บทที่ 1 -...

17
รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม 1-1 โรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต (ส่วนขยาย) ระหว่างเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2562 บริษัท ดุสิต แมนเนจเม้นท์ จำกัด บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2005 by TISI, ISO/IEC 17025:2017 by DSS บทที1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาของโครงการ โรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต บริหารงานโดย บริษัท ดุสิต แมนเนจเม้นท์ จำกัด ตั ้งอยู่เลขที 390 หมู่ 1 ถนนศรีสุนทร ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 83110 ได้ดำเนินธุรกิจโรงแรม โดยคำนึงถึงคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อม มาโดยตลอด ทางโรงแรมฯ จึงได้มอบหมายให้บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด เป็น ผู้ดำเนินการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ ่งแวดล้อม แห่งชาติ พ.ศ. 2535 และได้จัดทำรายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางของสำนักงานนโยบายและ แผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1.2 รายละเอียดของโครงการโดยสังเขป 1.2.1 ที่ตั้งโครงการ โรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต ตั้งอยู่เลขที390 หมู่ 1 ถนนศรีสุนทร ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เริ่มเปิดดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2530 มีพื้นที่โครงการทั้งหมด 75 ไร่ โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้ (ดังรูปที1-1) ทิศเหนือ ติดกับโรงแรมอลามันดา ลากูน่า ภูเก็ต ทิศใต้ ติดกับโรงแรมลากูน่าบีช รีสอร์ท ทิศตะวันออก ติดกับคาเนล วิลเลจ ทิศตะวันตก ติดกับหาดบางเทา

Transcript of บทที่ 1 -...

Page 1: บทที่ 1 - eia.onep.go.theia.onep.go.th/images/monitor/1584608725.pdfโรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต (ส่วนขยาย)

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบคณุภาพสิ่งแวดล้อม 1-1 โรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต (ส่วนขยาย) ระหว่างเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2562 บริษัท ดุสิต แมนเนจเม้นท์ จำกัด

บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2005 by TISI, ISO/IEC 17025:2017 by DSS

บทท่ี 1 บทนำ

1.1 ความเป็นมาของโครงการ

โรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต บริหารงานโดย บริษัท ดุสิต แมนเนจเม้นท์ จำกัด ตั ้งอยู ่เลขที ่ 390 หมู ่ 1 ถนนศรีสุนทร ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 83110 ได้ดำเนินธุรกิจโรงแรม โดยคำนึงถึงคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด ทางโรงแรมฯ จึงได้มอบหมายให้บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด เป็นผู้ดำเนินการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และได้จัดทำรายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1.2 รายละเอียดของโครงการโดยสังเขป

1.2.1 ท่ีต้ังโครงการ

โรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต ตั้งอยู่เลขที่ 390 หมู่ 1 ถนนศรีสุนทร ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เริ่มเปิดดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2530 มีพื้นที่โครงการทั้งหมด 75 ไร่ โดยมีอาณาเขตติดต่อดังน้ี (ดังรูปที่ 1-1)

ทิศเหนือ ติดกับโรงแรมอลามันดา ลากูน่า ภูเก็ต ทิศใต้ ติดกับโรงแรมลากูน่าบีช รีสอร์ท ทิศตะวันออก ติดกับคาเนล วิลเลจ ทิศตะวันตก ติดