุมชนไดจากการสาํรวจชุมชนแบบมีสวนรวม โดยใชเครื่องมือในการเก็บขอมูล เชน การทําปฏิทินการเก็บหาพชือาหารปา ภาพถาย ฯลฯ และ การเดนิสํารวจปา

3.3 ขอมูลทางเภสัชโภชนาไดจากการตรวจสอบขอมูลทุติยภมูิ เพื่อนํามาเปรียบเทียบเทียบกับขอมลูปฐมภูมิที่ไดจากการเกบ็รวบรวมโดยตรงจากพื้นที่ศกึษา

4. การวิเคราะหขอมูล

การวิเคราะหขอมูลเพื่อตอบวตัถุประสงคของการศึกษาใชวิธีการเชิงพรรณา และสถิติที่เกี่ยวของ

Page 23: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

17

สถานที่และระยะเวลา

สถานที่ทําการวิจัย

อุทยานแหงชาติ เอราวัณ ตั้งอยูในทองที่ อําเภอไทรโยค อําเภอศรีสวัสดิ์ และ อําเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี มีพื้นที่ประมาณ 550 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 343,750 ไร ตั้งอยูระหวางเสนรุงที่ 14 องศา 12 ลิปดา ถึง 14 องศา 28 ลิปดาเหนือ และเสนแวงที่ 98 องศา 55 ลิปดา ถึง 99 องศา 65 ลิปดาตะวันออก ระยะทางรอบแนวเขตอุทยานประมาณ 141.5 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดกับพื้นที่ใกลเคียง คือ ทิศเหนือ ติดตอกับอุทยานแหงชาติเขื่อนศรีนครินทร ทิศตะวันออก ติดตอกับเขตรักษาพันธุสัตวปาสลักพระ ทิศตะวันตก ติดตอกับอุทยานแหงชาติไทรโยค ทางหลวงหมายเลข 323 (กาญจนบุรี - ทองผาภูมิ) และแมน้ําไทรโยคนอย ทิศใต ติดตอกับเขาบานกลาง และหวยทับศิลา ลักษณะพื้นที่ของอุทยานแหงชาติเอราวัณเปนภูเขาสูงสลับกับพื้นที่ราบระหวางเขา มีความสูงตั้งแต 180 – 996 เมตร จากระดับน้ําทะเลปานกลาง ภูเขาสวนใหญเปนเทือกเขาหินปูน มีหินปูนรองรับอยูตอนลาง มีลักษณะพิเศษที่เดนชัด เชน มีแองจม (sink hole) มีถํ้า มีลักษณะของธารน้ําใตดิน บริเวณดานทิศตะวันออกและบริเวณดานทิศตะวันตกของพื้นที่จะยกตัวสูงขึ้นเปนแนวยาว บางบริเวณมีลักษณะเปนแนวผาสูงชัน สวนบริเวณตอนกลางจะเปนแนวเขาทอดยาวในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และทิศตะวันออกเฉียงใต ประกอบดวยเทือกเขาที่สําคัญคือ ตอนเหนือมีเทือกเขาปลายดินสอ ตอนกลางเปนเทือกเขาชองปูน และตอนใตของพื้นที่มีเทือกเขาพุรางริน และเขาเกราะแกระ ซ่ึงมียอดเขาสูงสุดประมาณ 996 เมตร เหนือระดับน้ําทะเลปานกลาง ซ่ึงเทือกเขาเหลานี้เปนตนกําเนิดของเทือกเขาสําคัญหลายสาย ไดแก หวยมองไล หวยอมตะลา หวยสะเดา หวยสะแดะ หวยเขาพัง และหวยทับศิลา

ลักษณะภูมิอากาศของอุทยานแหงชาติเอราวัณมีปริมาณน้ําฝนตกไมมากนัก อุณหภูมิคอนขางสูง และมีอากาศรอนอบอาวในฤดูรอน และอากาศคอนขางหนาวเย็นในฤดูหนาว เนื่องจากพื้นที่เปนเขาสูงชันประกอบกับทางทิศตะวันตกมีเทือกเขาสูงกั้นทิศทางของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใตตลอดแนว

ระยะเวลาที่ใชในการศึกษา

การวิจัยคร้ังนี้ดําเนินการระหวางเดือนเมษายน 2547 ถึง กรกฎาคม 2548

Page 24: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

18

ประโยชนท่ีคาดวาจะไดรับ

1. ทราบขอบเขตการใชประโยชนทรัพยากรปาไม 2. ทราบขอมูลความหลากหลายทางชีวภาพของพืชอาหารปาที่บริโภค ระยะเวลาการพึ่งพิง

ทรัพยากรปาไม และคุณคาของพืชอาหารปาที่มีตอราษฎรในพื้นที่ศึกษา 3. ไดขอมูลพืชอาหารปา การใชประโยชนและการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของพืช

อาหารปาของชาวขมุ 4. ไดแนวทางการจัดการพืชอาหารปาที่ยั่งยืน

Page 25: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

19

ผลและวิจารณผล

สภาพทั่วไปของพื้นท่ีศึกษา

การวิจัยคร้ังนี้ทําการศึกษาประชากรที่เปนชาวขมุที่อาศัยอยูหมูบานบนเขาแกงเรียง ซ่ึงเปนหมูบานที่ตั้งอยูในเขตอุทยานแหงชาติเอราวัณ ที่มีการใชทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะพืชอาหารปา ซ่ึงมีรายละเอียดเกี่ยวกับสถานภาพของหมูบานพอสรุปไดดังนี้

หมูบานบนเขาแกงเรียง ตั้งอยูในทองที่ หมูที่ 3 ตําบลทากระดาน อําเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี บริเวณพิกัด (X) ที่ 508948 และที่พิกัด (Y) ที่ 1592212 ประกอบดวยกลุมบานยอยตางๆ ซ่ึงเปนหมูบานที่อยูในเขตพื้นที่อุทยานแหงชาติเอราวัณ โดยมีอาณาเขตติดตอ ดังนี้ คือ ทิศเหนือ ติดกับ อางเก็บน้ําเขื่อนศรีนครินทรและหมูบานปลายดินสอ หมูที่ 5 ตําบลแมกระบุง อําเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ทิศใต ติดกับ อุทยานแหงชาติเอราวัณ ทิศตะวันออก ติดกับ อางเก็บน้ําเขื่อนศรีนครินทร ทิศตะวันตก ติดกับ อุทยานแหงชาติเอราวัณ

กอนป พ.ศ. 2457 ประชากรของหมูบานบนเขาแกงเรียง จะอยูกระจัดกระจายกันเปนลักษณะของกลุมบานไมสะดวกตอการปกครอง โดยประกอบดวย 4 กลุมบาน ไดแก หมูบานหนองหอย หมูบานปอกสะโละ หมูบานน้ําสุด และหมูบานบนเขาแกงเรียง ตอมาในป พ.ศ. 2482 ทางราชการไดมีแนวคิดที่จะใหชาวบานในกลุมบานตางๆ ไดเขามาอยูรวมกัน เพื่อความสะดวกในการดูแลของทางราชการ จึงใหชาวบานทั้ง 4 กลุม มารวมกัน และไดพิจารณาใหบานบนเขาแกงเรียง เปนศูนยกลางการปกครอง

บานเรือนในหมูบานมีลักษณะที่ แตกตางกัน อันเนื่องมาจากความหลากหลายของชาติพันธุ โดยแบงลักษณะเดนได 2 ลักษณะ คือ บานที่เปนแบบถาวรและแบบกึ่งถาวรโดยจะสรางดวยไมทั้งหลัง ทั้งไมแปรรูปและไมไผ โดยจะใชไมไผทําเปนฝาบาน ในสวนของหลังคาจะเปนวัสดุถาวร ไดแก สังกะสีและกระเบื้อง บานสวนใหญจะเปนบาน 2 ช้ัน หรือจะยกพื้นสูง 1-2 เมตร ยกเวนในสวนของรานคา และราษฎรที่ยายเขามาใหมจะเปนบานชั้นเดียว การตั้งบานเรือนจะอยูเปนกลุมบาน ระยะระหวางกลุมบานจะมีพื้นที่ปาขั้นอยู

การศึกษาในหมูบานมีโรงเรียนจํานวน 1 แหง ไดแก โรงเรียนบานบนเขาแกงเรียง สอนระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปที่ 3 เมื่อจบเด็กบางสวนจะประกอบอาชีพเกษตรกรรมในหมูบาน ภายในหมูบานมีสถานีอนามัยและมีอาสาสมัครสาธารณสุขที่ชวยดูแลสุขภาพของราษฎรในหมูบาน ในอดีตราษฎรจะปวยเปนไขมาลาเลีย แตปจจุบันมีการปองกันเปนอยางดี จึงทําใหการระบาดลดลงจนไมมี ใน

Page 26: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

20

หมูบานมีแหลงทองเที่ยว ไดแก ถํ้าพระธาตุ ที่ไดรับความนิยมจากนักทองเที่ยวพอสมควร เปนการสรางอาชีพเสริมของราษฎรในพื้นที่ ในการนําทางนักทองเที่ยว และคาขายอาหารและของที่ระลึก ซ่ึงราษฎรสวนใหญจะทําเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว

ความเปนอยูของราษฎรสวนใหญประกอบอาชีพเกษตรกรรม การทํานาจะเปนลักษณะของการลงแรง ความเปนอยูลักษณะพี่นอง เนื่องจากราษฎรของบานบนเขาแกงเรียงสวนใหญเปนชาวขมุ ทําใหมีวัฒนธรรมประเพณีบางอยางที่แตกตางจากหมูบานอื่นที่มีคนไทยภาคกลางอาศัยอยูเปนสวนใหญ เชน พิธีบากหัวเขา เปนพิธีแสดงความขอบคุณกับผูที่มาชวยเหลือดูแลพาไปรักษาจนหายโดยเฉพาะในขณะที่ไมคอยสบาย และพิธีหยอดขาว (แรกนา) เปนการกระทําเมื่อจะทําการหวานขาวครั้งแรก นําไมไผมาผาซีกปกลงดินจับทั้ง 8 ซีก โคงปกลงดิน และมีไมไผยาวระดับอกปกตรงกลาง เปนตน

ขอบเขตการเก็บหาพืชอาหารปา

จากการสํารวจการเก็บหาพืชอาหารปาเพื่อการบริโภคในครอบครัวของชาวขมุพบวาการเก็บหาพืชอาหารปาจะทําบริเวณรอบหมูบานกอนแลวคอยเดินทางไปตามเสนทางเดินปาซึ่งเปนเสนทางที่มีการใชอยูเปนประจํา การเก็บหาของปาตามเสนทางในแตละวันมีระยะทางประมาณ 1-2 กิโลเมตร ตามชนิดและปริมาณของพืชอาหารที่หาไดรวมถึงความสามารถในการเดินทางของผูที่เขาไปใชประโยชน โดยจะมีบางรายที่มีการเก็บหาของปานอกเสนทางที่ใชประจํา ซ่ึงอาจมีระยะทางมากกวา 2 กิโลเมตร เนื่องจากความตองการพืชไมมีในเสนทางหรือมีไมเพียงพอตอการนําไปใชประโยชน โดยเฉพาะเห็ดโคนและผักหวาน ทั้งนี้เนื่องจากพืชอาหารปาทั้ง 2 ชนิด เปนพืชที่สามารถสรางรายไดใหกับแตละครัวเรือนเปนจํานวนมาก อยางไรก็ตามพบวาขอบเขตการเก็บหาพืชอาหารปาของหมูบานเปาหมายถูกจํากัดโดยปริมาณของพืชอาหารปาการกําหนดพื้นที่ใชสอยของหมูบาน และความสามารถในการเขาไปเก็บหา

ความหลากหลายทางชีวภาพและลักษณะทางพฤกษศาสตรพืชอาหารปา

การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพพืชอาหารปาชาวขมุในพื้นที่หมูบานบนเขาแกงเรียง อําเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี พบวามีชนิดพืชอาหารปาที่ชาวขมุใชเพื่อการบริโภคจํานวน 37 ชนิด แยกเปนพืชกินใบ 19 ชนิด กินดอก 6 ชนิด กินผล 8 ชนิด และอื่นๆ เชน หัว ลําตน หนอ 9 ชนิด จากตารางที่ 1 พบวาจํานวนชนิดพืชอาหารปาที่ใชเพื่อการบริโภคที่ชาวขมุ หมูบานบนเขาแกงเรียงใชในการบริโภคนั้น ไมแตกตางจากชาวขมุจากบริเวณอื่นมากนัก โดยชาวขมุบานน้ําหลุ ตําบลชนแดน กิ่งอําเภอสองแคว จังหวัดนาน และชาวขมุบานสามสกุล อําเภอเวียงปาเปา จังหวัดเชียงราย มีการบริโภคพืชอาหารเทากับ 45 และ 36 ชนิด แตเมื่อพิจารณาถึงการใชประโยชนพืชอาหารปาของชาวกระเหรี่ยงบานยางปูโตะและบานบางทุงโปง อําเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม พบวามีการใชประโยชนพืชอาหารปาจํานวน

Page 27: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

21

มากถึง 106 ชนิด ชาวมง ตําบลเข็กนอย อําเภอเขาคอ จังหวัดเพชรบูรณ มีการบริโภคพืชอาหารเทากับ 41 ชนิด ชาวลัวะ หมูบานเตยกลาง ตําบลภูคาอําเภอบึง จังหวัดนาน มีการบริโภคพืชอาหารเทากับ 35 ชนิด สําหรับชาวถิ่น หมูบานแจลง ตําบลภูคา อําเภอปว จังหวัดนาน และชาวมงขวา หมูบานชางเถ่ียน จังหวัดเชียงใหม มีการบริโภคพืชอาหารเทากันคือ 22 ชนิด จากสภาพพื้นที่ของบริเวณที่ทําการศึกษาเปนหมูบานที่มีพื้นที่ในการทําการเกษตรมาก และเปนพื้นที่ที่ไมหางจากชุมชนมากนักทําใหมีการเดินทางเพื่อซ้ือสินคาจากพื้นที่อ่ืนๆ ไดสะดวก อีกทั้งเสนทางคมนาคมที่สะดวกทําใหมีการนําอาหารมาจากพื้นที่อ่ืนมากกวาบริเวณอื่น แตอยางไรก็ตามยังคงมีหลายครัวเรือนที่มีการพึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะพืชอาหารปาอยางตอเนื่อง เนื่องจากพืชอาหารปาเปนอาหารที่ไมตองมีคาใชจาย และยังคงคุณคาทางอาหาร โดยเฉพาะดานเภสัชโภชนา

Page 28: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

22

ตารางที่ 1 การใชประโยชนจากพืชอาหารของชาวขมุ อําเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เปรียบเทียบกับ ชาวขมุและเผาอื่นในทองที่ตางๆ

เผา สถานที่ พืชอาหาร (ชนิด) ท่ีมา

ขมุ กระเหรี่ยง ขมุ ลัวะ ถิ่น ขมุ

มงขวา

หมูบานบนเขาแกงเรียง หมู 3 ต.ทากระดาน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี บานยางปูโตะ และบานบางทุงโปง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม หมู บ านน้ํ าหลุ ม . 7 ต .ชนแดน กิ่งอําเภอสองแคว จ.นาน หมูบานเตยกลาง อ.บึง จ.นาน หมูบานแจลง อ.ปว จ.นาน หมูบานสามสกุล อ. เวียงปาเปา จ.เชียงราย หมูบานชางเถี่ยน จ.เชียงใหม

37

106

45

35 22 36

22

จากการสํารวจ วิทยา (2546) ทิพยสุดา (2541) ทิพยสุดา (2541) ทิพยสุดา (2541) พรอนันต (2540) อางตามวิทยา (2546) รัชดา (2535)

มง

ต.เข็กนอย อ. เขาคอ จ.เพชรบูรณ

41

ชลธิชา (2547)

Page 29: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

23

ชาวขมุที่บานบนเขาแกงเรียง อําเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี มีการเก็บหาพืชอาหารจากปาทั้งบนที่สูงที่เปนปาเบญจพรรณ บริเวณที่ช้ืนริมหวย หรือบริเวณตีนเขาบริเวณที่ทําไร ทั้งนี้ลักษณะทางพฤกษศาสตรของพืชอาหารปาแตละชนิดมีความแตกตางกันไปดังนี้ คือ

กระเจียวแดง

ชื่ออ่ืน วานมหาเมฆ ยะจาวี

ชื่อวิทยาศาสตร Curcuma aeruginosa Roxb.

Family ZINGIBERACEAE

สภาพแวดลอมท่ีพบ ตามปาเบญจพรรณรอบๆ หมูบาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร

ตน เปนพืชวงศเดียวกับขิง – ขา มีหัวหรือเหงาอยูใตดิน สูง 30-40 เซนติเมตร หัวมีกล่ิน คลายขิง - ขา ใบ ใบรูปหอก ใบจะโผลขึ้นมาในชวงฤดูฝนหลังจากที่ดอกเริ่มเหี่ยวเฉา และใบจะเริ่มเหี่ยวเฉา

ชวงตนฤดูหนาว ดอก จะออกดอกระหวางเดือนเมษายน – พฤษภาคม ออกเปนชอจากใจกลางตน ชอดอกสูง

12 – 18 เซนติเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยูกับอายุของตน ถาอายุมากเหงาจะมีขนาดใหญ ชอดอกก็จะใหญตามไปดวย ดอกมีใบประดับรูปกรวยเรียงซอนกัน ปลายชอดอกมีสีชมพูถึงแดงเขม โคนชอดอกมีสีเขียวออนถึงเขียว อีกทั้งยังมีดอกเปนหลอดรูปกรวยขนาดเล็กสีเหลืองบริเวณใบประดับโคนชอดอก

ผล/เมล็ด -

Page 30: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

24

กระโดน

ชื่ออ่ืน กะนอน (เขมร) ขุย (กระเหรี่ยง กาญจนบุรี) ปุย (เหนือ) ปุยกระโดน (ใต) ปุยขาว

ผาฮาด (เหนือ) หูกวาง (จันทบุรี) พุย (ละวา เชียงใหม)

ชื่อวิทยาศาสตร Careya sphaerica Roxb.

Family LECYTHIDACEAE

สภาพแวดลอมท่ีพบ ขึ้นตามปาเบญจพรรณรอบหมูบาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร ตน เปนไมตนขนาดกลาง สูง 10 – 30 เมตร โดยมากลําตนมักเตี้ย มีกิ่งกานสาขามาก เรือน

ยอดเปนพุมกลมแนนทึบ เปลือกตนเปนสีเทา หนาและแตกลอนเปนแผนๆ

ใบ เปนใบเดี่ยวรูปไข ออกเรียงเวียนกันตามปลายกิ่ง ขนาดใบ 12-15 เซนติ เมตร ยาวประมาณ 25-30 เซนติเมตร ขอบใบจะหยิก กานใบยาวราว 2-3 เซนติเมตร

ดอก ดอกออกเดี่ยวหรือเปนชอๆ ละ 2-3 ดอก กลีบดอกและกลีบรองดอกอยางละ 4 กลีบ ดอกมีสีขาวหรือสีขาวนวล รวงงาย กลีบดอกยาวประมาณ 1.5 นิ้ว โคนกลีบดอกเชื่อมกันเปนรูประฆัง เกสรตัวผูยาวและเปนเสนฝอยสีแดงจํานวนมาก

ผล/เมล็ด ผลกลมกวาง 5 เซนติเมตร ยาว 6 มิลลิเมตร เมล็ดจํานวนมากมีเยื่อหุม

Page 31: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

25

กระทือ

ชื่ออ่ืน กะทือปา กะแวน กะแอน แฮวดํา เปลพอ (กระเหรี่ยง แมฮองสอน) เฮียวขา (เงี้ยว

แมฮองสอน) เฮียวแดง เฮียวดํา (แมฮองสอน)

ชื่อวิทยาศาสตร Zingiber zerumbet (L.) Sm.

Family ZINGIBERACEAE

สภาพแวดลอมท่ีพบ ทั่วไปตามปาเบญจพรรณรอบหมูบาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร

ตน เปนพืชลมลุก ลักษณะคลายตนขา ลําตนเปนหัวอยูใตดินมีสีขาวอมเหลืองออน มีกล่ินฉุน สูงประมาณ 1–2 เมตร แตกแขนงเปนกอ

ใบ ใบจะออกซอนกันเปนแผง ใบเรียวยาว สีเขียวแก

ดอก ดอกออกเปนชอ โผลพนขึ้นจากหัวใตดิน ชอกานดอกยาวเปนปุม สวนปลายมีกลีบเลี้ยงสีเขียวปนแดง ซอนกันอยูแนน กลีบดอกมีสีขาวนวลแทรกอยูตามเกล็ด

ผล/เมล็ด -

Page 32: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

26

กระพี้จั่น

ชื่ออ่ืน จั่น พี้จั่น ปจั่น (เหนือ)

ชื่อวิทยาศาสตร Millettia brandisiana Kurz

Family LEGUMINOSAE - PAPILIONOIDEAE

สภาพแวดลอมท่ีพบ ปาเบญจพรรณทางดานทิศใตของหมูบาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร ตน เปนไมตนขนาดกลาง ผลัดใบ ลําตนสูงประมาณ 8 – 20 เมตร เปลือกคอนขางเรียบ

สีเทาอมน้ําตาล

ใบ เปนใบประกอบแบบขนนก ปลายใบเดี่ยวเรียงสลับ ใบประกอบยาว 10 – 20 เซนติเมตร กานใบประกอบยาว 3 – 7 เซนติเมตร โคนใบบวม มักมีสีคลํ้า ใบยอย 6 – 8 คู เรียงตรงขามใบออนมีขนประปราย ใบยอยรูปขอบขนานแกมรูปหอก กวาง 0.8 - 1.7 เซนติเมตร ยาว 2.5 – 7 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบมนหรือแหลมเบี้ยวเล็กนอย ขอบเรียบ แผนใบดานบนมีสีเขียวเขม ดานลางสีจะจางกวา

ดอก ดอกออกเปนชอที่ปลายกิ่งและดานขางของกิ่งยาว 7 - 22 เซนติเมตร แตกแขนงคอนขางโปรง เมื่อยังออนมีขนสีน้ําตาลอมเหลืองประปราย แตละชอมีดอกจํานวนมาก กลีบเลี้ยงมีสีมวงดําติดกันคลายรูประฆัง สวนบนแยกเปนกลีบรูปสามเหลี่ยม 5 กลีบ กลีบดอกมีสีมวงหรืออมชมพู

ผล/เมล็ด ผลเปนฝกแบน กวาง 2 – 3 เซนติเมตร ยาว 10–14 เซนติเมตร ตอนกลางและปลายกวางกวาสวนฐาน ปลายแหลมเปนจงอย ฝกออนมีสีเขียว เมื่อแกจะมีสีน้ําตาลอมเหลือง

Page 33: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

27

กุมน้ํา

ชื่ออ่ืน กุมบก (ชลบุรี) กุม (เลย) กุมบก (ไทยภาคกลาง) ทะงัน (เขมร) ชื่อวิทยาศาสตร Crateva adansonii DC. subsp. odorata Jacobs

Family CAPPARACEAE

สภาพแวดลอมท่ีพบ ตามริมลําหวยภายในหมูบานและรอบหมูบาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร ตน ไมตนขนาดกลาง สูง 4 – 20 เมตร เสนผาศูนยกลาง 40 เซนติเมตร แผกิ่งกานสาขา ใบ ใบเปนชอ ชอหนึ่งมี 3 ใบ รูปหอก กวาง 1.5 – 6.5 เซนติเมตร ยาว 4.5 – 23 เซนติเมตร

ปลายใบเรียวแหลมโคนใบสอบแคบ เนื้อใบคอนขางหนามันคลายแผนหนัง เสนกลางใบมีสีคอนขางแดง ผิวใบดานลางจะมีละอองสีเทา ปกคลุมอยู กานใบแข็งยาว 4 – 14 เซนติเมตร

ดอก ดอกออกเปนชอที่ปลายกิ่ง ชอดอกยาว 10 – 16 เซนติเมตร มี 20 – 100 ดอก กานดอกยาว 4 – 7 เซนติเมตร กลีบรองดอกรูปไขปลายแหลม กลีบดอกคอนขางกลม รูปรีปลายมน กลีบดอกกวาง 1.5 – 2 เซนติเมตร ยาว 1.5 – 3 เซนติเมตร เกสรตัวผูสีมวง มี 15 – 25 อัน ยอดเกสรตัวเมียสีมวงเขม กานชูรังไขยาว 3.5 – 5.5 เซนติเมตร เมื่อแรกดอกบานสีขาวแลวเปลี่ยนเปนสีเหลือง

ผล/เมล็ด ผล รูปรียาว 5 – 8 เซนติเมตร เปลือกหนา 4 – 5 เซนติเมตร มีสะเก็ดบางๆ เมื่อสุกสีเทาเมล็ดรูปเกือกมายาว 6 – 9 มิลลิเมตร หนา 2 – 3 มิลลิเมตร

Page 34: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

28

ขจร

ชื่ออ่ืน สลิด (กลาง) ขจร ผักสลิด (เหนือ) กระจอน

ชื่อวิทยาศาสตร Telosma minor Craib

Family ASCLEPIADACEAE

สภาพแวดลอมท่ีพบ ทั่วไปภายในหมูบาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร ตน ไมเถาเลื้อยพาดพันไมใหญหรือเล้ือยพันตามราน เถาขจรจะเปนสีเขียวเทา แกจะเปนสี น้ําตาลเทา ใบ รูปรางคลายหัวใจปลายแหลมยาว 6-11 เซนติเมตร กวาง 4-7.5 เซนติเมตร มีกานใบยาว

1.2-2 เซนตเิมตร ใบมีสีเขียวอมแดงเล็กนอย ดอก ดอกแข็งออกชอเปนพวงคลายอุบะ ออกดอกตามซอกหรือตามชอกิ่งเปนพวง กล่ินหอม

คลายกลิ่นดอกชํามะนาด หรือกล่ินของใบเตย กลีบดอกสีเหลืองหรือเขียวอมเหลือง ผล/เมล็ด ผลมีลักษณะกลมและยาวคลายฝกนุน ขนาดเล็ก ผลแกจะแตกออกได และมีเมล็ดในปลิว

วอนตามลมคลายนุนมีเมล็ดเกาะติดกับใยสีขาว

Page 35: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

29

ขาวเย็นเหนือ

ชื่ออ่ืน ขาวเย็นเหนือ

ชื่อวิทยาศาสตร Smilax sp.

Family SMILACACEAE

สภาพแวดลอมท่ีพบ กระจายอยูทั่วไปในปารอบหมูบาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร

ตน เรียบหรือมีหนาม มีหูทําหนาที่เปนมือเกาะ (tendril-like petiole) และมีลําตนใตดิน (rhizome หรือ root-stock)

ใบ มีเสนใบ 3-5 เสนออกจากตน ประสานเปนชวงแรก (reticulate)

ดอก สมบูรณเพศ และไมสมบูรณเพศ (อยูคนละตน, dioecious) เปนชอดอกแบบ umbel raceme หรือ spike กลีบดอกมี 6 กลีบ เรียงเปนสองวง

ผล/เมล็ด เปนแบบ berry

Page 36: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

30

คูน

ชื่ออ่ืน คูน หัวคูน (กลาง) คูน (อิสาน) ตูน (เหนือ) เอาะดิบ ออกดิบ (ใต)

ออดิบ (นครศรีธรรมราช ยะลา ใต) กระดาดขาว (กาญจนบุรี) กะเอาะขาว (ชุมพร) บอน (ประจวบคีรีขันธ)

ชื่อวิทยาศาสตร Colocasia gigantea Hook.f.

Family ARACEAE

สภาพแวดลอมท่ีพบ ที่ชุมชื้นตามริมลําหวยภายในหมูบาน และปารอบหมูบาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร

ตน คลายกับเผือกและบอน ไมลมลุกหลายป มีหัวอยูใตดิน ใบ กานใบแทงออกจากหัว กานใบยาวสีเขียว ที่ผิวของกานใบมีแปงเคลือบอยู มองดูมีสี

ขาวนวล เนื้อของกานใบอวบน้ําและมีรูอากาศแทรกอยูในเนื้อของกานใบมาก ใบเปนรูปหอกปนรี ปลายใบมน ฐานใบเวา ริมใบเรียบหรือมีคล่ืนเล็กนอย ผิวใบมันและมีสีเขียวออน ใบกวาง 16-17 นิ้ว ใบยาว 11-19 นิ้ว

ดอก -

ผล/เมล็ด -

Page 37: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

31

ชะพลู

ชื่ออ่ืน ชาพลู ชาพลู (ภาคกลาง) พลูลิงนก (เชียงใหม) พลูนก ผักปูนก (พายัพ)

นมวา (ภาคใต) ผักนางเกิด ผักอีเลิด ผักแค ผักปูลิง (ภาคอีสาน)

ชื่อวิทยาศาสตร Piper sarmentosum Roxb.

Family PIPERACEAE

สภาพแวดลอมท่ีพบ ชอบขึ้นตามที่ช้ืนแฉะและลําหวย หรือปลูกตามบริเวณบาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร

ตน ไมลมลุกเลื้อยพัน ลําตนมีขอโปงพอง ลําตนจะมีสีเขียว

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปไขแกมใบหอก โคนใบเบี้ยว กวาง 5 – 8 เซนติเมตร

ยาว 10 – 14 เซนติเมตร ผิวใบดานบนเปนมัน

ดอก ดอกชอ ออกที่ซอกใบ ดอกยอยเรียงตัวอัดกันแนนเปนรูปทรงกระบอก หอยลง สีเหลืองออน ไมมีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก

ผล/เมล็ด ผลสด รูปทรงกลม เปนผลกลุม

Page 38: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

32

ชะเอมเทศ

ชื่ออ่ืน ชะเอมเทศ หมากติดตอ เถาวัลยดวน (ภาคกลาง) เถาติดตอ (นครราชสีมา)

เถาหูดวน (สุพรรณบุรี)

ชื่อวิทยาศาสตร Glycyrrhiza glabra L.

Family LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE

สภาพแวดลอมท่ีพบ ทั่วไปภายในหมูบานและปาเบญจพรรณรอบหมูบาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร

ตน เปนไมเล้ือยพันตนไมอ่ืน สูง 1-1.7 เมตร มีเหงาใตดิน

ใบ ใบเดี่ยวออกตรงกันขามกัน ลักษณะคลายใบโพธิ์ กวางประมาณ 5 เซนติ เมตร ยาวประมาณ 6 เซนติเมตร สีเขียวเขม ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบ

ดอก -

ผล/เมล็ด ออกเปนคูขั้วและติดกัน ลักษณะเปนฝกเรียงปลายแหลม ผลหนึ่งมีหลายเมล็ด

ฝกแกแลวแตก

Page 39: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

33

ดอกดิน

ชื่ออ่ืน กะเปเส เพาะลาพอ (กระเหรี่ยง แมฮองสอน) ขาวก่ํานกยูง (เลย) นูนดิน (ตาก) วานดอก

ตางใบ (สุราษฎรธานี) วานหญาแฝก (สระบุรี) เอื้องงก (เหนือ) เอื้องดิน (กลาง) พิศวง (กรุงเทพฯ)

ชื่อวิทยาศาสตร Aeginetia pedunculata Wall.

Family OROBANCHACEAE

สภาพแวดลอมท่ีพบ บริเวณที่ชุมชื้นในปาเบญจพรรณรอบๆ หมูบาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร

ตน เปนไมลมลุก มีเหงาหัวอยูใตดิน มีกาบใบสีน้ําตาลเขมอมเขียวหุมลําตน สูงประมาณ 1-2 ฟุต ในชวงฤดูฝนจะแตกยอดขึ้นมาเหนือพื้นดิน พอถึงฤดูแลงตนจะโทรมลง

ใบ เปนใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ โคนใบและปลายใบแหลม ใบกวางประมาณ 4-7 เซนติเมตร ยาว 15-27 เซนติเมตร เสนกลางใบเปนรองลึก มีสีน้ําตาลอมมวงจนถึงปลายใบ แผนใบเรียบมีสีเขียว

ดอก ออกเปนชอ จะแทงดอกออกมาจากพื้นดินใตลําตน ดอกแนนคลายดอกกระเจียวแตไมมีกานดอก กานกลีบดอกยาวเปนทอสีขาว กลีบดอกมี 3 กลีบ ดอกจะออกมา

เหนือพื้นดินเฉพาะฤดูแลง

ผล/เมล็ด -

Page 40: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

34

ตางหลวง

ชื่ออ่ืน ตางหลวง ตางผา ตางปา (เหนือ)

ชื่อวิทยาศาสตร Trevesia palmata (Roxb. ex Lindl.) Vis.

Family ARALIACEAE

สภาพแวดลอมท่ีพบ บริเวณที่ชุมชื้นภายในหมูบานและปารอบๆ หมูบาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร

ตน เปนไมตน ลําตนสูง 3-6 เมตร

ใบ เปนใบเดี่ยว เรียงสลับหนาแนน อยูที่ปลายยอด รูปโล ขอบใบหยักเวาลึก เปนพู 5-9 พู กวางและยาว 20-30 เซนติเมตร แผนใบสีเขียวแกมน้ําตาล ผิวใบมีขนละเอียดสีน้ําตาล

ดอก ดอกชอออกที่ลําตน ใกลปลายยอดตรงงามใบดอกชอมีรูปรางกลมรี ติดกันเปนกระจุกกลม กระจุกละ 30-50 ดอก ชอหนึ่งอาจมีหลายกระจุก ดอกยอยเสนผาศูนยกลาง 0.5-0.8 เซนติเมตร กลีบดอกสีเหลืองอมขาว มีเกสรตัวผูเปนเสนยาว

ผล/เมล็ด ผลกลมรูปกรวยคว่ํา มี 3 พู รวมกันเปนกระจุกกลมเชนเดียวกับดอก ผลมีสีเขียว และมีขุยสีน้ําตาลปกคลุมอยู

Page 41: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

35

เตาราง

ชื่ออ่ืน เขื่องหมู เตาราง (ภาคเหนือ) เตาร้ังแดง (นครศรีธรรมราช) มะเด็ง (ยะลา) งือเด็ง

(นราธิวาส)

ชื่อวิทยาศาสตร Caryota mitis Lour.

Family PALMAE

สภาพแวดลอมท่ีพบ ทั่วไปภายในหมูบานและปารอบหมูบาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร

ตน เปนไมตนขนาดกลาง ลําตนตั้งตรงเปนปลองสูงชะลูดตรงขึ้นไป ไมแตกกิ่งมีกาบหุมเปนเสนประสานกันคลายตะแกรงลวดหุมไว สามารถแตกหนอบริเวณโคนตน

ใบ ใบเรียงสลับหนาแนนที่เรือนยอดยาว 2-4 เมตร ใบฝอยรูปสี่เหล่ียมขนมเปยกปูน โคนใบเขียวกวาง 3-15 เซนติเมตร ยาว 7-25 เซนติเมตร มีกาบใบหุมลําตนซอนกันแนน ผิวกาบใบดานนอกมีขนสั้นๆ สีน้ําตาลออกขาว

ดอก เปนดอกชอ คลายดอกของตนหมาก ออกดอกระหวางใบ ดอกฝอยจํานวนมาก แยกเพศ กลีบดอกสีเขียวหรือมวงแกมน้ําตาล

ผล/เมล็ด ผลสดสีเขียวแกมเหลือง แลวเปลี่ยนเปนสีสมหรือแดงเขมเมื่อสุก มีเมล็ดเดียว

Page 42: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

36

บอน

ชื่ออ่ืน บอน บอนเขียว บอนจีนดํา บอนหวาน บอนนา บอนน้ํา

ชื่อวิทยาศาสตร Colocasia esculenta (L.) Schott

Family ARACEAE

สภาพแวดลอมท่ีพบ บริเวณริมลําหวยภายในหมูบานและปาเบญจพรรณรอบหมูบาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร

ตน เปนไมลมลุก มีลําตน (เหงา) อยูใตดินมีอายุหลายป ขึ้นเปนกลุมหลายตนสูงประมาณ 70-120 เซนติเมตร

ใบ มีรูปรางคลายหัวใจ ปลายแหลมฐานใบเวาแหลม ใบกวาง 20-35 เมตร ยาว 35-40

เซนติเมตร หนาใบสีเขียวเรียบไมเปยกน้ํา หลังใบสีขาวนวล มีเสนใบชัดเจน

แตละกอมี 7-9 ใบ กานใบยาวออกจากตนใตดิน

ดอก งอกออกจากลําตนใตดินเปนชอยาว มีกาบสีเหลืองออนหรือเหลืองนวลหุมอยู ยาว 26 เซนติเมตร มีดอกเปนกระเปราะสีเขียวเปนแทงอยูตรงกลาง มีกล่ินหอม

ผล/เมล็ด -

Page 43: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

37

บัวบก

ชื่ออ่ืน ปะหนะเอขาเดาะ (กระเหรี่ยง แมฮองสอน) ผักแวน (ใต) ผักหนอก (เหนือ)

ชื่อวิทยาศาสตร Centella asiatica (L.) Urb.

Family UMBELLIFERAE

สภาพแวดลอมท่ีพบ ที่ช้ืนแฉะ มีแสงแดดทั่วไปภายในหมูบาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร

ตน เปนไมลมลุก อายุหลายป ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ใบและรากออกตามขอ ไหลที่แผไปจะ งอกใบ จากขอ 3-5 ใบ

ใบ เปนใบเดี่ยว เรียงสลับ มีกานชูใบยาว ลักษณะเปนใบรูปไต หรือรูปกลม เสนผาศูนยกลาง 2-5 เซนติเมตร มีรอยเวาลึกที่ฐานใบ ขอบใบมีรอยหยัก ผิวใบดานบนคอนขางเรียบ ดานลางมีขนสั้น ๆ

ดอก เปนดอกชอคลายรมออกจากขอมี 2-3 ชอ ชอละ 3-4 ดอก แตละดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ สีมวงอมแดงโดยเรียงสลับกับเกสรตัวผู

ผล/เมล็ด เมล็ดเล็กมากสีดํา แชน้ําไมตาย ทนน้ําขัง

Page 44: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

38

บุก

ชื่ออ่ืน บุกบาน มันชูรัน (ภาคกลาง) บุกคุงคก (ชลบุรี) หัวบุก (ปตตานี) ปกกะเดื่อ (สกลนคร)

กระบุก (บุรีรัมย) เนีย เบือ (แมฮองสอน) อีลอก (ภาคอีสาน)

ชื่อวิทยาศาสตร Amorphophallus sp1.

Family ARACEAE

สภาพแวดลอมท่ีพบ บริเวณที่มีความชุมชื้นในปาเบญจพรรณรอบๆ หมูบาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร

ตน เปนไมลมลุกเจริญในฤดูฝน และฟกตัวในตนฤดูหนาว มีหัวใตดินสีน้ําตาลจึงมีอายุอยูไดนานหลายป

ใบ เปนใบเดี่ยว แผออกไปคลายกับรม ขอบใบหยักลึกเปนแฉก แตละแฉกแยกเปน

3-4 แฉก กานใบกลมอวบน้ํา ลักษณะกลมเรียวยาวประมาณ 80-150 เซนติเมตร ลาย

สีเขียวและแดง

ดอก เปนดอกชอ แทงจากหัวใตดินลักษณะเปนแทงสีแดงและแถบสีน้ําตาล กานดอกยาว

มีใบประดับใหญสีเขียว ใบประดับรูปกรวยหุมชอดอก ขอบหยักเปนคลื่นและบานออก ดอกยอยอัดกันแนน

ผล/เมล็ด ผลสดเนื้อนุม สีแดง

Page 45: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

39

ผักกูด

ชื่ออ่ืน ผักกูดขาว (เชียงใหม) ผักกูด (กลาง)

ชื่อวิทยาศาสตร Diplazium esculentum (Retz.) Sw.

Family ATHYRIACEAE

สภาพแวดลอมท่ีพบ ขึ้นหนาแนนตามชายปาที่มีความชื้นสูง มีแดดสองถึง ตามบริเวณลําธารภายในหมูบาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร ตน เปนไมจําพวกเฟน เปนเหงาตั้งตรง สูงมากกวา 1 เมตร มีเกล็ดสีน้ําตาลเขม ขอบดํา ขอบ

เกล็ดหยักซี่ฟน ใบ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น แผนใบมีขนาดตางกัน มักยาวกวา 1 เมตร กานใบยาว 70

เซนติเมตร กลุมใบยอยคูลาง มักลดขนาด ปลายเรียวแหลมโคนรูปกึ่งหัวใจหรือรูปติ่งหู ขอบหยักเวาลึกเปนแฉกเกือบถึงเสนกลางใบยอย แฉกปลายมน ขอบหยักซี่ฟน แผนใบบาง กลุมอับสปอรอยูตามความยาวของเสนใบยอย มักเชื่อมกับกลุมอับสปอรที่อยูในแฉกติดกันซึ่งมีเสนใบมาสานกัน

ดอก - ผล/เมล็ด -

Page 46: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

40

ผักคราด

ชื่ออ่ืน ผักคราด ผักคราดหัวแหวน (กลาง) ผักตุมหู หญาตุมหู ผักเผ็ด (เหนือ)

อ้ึงฮวยเกี้ย (จีนแตจิ๋ว)

ชื่อวิทยาศาสตร Acmella oleracea (L.) R.K.Jansen

Family COMPOSITAE

สภาพแวดลอมท่ีพบ ชอบขึ้นที่ลุมและมีความชุมชื้นตามลําหวยรอบหมูบาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร ตน ผักคราดเปนไมลมลุก ลําตนตั้งตรงสูง 20-50 เซนติเมตร หรือลําตนทอดตามดินเล็กนอย

แตปลายชูขึ้น ลําตนแกจะมีรากงอกออกมา ลําตนคอนขางกลม อวบน้ํา สีเขียว อาจมีสีมวงแดงปนเขียว ตนออนมีขนปกคลุมเล็กนอย

ใบ ใบเดี่ยวออกตรงขามกัน รูปรางสามเหลี่ยมขอบใบหยักฟนเลื่อย กานใบยาว ผิว

ใบสากและมีขน ใบกวาง 3-4 เซนติเมตร ยาว 3-6 เซนติเมตร

ดอก ออกเปนชอตามขอบใบและปลายกิ่ง ดอกยอยจะเรียงอัดกันแนนเปนกระจุกสีเหลือง

เปนลักษณะกลม ปลายแหลม คลายหัวแหวน ดอกยอยมี 2 วง วงนอกเปนดอกตัวเมีย วงในเปนดอกสมบูรณเพศ

ผล/เมล็ด ผลแหงรูปไข

Page 47: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

41

ผักปลัง

ชื่ออ่ืน ผักปลังใหญ (กลาง) ผักปง (เหนือ) โปเดงฉาย (จีน)

ชื่อวิทยาศาสตร Basella rubra L.

Family BASELLACEAE

สภาพแวดลอมท่ีพบ บริเวณที่ชุมชื้นภายในหมูบาน และปาเบญจพรรณรอบๆ หมูบาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร ตน เปนไมเล้ือยพันตนไมอ่ืน ลําตนอวบน้ํา สีเขียวออน ผิวเรียบเปนมัน

ใบ เปนใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปหัวใจขอบใบเรียบ แผนใบอวบน้ําเปนรูปไข รูปหัวใจหรือรูปไข ปนขอบขนาน เปนมันวาวสีเขียวออน หากขยี้ดูจะเปนเหมือกเหนียว ใบกวาง 2-6 เซนติเมตร ยาว 2.5-7.5 เซนติเมตร

ดอก เปนดอกชอ ดอกสีขาว ใบประดับ 2 ใบเล็กๆ ติดอยูโคนของกลีบดอก กลีบดอกมีฐานติดกันและปลายแยกออกเปน 5 กลีบ

ผล/เมล็ด ผลทรงกลมสีเขียวขนาด 0.5 – 0.6 เซนติเมตร ลูกแกจะมีสีมวงอมดํา เนื้อนิ่มภายในผลมีน้ําสีมวงดําหรือสีขาว ทรงกลมมีสีน้ําตาล เปลือกแข็ง

Page 48: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

42

ผักไผ

ชื่ออ่ืน หอมจันทน (อยุธยา) ผักไผ (ภาคเหนือ) จันทนโฉม (นครราชสีมา) พริกมา (ภาคอีสาน) ผักแพรว (อุดรธานี อีสาน)

ชื่อวิทยาศาสตร Polygonum odoratum Lour.

Family POLYGONACEAE

สภาพแวดลอมท่ีพบ ตามปาบริเวณริมลําธารที่มีความชื้นสูงและตามสวนบริเวณบาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร

ตน เปนไมลมลุกอายุปเดียว สูง 3-3.5 เมตร ลําตนตั้งตรง บางลําตนมีขอเปนระยะๆ บริเวณขอมักมีรากงอกออกมา

ใบ เปนใบเดี่ยวออกสลับ ใบเปนรูปหอก หรือรูปหอกแกมรูปไข ขอบใบเรียบปลายใบแหลม ฐานใบรูปล่ิม ใบกวาง 2.5-3 เซนติเมตร ยาว 5.5-8 เซนติเมตร กานใบสั้น มีหูใบลักษณะเปนปลอกหุมรอบลําตน บริเวณเหนือขอ

ดอก งอกเปนขอ ดอกยอยมีขนาดเล็กสีขาวนวล หรือสีชมพูมวง

ผล/เมล็ด มีขนาดเล็ก

Page 49: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

43

ผักเสี้ยน

ชื่ออ่ืน ผักเสี้ยน (กลาง อีสาน ใต เหนือ) ผักสมเสี้ยน (เหนือ) ผักเสี้ยนขาว (กลาง)

ชื่อวิทยาศาสตร Cleome gynandra L.

Family CAPPARACEAE

สภาพแวดลอมท่ีพบ บริเวณริมทางทั่วไปภายในหมูบาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร

ตน เปนไมลมลุกปเดียว รากมีรากแกว และรากแขนงจํานวนมาก ลําตนมีขนปกคลุมทั่วไปและมียางเหนียว

ใบ ใบเปนใบประกอบ มีใบยอย 3-5 ใบ ใบยอยมีลักษณะรูปไข กลีบหรือขอบขนาน ปลายแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเปนคลื่น ใบตรงกลางมีความยาว 2-7.5 เซนติเมตร กวาง 1-4 เซนติเมตร

ดอก เปนดอกชอ สีขาวหรือสีเหลืองออน กลีบเรียง 4 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ กลีบดอกเปนรูปไขกลีบดอกยาว 8-14 มิลลิเมตร เกสรตัวผูมี 6 อัน ดอกมีกานของเกสรตัวผูและเกสรตัวเมียยาว

ผล/เมล็ด ผลเปนฝกเรียวยาว ยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร กวาง 3-4 มิลลิเมตร เมล็ดมีขนาดเสนผาศูนยกลาง 1.5 มิลลิเมตร เมล็ดรูปไตและเรียงอยูในฝกแกแลวฝกแตกออกเปน 2 ซีก

Page 50: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

44

ผักหนาม

ชื่ออ่ืน ผักหวาน (ทั่วไป) กะลี (มาเลย-นราธิวาส)

ชื่อวิทยาศาสตร Lasia spinosa L. Thwaites

Family ARACEAE

สภาพแวดลอมท่ีพบ ที่ช้ืนแฉะหรือมีน้ําขังบริเวณลําหวยรอบๆ หมูบาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร

ตน เปนไมลมลุกอายุหลายป มหีนามแหลมตามลําตน มีเหงาอยูใตดนิ ลําตนมีเสนผาศูนยกลางประมาณ 4-5 เซนติเมตร ลําตนทอดขนาดกับพื้นดิน ตัง้ตรงและโคงลงเล็กนอย

ใบ ใบเปนใบเดี่ยว รูปหัวลูกศรหรือขอบใบยักเวาลึกออกเปนแฉก ๆ รอยเวาลึกเกือบถึงเสนกลางใบ มีราว 11 แฉก ใบกวางมากกวา 25 เซนติเมตร ยาว 30-40 เซนติเมตร กานใบยาวประมาณ 20-50 เซนติเมตร มีหนามอยูตามลําตนและกานใบ ใบออนมวนเปนแทงกลม ปลายแหลม

ดอก ชอดอกเปนแทงและมีดอกยอยอัดกันแนน มีกาบหุมชอดอกสีน้ําตาล กานชอดอกยาวและ มีหนาม

ผล/เมล็ด ติดอยูที่โคนดอก ออกเปนกระจุก ผลออนสีเขียว พอสุกสีเหลืองแกมแดง

Page 51: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

45

ผักหวานปา

ชื่ออ่ืน ผักหวาน (ทั่วไป) ผักหวานปา

ชื่อวิทยาศาสตร Champereia manillana (Blume) Merr.

Family OPILIACEAE

สภาพแวดลอมท่ีพบ บริเวณปารอบๆ หมูบาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร

ตน เปนไมตนขนาดกลาง สูงประมาณ 5-16 เมตร ใบ ใบเปนใบเดี่ยว สีเขียวเขม รูปไขหรือรูปรี ขอบใบเรียบ ปลายใบปานกลมหรือมน มีรอยเวา

แหลมตื้นๆ หรือมีลักษณะเปนติ่งเล็กๆ ยื่นออกไป ฐานใบเปนรูปล่ิม ใบยาว 6-12 เซนตเิมตร กวาง 2.5-5 เซนติเมตร กานใบยาว 1-3 มิลลิเมตร

ดอก ดอกเปนกลุมสีเขียวออกตรงซอกใบ กิ่งและที่ลําตนมีใบประดับขนาดเล็ก ผล/เมล็ด ผลออกเปนพวงรูปรี สีเหลืองอมน้ําตาล ยาว 2.3-3 เซนติเมตร กวาง 1.5-1.7 เซนติเมตร

Page 52: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

46

ไผรวก

ชื่ออ่ืน ตีโย ไผรวก ไมรวก รวก (ภาคกลาง) วาบอบอ แวปง (กระเหรี่ยง แมฮองสอน) แวบาง (กระเหรี่ยง เชียงใหม) สะลอม (เงี้ยว แมฮองสอน) ฮวก (ภาคเหนือ)

ชื่อวิทยาศาสตร Thyrsostachys siamensis Gamble

Family GRAMINEAE

สภาพแวดลอมท่ีพบ ทั่วไปบริเวณปารอบหมูบาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร ตน สูงประมาณ 7-15 เมตร ลําตนตรง เปลา มีกิ่งเรียวเล็กๆ มีเสนผาศูนยกลางประมาณ

2-6 เซนติเมตร มีวงใตขอสีขาว ลํามีสีเขียวอมเทา ปลองจะยาว 15-30 เซนติเมตร กาบยาวประมาณ 22-28 เซนติเมตร กวางประมาณ 11-20 เซนติเมตร มักจะติดตนอยูนาน สีมักจะเปนสีฟางออน ดานหลังจะปกคลุมดวยขนออนสีขาว มีรองเปนแนวเล็กๆ สอบนอยๆ ขึ้นไปหาปลาย กระจังกาบมีเล็กนอยและหยักไมสม่ําเสมอ มีขนละเอียดเล็กนอย

ใบ รูปใบเปน Linear-lanceolate ปลายใบเรียวแหลม โคนใบปานหรือเกือบกลม ยาว 7-22 เซนติเมตร กวาง 0.5-1.5 เซนติเมตร ทองใบมีขน เสนกลางใบขางบนแบน เสนลายใบ 4-6 เสน ขอบใบสากและคม กานใบสั้น 0.5 เซนติเมตร ครีบใบเล็ก ขอบใบมีหนามเล็กๆ สองสามอัน กาบใบแคบไมมีขน

ดอก ออกดอกเปนชอสีขาว มีเปลือกหุมดอกสีคลายฟางขาว ออกดอกพรอมกันทั้งตน หลังจากนั้นจะตายทั้งกอ

ผล/เมล็ด เมล็ดคลายเมล็ดขาว

Page 53: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

47

เพกา

ชื่ออ่ืน กาโดโดง (กระเหรี่ยง กาญจนบุรี) ดกกะ ดอกกะ ดุแก (กระเหรี่ยง แมฮองสอน) เบโก

(นราธิวาส) เพกา (กลาง) มะลิดไม มะลิ้นไม ลิดไม (เหนือ) ล้ินฟา หมากลิ้นซาง (เงี้ยว เหนือ)

ชื่อวิทยาศาสตร Oroxylum indicum (L.) Kurz

Family BIGNONIACEAE

สภาพแวดลอมท่ีพบ ที่ช้ืนระบายน้ําดีบริเวณหมูบานและปารอบหมูบาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร ตน เปนไมตน 10 – 12 เมตร อายุหลายป เรือนยอดเล็ก กิ่งเปราะหักงาย แตกกิ่งกานนอย

ใบ เปนใบประกอบแบบขนนก 3 ช้ัน ขนาดใหญ เรียงตรงกันขามกันอยูบริเวณปลายกิ่ง ใบยอยรูปไขหรือรูปไขแกมวงรีกวาง 4 – 8 เซนติเมตร ยาว 6 – 12 เซนติเมตร

ดอก ดอกชอออกที่ปลายยอด กานชอดอกยาวดอกยอยขนาดใหญ กลีบดอกสีนวลแถบเขียวโคนกลีบเปนหลอดสีมวงแดง หนา ยน บานกลางคืน รวงตอนเชา

ผล/เมล็ด ผลเปนฝก ติดฝกยาก (คิดวาเปนเพราะสายพันธุ) 2 – 3 ป ติดฝก ฝกเปนรูปตามยาว มีความยาวประมาณ 60 – 100 เซนติเมตร เมื่อแกจะแตก เมล็ดแบนสีขาวมีปกบางโปรงแสง

Page 54: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

48

ฟกขาว

ชื่ออ่ืน ขี้กาเครือ (ปตตานี) ฟกขาว (กลาง) ผักขาว (เหนือ) พุคูเดาะ (กระเหรี่ยง แมฮองสอน)

ชื่อวิทยาศาสตร Momordica cochinchinensis (Lour.) Spreng.

Family CUCURBITACEAE

สภาพแวดลอมท่ีพบ ทั่วไปในหมูบานและปาเบญจพรรณรอบหมูบาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร ตน ไมเถาเลื้อยพาดพันตนไมใหญหรือร้ัวบาน เถาสีเขียวอมเหลือง เถาแกมีขอโปนออกเปน

ปุม

ใบ ใบเปนใบเดี่ยว รูปรางคลายใบโพธิ์ ตัวใบแบงเปน 3 ชวง สีเขียว เสนผาศูนยกลางของใบประมาณ 10-20 เซนติเมตร ยาว 5-10 เซนติเมตร มีหนวดไวสําหรับเกาะ

ดอก ดอกเปนดอกแยกเพศ คือดอกตัวผูและดอกตัวเมีย ดอกตัวผูสีเหลือง มีกลีบดอก 5 กลีบ กลีบรูปไขยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร ดอกตัวเมียเล็กกวา

ผล/เมล็ด ผลรูปรางกลมรี เนื้อแนนฉ่ําน้ํามีหนามเล็กขนาด 3-4 มิลลิเมตร อยูบริเวณรอบผล ผลยาว 10-15 เซนติเมตร กวาง 6-10 เซนติเมตร ผลดิบสีเหลือง ผลสุกสีแดงหรือแดงสม เมล็ดแบนเปนรูปไข ยาว 1.8-2 เซนติเมตร หุมสีดํา ดานบนมีลายเหมือแกะสลัก

Page 55: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

49

มะกอก

ชื่ออ่ืน กอกกุก กูก (เชียงราย) ไพแซ (กระเหร่ียง เชียงใหม) กอกเขา (นครศรีธรรมราช)

กราไพย ไพย (กระเหรี่ยง-กาญจนบุรี)

ชื่อวิทยาศาสตร Spondias pinnata (L.f.) Kurz

Family ANACARDIACEAE

สภาพแวดลอมท่ีพบ ปาดานทิศใตและทิศตะวันออกเฉียงใตของหมูบาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร

ตน เปนไมตนผลัดใบขนาดใหญ สูง 10-40 เมตร ลําตนตรง เรือนยอดเปนพุมกลมโปรงๆ เปลือกสีเทาเรียบ กิ่งออนมีรอยแผลจากการหลุดรวงของใบ มีตอมระบายอากาศอยูมาก

ใบ เปนใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบยอย 9-13 ใบ รูปวงรีแกมไขกลับ กวาง 3-4 เซนติเมตร ยาว 7-12 เซนติเมตร ใบยอยบริเวณโคนตน ฐานใบเบี้ยว

ดอก เปนดอกชอสีขาวออกที่ปลายกิ่งหรือซอกใบของกิ่งที่ใบรวง ดอกยอยจํานวนมาก ขนาดเลก็สีขาวครีม

ผล/เมล็ด ผลสดรูปไขยาวกวาง 2.5-4.5 เซนติเมตร ผลออนสีเขียวและเมื่อแกเปนสีเหลืองอมเขียวและเหลืองจัด เนื้อหุมเมล็ดรสเปรี้ยว

Page 56: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

50

มะระ

ชื่ออ่ืน ผักเหย (สงขลา) ผักไห (นครศรีธรรมราช) มะรอยรู (ภาคกลาง) มะหอย มะไห (เหนือ)

สุพะซู สุเพดะ (แมฮองสอน)

ชื่อวิทยาศาสตร Momordica charantia L.

Family CUCURBITACEAE

สภาพแวดลอมท่ีพบ ทั่วไปภายในหมูบานและปารอบๆ หมูบาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร

ตน เปนไมเถาเลื้อย มีมือเกาะยึดตนไมอ่ืน อายุ 2-3 ป เถาเปนเหลี่ยมเล็กนอย มีขนสั้นๆ ประปราย

ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับ กานใบยาว 3-5 เซนติเมตร แผนใบรูปหัวใจ ไมเรียบ มีขนสั้นๆ ประปราย ฐานใบเวาเขาหากานใบ ขอบใบเวาเปนเหลี่ยม จักเล็กนอย และโคงขึ้นดานบนเล็กนอย สีเขียวออน ขนาดใบกวางและยาว 3-5 เซนติเมตร

ดอก ออกตามซอกใบ เปนดอกเดี่ยวแยกเพศ แตอยูบนตนเดียวกัน ดอกตัวผูกานดอกเล็ก ยาว 2-3 เซนติเมตร กลีบดอกบานออกเปน 5-7 แฉก มีอับละอองเกสรตรงกลาง สวนดอกตัวเมียมีกานดอกใหญกวาและมีผลเล็กๆ อยูที่ฐานดอก

ผล/เมล็ด ผลลักษณะกลมรีผลแหลม ผิวขรุขระ สีเขียวออนถึงเขม เปนมันวาวขนาดเทาหัวแมมือ เมื่อสุกมีสีสมแดง ภายในมีเมล็ด 3-5 เมล็ด เมล็ดรูปกลมรีแบน ปลายเมล็ดปานสีน้ําตาลออนผิวเรียบขนาดประมาณ 0.3-0.5 เซนติเมตร

Page 57: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

51

มะแวงตน

ชื่ออ่ืน มะแวงตน มะแวง มะแควงขม มะแควงคม มะแควงดํา หมักแขงขม

หมากแขงขม แวงคม สะกั้งแค หมากแรงคง

ชื่อวิทยาศาสตร Solanum sanitwongsei Craib

Family SOLANACEAE

สภาพแวดลอมท่ีพบ ทั่วไปภายในหมูบาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร

ตน เปนไมพุมขนาดกลางสูงประมาณ 1-1.5 เมตร ลําตนแข็ง มีขนและหนามแหลมกระจายอยูทั่วตนอายุ 2-5 ป

ใบ ใบเดี่ยวออกสลับ กานใบยาว ใบแผกวาง ขอบใบเวาเขาหาเสนกลางใบ มีขนทั่วไปที่ผิวใบทั้งสองดาน ใบมีขนาดยาว 5-15 เซนติเมตร กวาง 2-10 เซนติเมตร

ดอก ดอกเดี่ยวออกเปนกระจุกบริเวณงามใบ และปลายกิ่ง มีเสนผาศูนยกลางประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร สีมวงออน เกสรมีสีเหลืองออกบริเวณซอกใบ

ผล/เมล็ด ผลเดี่ยวรูปรางกลม ผิวเรียบ ไมมีลาย ผลมี 2 ชนิด คือ ผลออนสีเขียว และชนิดผลออนสีขาวทั้ง 2 ชนิด ผลสุกสีเหลือง หรือสีเหลืองอมสม

Page 58: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

52

มะอึก

ชื่ออ่ืน มะเขื่อปู มะปู (ภาคเหนือ) ยั่งคุยดี (กระเหรี่ยง-แมฮองสอน)

ชื่อวิทยาศาสตร Solanum stramonifolium Jacq.

Family SOLANACEAE

สภาพแวดลอมท่ีพบ ทั่วไปภายในหมูบาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร

ตน เปนไมพุมลมลุกอายุหลายป สูงประมาณ 80-150 เซนติเมตร แตกกิ่งกานสาขาออกเปนพุม ลําตนมีเสนผาศูนยกลาง 3-4 เซนติเมตร ผิวเรียบสีเขียวและจะเปนสีขาวนวลเมื่อแก ลําตนมีหนามแหลม และขนละเอียดขึ้นเต็มไปหมด

ใบ ใบเปนใบเดี่ยว เรียงแบบสลับ รูปรางใบเปนรูปไข ขอบใบหยักเวาลึกเขาไปหาเสนกลางใบ ปลายใบแหลม ฐานใบ 2 ขางไมเทากัน ใบยาว 15-26 เซนติเมตร กวาง 10-23 เซนติเมตร

ดอก ดอกเปนชอ ดอกยอย 3-5 ดอก ออกเปนกระจุกตามบริเวณซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบสีขาว หรือสีมวงออน โคนติดกัน กลีบขนาดเล็ก ปลายแหลม และเมื่อบานกลีบจะโคงลง

ผล/เมล็ด ผลออนสีเขียวมีขนยาวปกคลุมทั่วทั้งผล เสนผาศูนยกลาง 1.6-9.0 เซนติเมตร เมื่อสุกจะคอย ๆ เปนสีเหลืองหรือสีเหลืองอมสม มีเมล็ดเรียงเปนแถวอยูภายใน จํานวนมาก

Page 59: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

53

ยานาง

ชื่ออ่ืน เถาวัลยเขียว (ภาคกลาง) จอยนาง (เชียงใหม) ยาดนาง (สุราษฎรธานี)

ชื่อวิทยาศาสตร Tiliacora triandra (Colebr.) Diels

Family MENISPERMACEAE

สภาพแวดลอมท่ีพบ บริเวณภายในหมูบานและปารอบๆ หมูบาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร

ตน เปนไมเล้ือย กิ่งออนมีขนออนปกคลุม เมื่อแกแลวผิวคอนขางเรียบ รากมีขนาดใหญ ใบ ใบเดี่ยว ออกติดกับลําตนแบบสลับ รูปรางใบคลายรูปไขหรือรูปไขขอบขนาน ปลายใบ

เรียว ฐานใบมน ขนาดใบยาว 5-10 เซนติเมตร กวาง 2-4 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ กานใบยาว 1 เซนติเมตร

ดอก ดอกออกตามซอกโคนกาน เปนชอยาว 2-5 เซนติเมตร ชอหนึ่งๆ มีดอกขนาดเล็กสีเหลือง 3-5 ดอก ดอกแยกเพศอยูคนละตนไมมีกลีบดอก

ผล/เมล็ด ผลรูปรางกลมรีขนาดเล็ก สีเขียว เมื่อแกกลายเปนสีเหลืองอมแดงและกลายเปนสีดํา

Page 60: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

54

เรว

ชื่ออ่ืน หมากแหนง (สระบุรี) มะหมากอี้ มะอี้ หมากอี้ (เชียงใหม) หมากเน็ง (ภาคเหนือ)

ชื่อวิทยาศาสตร Amomum xanthioides Wall. ex Baker

Family ZINGIBERACEAE

สภาพแวดลอมท่ีพบ ปารอบๆ หมูบาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร

ตน เปนไมลมลุก ลําตนใตดินเรียกวาเหงา ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ใบเปนรูปหอกแคบ ปลายใบแหลมหอยยอยลง ไมมีกานใบ

ดอก ดอกออกเปนชอ กานชอดอกแทงออกจากเหงาโดยตรง กลีบดอกเปนสีชมพูออน โคนกลบีเชื่อมติดกันเปนทอ ปลายแยกเปนกลีบ

ผล/เมล็ด เมื่อเปนผลแหงคอนขางกลม หรือรูปไขสีน้ําตาลแดง มีหนามและมักมีขนยาวสีแดงปกคลุมภายในมีเมล็ดสีน้ําตาล มีกล่ินคลายการบูร

Page 61: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

55

สมอไทย

ชื่ออ่ืน สมออัพยา (ภาคกลาง) หมากแนะ (กระเหรี่ยง-แมฮองสอน) มาแน (กระเหรี่ยง-เชียงใหม)

ชื่อวิทยาศาสตร Terminalia chebula Retz. var. chebula

Family COMBRETACEAE

สภาพแวดลอมท่ีพบ ปารอบๆ หมูบาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร ตน เปนไมตนขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ สูงประมาณ 20 – 30 เมตร

ใบ เปนใบเดี่ยวเรียงสลับกันไปตามขอตน ใบรูปไข ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือสอบ ขอบใบเรียบและพื้นใบ สีเขียว ใบยาวประมาณ 2.5 – 6 นิ้ว

ดอก ออกดอกเปนชอใหญ ดอกขนาดเล็ก ชอหนึ่งมีดอกจํานวนมาก มีสีนวลมีกล่ินหอม

ผล/เมล็ด รูปไข หรือคอนขางกลม มีสัน 5 สัน ผลยาว 2.5 – 4 เซนติเมตร มีสีเขียวอมเหลือง หรือบางทีก็มีสีแดงปน ภายในผลมี 1 เมล็ด เมล็ดแข็ง

Page 62: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

56

โสน

ชื่ออ่ืน โสนหิน (ภาคกลาง) ผักฮองแฮง (ภาคเหนือ) สีปรีหลา (กระเหรี่ยง แมฮองสอน)

ชื่อวิทยาศาสตร Sesbania javanica Miq.

Family LEGUMINOSAE - PAPILIONOIDEAE

สภาพแวดลอมท่ีพบ บริเวณที่มีน้ําขังภายในหมูบาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร ตน เปนไมลมลุกปเดียว ลําตนสูง 2-4 เมตร ไมเปราะหักงาย ไมมีแกน ผิวสีน้ําตาล ลําตนแตก

กิ่งกานตอนบนหนาเปนพุม กิ่งกานสีเขียวออน

ใบ ใบประกอบแบบขนนก กานใบสั้น มีใบยอย 10-30 คู ออกตรงกันขาม รูปขอบขนานขนาด 2x4 มิลลิเมตร

ดอก ดอกเปนดอกชอกลีบดอกสีเหลือง แตละชอมีดอกยอย 5-12 ดอก ชอดอกยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ดอกยอยยาว 2.5 เซนติเมตร กลีบดอก 5 กลีบ คลายผีเสื้อ บางครั้งกลีบนอกมีจุดกระสีน้ําตาลหรือสีมวงแดงกระจายอยูทั่วไป

ผล/เมล็ด ฝกผอมและยาวประมาณ 18-20 เซนติเมตร กวาง 4 มิลลิเมตร ฝกออนสีเขียวเมื่อแกกลายเปนสีมวงและสีน้ําตาล เมล็ดเรียงอยูภายในฝก

Page 63: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

57

โสมไทย

ชื่ออ่ืน โสม โสมจีน โสมคน (ภาคกลาง) วานผักปง (เชียงใหม)

ชื่อวิทยาศาสตร Talinum triangulare (Jacq.) Willd.

Family PORTULACACEAE สภาพแวดลอมท่ีพบ ทั่วไปภายในหมูบาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร ตน เปนพืชลมลุกขนาดเล็ก สูงประมาณ 30-50 เซนติเมตร ลําตนสีเขียวอวบน้ํา ใบ ใบรูปไขกลับ ปลายโตแหลม โคนใบสอบแหลม เนื้อใบหนา ขอบใบเรียบ

ทองใบและหลังใบเรียบ ใบมีสีเขียวอมเหลอืงเปนมัน กานใบชูตั้ง ดอก ดอกเล็กสีชมพูเปนชอ กานดอกยาว ออกดอกที่ปลายยอด ดอกมี 5 กลีบ

คลายดาว เกสรสีเหลืองยื่นยาวออกจากดอกคลายชบา ผล/เมล็ด กลมสีแดง

Page 64: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

58

หางนกยูง

ชื่ออ่ืน ผักนกยูง (นครศรีธรรมราช) ตีนนกยูง (จันทบุรี) กูดจอง กูดตีนกวาง กูดตีนฮุง ผักตีนกวาง (ภาคเหนือ) ตูยุลางิ (มาเลย นราธิวาส)

ชื่อวิทยาศาสตร Helminthostachys zeylanica (L.) Hook.

Family OPHIOGLOSSACEAE สภาพแวดลอมท่ีพบ ปารอบหมูบานบริเวณที่มีอากาศชื้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร ตน ลําตน หรือเหงาเปนเถาเลื้อยส้ันๆ อยูในดิน ลักษณะเปนเนื้ออวบน้ํา ไมมีขนหรือ

เกล็ด ใบ ใบมีกานออกจากเหงา ชูขึ้นเหนือดิน ใบยาวราว 20 เซนติเมตร กวาง 30

เซนติเมตร ใบแฝดคลายรมหรือตีนของนก ดอก - ผล/เมล็ด -

Page 65: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

59

เห็ดโคน

ชื่ออ่ืน เห็ดปลวกใหญ

ชื่อวิทยาศาสตร Termitomyces sp.

Family Termitophilae

สภาพแวดลอมท่ีพบ บริเวณปารอบหมูบานที่มีความชื้นและอุณหภูมิพอเหมาะ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร ตน กานดอก (Stalk or stipe) กานของเห็ดโคนจะมี 3 สวนคือ สวนที่โผลพนดิน สวนที่อยูใน

ดิน และ สวนที่อยูระหวางชองวางของรังปลวกและดิน ซ่ึงมีสองลักษณะสีของกานดอกเนื้อในจะเปนสีขาว ดานนอกจะเปนขาวปนดํา อาจเพราะเปรอะดิน หรือการที่ออกมาถูกอากาศและแสงมากไปจึงมีสีคลํ้าดํา

ใบ ครีบดอก (Gills) ของเห็ดโคนมีลักษณะที่เปนแผนบางๆ สีขาว ที่บริเวณครีบดอกจะเปนแหลงกําเนิดของสปอร

ดอก หมวกดอก (Cap) มีขนาดแตกตางกันขึ้นอยูกับความสมบูรณของดอกเห็ดมีขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ ที่ปลายของหมวกดอกเห็ดโคนมีทั้งที่พบวาปลายหมวกดอกแหลมและพบที่ปลายหมวกดอกทู

สปอร มีสีขาว เมื่อสปอรแกก็จะหลุดออกจากครีบดอกตกบริเวณนั้นหรืออาจถูกลมพัดปลิวไปตกบริเวณขางเคียง จากนั้นสปอรจะงอกหรือเจริญบนอินทรียวัตถุและทําใหอินทรียวัตถุผุพังและมีกล่ินหอมที่ดึงดูดปลวกไดอยางดี เมื่อปลวกมากินอินทรียวัตถุและนําเชื้อเห็ดโคนบางสวนเขาไปเพราะตอในบริเวณรังปลวก

Page 66: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

60

อีรอก

ชื่ออ่ืน กระแทง (จันทบุรี) บุกอีรอก (อีสาน) อีหลอด (เลย)

ชื่อวิทยาศาสตร Amorphophallus sp2.

Family ARACEAE

สภาพแวดลอมท่ีพบ บริเวณที่มีความชุมชื้นในปาเบญจพรรณรอบหมูบาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร

ตน ไมลมลุกหลายป มีเหงาในดิน ลักษณะกลมผิวขรุขระมีรากโดยรอบ ในฤดูฝนจะมีกานใบยาวเหนือดิน ลักษณะอวบน้ําไมมีแกน กลมขนาดเทาหัวแมมือ ยาว 50-120 เซนติเมตร มีลายสีเขียว น้ําตาล และดํา ทั้งแบบเปนพื้น จุดดาง หรือแถบลายแตกตางกันไป

ใบ มีกานใบยอยแตกออกจากปลายกานใบ 2-3 กาน และมีใบประกอบ 10-12 ใบ ออกเปนคูรูปคลายหอก กวาง 5-10 เซนติเมตร ยาว 15-25 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ แผนใบเปนคล่ืนเล็กนอย สีเขียวเขม หรือบางชนิด อาจมีจุดสีขาวกระจายทั่วใบ มีหูใบติดกับกานใบยอย

ดอก กานดอกยาวออกจากบริเวณเหงา ลักษณะคลายกานใบ มีดอกอยูตรงปลายกาน รูปดอกคลายดอกหนาวัว มีเกสรเปนแทงอยูตรงกลาง

ผล/เมล็ด ลักษณะกลม ขนาด 0.5-1.0 เซนติเมตร สีเขียวเรยีงติดกนัเปนแทง ความยาว 5-8 เซนติเมตร และมีกลีบเลี้ยงหอดานหลังผลเมื่อสุกมีสีสมแดง

Page 67: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

61

ปริมาณและชวงเวลาการเก็บหาพืชอาหารปา

การศึกษาปริมาณการเกบ็หาพืชอาหารปาของชาวขมุ บานบนเขาแกงเรียง อําเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี พบวาพืชอาหารที่มีการเกบ็หาจะเปนไปตามฤดูกาลที่พืชอาหารนั้นใหผลผลิต เชนพืชกนิยอดและลําตนออนมีชวงเวลาการเก็บหาในฤดูฝน เชน ผักกูด โสน กระทือ และเรว เปนตน เนื่องจากฝนจะทําใหพรรณไมมีการแตกใบใหมที่มีความเหมาะสมตอการบริโภค พืชกินดอกจะมีการเก็บหาสวนใหญชวงเดือนพฤษภาคมถึงเดอืนมิถุนายน พืชกินผลจะใหผลผลิตแตกตางกันไปตามชนดิของพืช สําหรับชนิดพชืที่สามารถเก็บหาไดทั้งป ไดแก กุมน้ํา ขาวเย็นเหนือ บัวบก ยานางและผักแพรว เปนตน (ตารางที่ 2)

สําหรับบริเวณที่มีการเก็บหาจะเปนบรเิวณริมน้ําภายในหมูบาน และพืน้ที่ปารอบหมูบาน โดยระยะทางที่ใชในการเดนิทางเก็บหาพชือาหารปาจะเปนระยะทางประมาณ 1-2 กิโลเมตร หรือระยะทางที่ผูที่เขาไปในปาสามารถเดินไปและกลบัไดภายในวันเดียว โดยวิธีการเกบ็หาพืชอาหารนั้นสวนใหญจะเปนการนํามาเฉพาะสวนที่ตองการบริโภคเทานั้น ซ่ึงทําใหพืชอาหารของหมูบานนี้ยังคงมีพชือาหารเพื่อการบริโภคอยู นอกจากนี้ชาวขมุ บานบนเขาแกงเรยีงยังนยิมการปลูกพรรณไมบริเวณบานจํานวนมากทําใหการบริโภคพืชอาหารของชุมชนบริเวณนี้จะเปนลักษณะการพึง่พิงทรัพยากรจากธรรมชาติและจากที่ชุมชนสรางขึ้นมาเอง

คุณคาของพชือาหารปา

จากการศึกษาพบวาพืชอาหารปาที่ชาวขมุบานบนเขาแกงเรียงบริโภคมีคุณคาทางเภสัชโภชนา (Food Phamacy) ถึง 30 ชนิด จากพืชอาหารปาที่จํานวน 37 ชนิด ไดแก กระเจยีว ดอกดนิ มะแวงตนและผักไผชวยขับลม ชะพลูและมะระปาชวยบํารุงธาตุ เรวรักษาอาการทองอืด ทองเฟอ จุกเสียด แกธาตุพิการ และบรรเทาอาการกระหายน้ํา สมอไทยใชเปนยาระบาย บรรเทาอาการรอนใน กระหายน้ํา แกไขตัวรอน บาํรุงโลหิต แกโลหิตจาง ปองกันเลือดออกตามไรฟน ผลกระโดนชวยยอยอาหาร ดอกขจรบํารุงตับปอด แกเสมหะ คูนชวยบรรเทาความรอน ใบบัวบกแกออนเพลีย เมื่อยลา บํารุงธาตุ บํารุงหัวใจ ขับปสสาวะ แกชํ้าใน ผลมะกอกสุกทําใหชุมคอ แกกระหายน้ํา แกเลือดออกตามไรฟน ใบยานางถอนพิษไข แกไขรากสาด ไขพิษ เปนตน (ตารางที่ 3) ถึงแมการบริโภคพืชอาหารปาเพื่อการยังชีพ แตเนื่องจากพืชอาหารมีคุณคาทางยาที่มีอยูในพืชแตละชนดิที่มีการบริโภคเปนผลทางออมที่ไดรับจากพืชอาหารที่ทําการบริโภคเพื่อเปนอาหารเทานั้น ทําใหมีสุขภาพแข็งแรงและปราศจากโรคภัยตางๆ

Page 68: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

62

Page 69: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

63

Page 70: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

64

Page 71: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

65

Page 72: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

66

Page 73: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

67

Page 74: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

68

Page 75: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

69

Page 76: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

70

Page 77: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

71

สรุปผล

ผลการศึกษาพบวาหมูบานบนเขาแกงเรียงมีจํานวนครัวเรือนชาวรวม 147 ครัวเรือน ราษฎรสวนใหญประกอบอาชีพเกษตรกรรมเปนหลัก มีการพึ่งพิงและใชประโยชนทรัพยากรปาไมในปาเบญจพรรณ มีขอบเขตการเก็บหาพืชอาหารปาในรัศมี 1-2 กิโลเมตร บริเวณปารอบหมูบาน ความหลากหลายของพืชอาหารปาที่บริโภคโดยชาวขมุมีจํานวน 37 ชนิด โดยแยกเปนพืชกินใบจํานวน 19 ชนิด ไดแก กระโดน กระพี้จั่น กุมน้ํา ขาวเย็นเหนือ ชะพลู บัวบก ผักกูด ผักปลังขาว ผักแพรว ผักเสี้ยน ผักหนาม ผักหวานปา ฟกคาว มะกอก มะระปา ยานาง สมอไทย โสมไทยและโสน พืชกินดอกจํานวน 6 ชนิด ไดแก กระเจียวแดง กระทือ ขจร ดอกดิน ตางหลวง และโสน พืชกินผลจํานวน 9 ชนิด ไดแก กระโดน ชะเอมเทศ เพกา ฟกคาว มะกอก มะระปามะแวงตน มะอึก และสมอไทย และพืชที่กินสวนอ่ืนๆ เชน หัว ราก ลําตน มีจํานวน 9 ชนิด ไดแก คูน เตาราง บอน บุก เรว หนอไมรวก หางนกยูง อีรอก และเห็ดโคน

สําหรับชวงเวลาการเก็บหาพืชอาหารปามี 2 ลักษณะ คือ สามารถเก็บมาบริโภคไดทั้งปจํานวน 15 ชนิด และเก็บหาไดตามฤดูกาล 22 ชนิด สําหรับการใชประโยชนพืชอาหารปา พบวาทุกครัวเรือนของชาวขมุในหมูบานที่ทําการศึกษามีการเก็บหาพืชอาหารปาเพื่อบริโภค ในปริมาณมากนอยแตกตางกันไปตามความสามารถและเวลาวางของแตละครัวเรือน การศึกษาถึงคุณคาทางโภชนาการพบวาพืชอาหารที่มีการบริโภคชาวขมุจํานวน 37 ชนิด มีคุณคาทางเภสัชโภชนาถึง 30 ชนิด

Page 78: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

72

เอกสารอางอิง เกรียงไกร เพาะเจริญ. 2546. การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพโดยองคกรชุมชนในปาชุมชนโคกหิน

ลาด จังหวดัมหาสารคาม. วทิยานิพนธปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, กรุงเทพฯ. โกวิท ปญญาตรง. 2547. ปบสา ลานนา ยามะเร็ง. โรงพิมพกรมอุทยานแหงชาติ สัตวปาและพันธุพืช

จตุจักร, กรุงเทพฯ. จันทรารักษ โตวรานนท. 2541. พฤกษศาสตรพื้นบานของชาวไทลื้อ ชาวมง และชาวเยาบางพื้นที่ใน

จังหวดันาน. วิทยานิพนธปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเชยีงใหม, เชยีงใหม. ชลธิชา ทิชาชาติ. 2547. พฤกษศาสตรพื้นบานของชาวไทยภเูขาเผามง ต.เข็กนอย อ.เขาคอ

จ.เพชรบูรณ. วิทยานิพนธปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, กรุงเทพฯ. ชูศรี ไตรสนธิ. 2539. พฤกษศาสตรพื้นบาน : การประชุมวิชาการทางพฤกษศาสตร

สวนพฤกษศาสตรสมเด็จพระนางเจาสิริกิติ,์ เชียงใหม. เต็ม สมิตินันท และวีระชัย ณ นคร. 2534. พฤกษศาสตรพื้นบาน. เอกสารประกอบการสัมมนา

เรื่อง พฤกษศาสตรพื้นบาน ระหวางวันที่ 18 – 22 พฤศจิกายน 2534 สํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแหงชาติ. หอสมุดแหงชาตแิละเขตรักษาพันธุสัตวปาเขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี, กรุงเทพฯ.

ทิพยสุดา ตั้งตระกูล. 2541. พฤกษศาสตรพื้นบานของชาวขมุ ชาวลัวะ และชาวถิ่น ในบางพื้นที่ของ

จังหวดันาน. วิทยานิพนธปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเชยีงใหม, เชยีงใหม. นิพัทธเวช สืบแสง. 2535. รวมบทความวิชาการขม-ุแมว. สถาบันวจิัยชาวเขา. กรมประชาสงเคราะห

กระทรวงมหาดไทย, กรุงเทพฯ. บรรพต ณ ปอมเพชร. 2545. ชีวปริทรรศน ฉบับที่ 5. ศูนยความหลากหลายทางชีวภาพ. สํานกังานพัฒนา

วิทยาศาสตรและเทคโนโลยีแหงชาติ, กรุงเทพฯ. ประเวศ วะสี. 2536. ภูมิปญญาพื้นบานกับการพัฒนาชนบท. มูลนิธิปญญา. กรุงเทพฯ.

Page 79: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

73

ปรีชา องคประเสริฐ. 2541. พฤกษศาสตรพื้นบานในปาชุมชนดงใหญ ตําบลถอสรางนอย อําเภอหัว

ตะพาน จังหวดัอํานาจเจริญ. วิทยานิพนธปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, กรุงเทพฯ พรชัย ปรีชาปญญา. 2541. ภูมิปญญาพื้นบานเกีย่วกับระบบนิเวศนเกษตรบนแหลงตนน้ําลําธารใน

ภาคเหนือ. สถานีวิจยัลุมน้ําดอยเชยีงดาว กลุมลุมน้ํา สวนวิจัยและพฒันาสิ่งแวดลอมปาไม. สํานักวชิาการปาไม. กรมปาไม.

พรอนันต บุญกอน. 2540. พฤกษศาสตรพื้นบานของชาวลีซอ หมูบานสามกุลา จังหวัดเชยีงราย . ปญหา

พิเศษปริญญาวิทยาศาสตรบณัฑิต. มหาวทิยาลัยเชยีงใหม, เชียงใหม มลฤดี อภิโกมลกร. 2541. ภูมิปญญาทองถ่ินกับความหลากหลายทางชีวภาพ : กรณีศึกษาพื้นทีต่ําบลแม

มอก อําเภอเถนิ จังหวัดลําปาง. วิทยานิพนธปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเชียงใหม, เชยีงใหม. มาโนช วามานนทและเพ็ญนภา ทรัพยเจริญ. 2540. ผักพื้นบาน : ความหมายและภูมิปญญาของสามัญชน

ไทย. กระทรวงสาธารณสุข, กรุงเทพฯ. ยศ สันติสมบัติ. 2542. ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปญญาทองถ่ินเพื่อการพฒันาอยางยัง่ยนื.

ภาควิชาสังคมวิทยาและมานษุยวิทยา คณะสังคม. มหาวทิยาลัยเชยีงใหม, เชียงใหม. รัชดา พงษสัตยาพิพัฒน. 2535. พฤกษศาสตรพื้นบานของชาวมงขาวในหมูบานชางเคี่ยน จังหวดั

เชียงใหม. วิทยานิพนธปริญญาโท. มหาวทิยาลัยเชยีงใหม, เชียงใหม. ราชบัณฑิตยสถาน. 2526. พจนานกุรมฉบับราชบัณฑติยสถาน พ.ศ. 2525. สํานักพิมพอักษรเจริญทัศน,

กรุงเทพฯ. ล่ันทม จวนจวบทรง. 2537. ผักพื้นบาน (ภาคใต) ทางเลือกในการบรโิภค. สมาคมหยาดฝน, กรุงเทพฯ. วนิดา สุบรรณเสณี. 2539. ของปาในประเทศไทย. สํานักวิชาการปาไม กรมปาไม. กระทรวงเกษตรและ

สหกรณ.

Page 80: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

74

วิสุทธ ใบไม. 2540. วัฒนธรรมกับความหลากหลายทางชีวภาพ. เอกสารการสัมมนาวิชาการ กรมวิชาการเกษตรและศูนยฝกอบรมวนศาสตรชุมชนแหงภูมภิาคเอเชียและแปซิฟก. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, กรุงเทพฯ.

วิทยา ปวงอมรกุล. 2546. พฤกษศาสตรพื้นบานของชาวกะเหรีย่ง บานยางปูโตะ และบานยางทุงโปง

อําเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม. ปญหาพิเศษปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณทิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม, เชียงใหม.

วิทย เทีย่งบูรณธรรม. 2538. พจนานกุรมสมุนไพรไทย (ฉบับสรรพคุณยาไทย). บริษัทรวมสาสน (1977) จํากัด, กรุงเทพฯ. วีระชัย ณ นคร. 2534. วิวฒันาการพฤกษศาสตรพื้นบานในตางประเทศ. เอกสารประกอบการสัมมนา

เรื่อง พฤกษศาสตรพื้นบาน ระหวางวนัที่ 18 – 22 พฤศจิกายน 2534 สํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแหงชาติ. หอสมุดแหงชาตแิละเขตรักษาพันธุสัตวปาเขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี, กรุงเทพฯ.

ศูนยฝกอบรมวนศาสตรชุมชนแหงภูมภิาคเอเชียและแปซิฟก. 2541. รายงานสรุปการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ

พฤกษศาสตรพื้นบานและการใชทรัพยากรอยางยั่งยนืในภาคใตตอนลาง. ศูนยฝกอบรมวนศาสตรชุมชนแหงภูมภิาคเอเชียและแปซิฟก. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, กรุงเทพฯ. 104 น.

สดใส รักกุศล และธนารัตน รักกุศล. 2522. พระราชบัญญัติยาฉบับสมบูรณ. ไพศาลการพิมพ, กรุงเทพฯ สถาบันการแพทยแผนไทย. 2540. ผักพื้นบาน : ความหมายและภูมปิญญาของสามัญชนไทย. สถาบัน

การแพทยแผนไทย กรมการแพทย. กระทรวงสาธารณสุข, กรุงเทพฯ. . 2542ก. ผักพืน้บานภาคกลาง โรงพิมพอาศิการสงเคราะหทหารผานศกึ,

กรุงเทพฯ. . 2542ข. ผักพื้นบานภาคเหนือ โรงพิมพอาศิการสงเคราะหทหารผานศึก,

กรุงเทพฯ.

Page 81: อมลรัตน เลี่ยมตระก ูลพานิชapp.dnp.go.th/opac/multimedia/research/C00290/C00290-1.pdfThe study on “Ethnobotany : Edible Plants for

75

สมศักดิ์ สุขวงศ. 2539. รายงานสรุปการสัมมนาเชิงปฏิบัติการพฤกษศาสตรพื้นบานและการใชทรัพยากรอยางยั่งยืน. ศนูยฝกอบรมวนศาสตรชุมชนแหงภูมภิาคเอเชียและแปซฟิก. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, กรุงเทพฯ. 56 น.

สุมาลี ทองดอนแอ. 2546. พฤกษศาสตรพื้นบานของของชุมชนไทยทรงดําในจังหวัดกาญจนบุรี และ

จังหวดันครปฐม. วิทยานิพนธปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, กรุงเทพฯ. สุวิไล เปรมศรีรัตน. 2533. วิธีปองกันและรักษาโรคแบบพื้นบานชาวขมแุละสนทนาสาธารณสุข

การแพทยไทย-ขมุ. สถาบันวจิัยภาษาและวฒันธรรมเพื่อพัฒนาชนบท. มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.

สํานักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดลอม. 2539. ความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย

กระทรวงวิทยาศาสตร เทคโนโลยีและสิ่งแวดลอม. โรงพิมพคุรุสภาพลาดพราว, กรุงเทพฯ. FAO. 1989. Forestry and food security. FAO Forestey Paper No. 90. Hoskins N., 1990. The contribution of forestry to food security. Unasylva 17(2): 175-186. Yamane, Taro. 1970. Statistics : An Introductory Analysis. Harper International Edition, Tokyo. http://www.dtam.moph.go.th/indigenous/ratchapol14/antiflatulent.htm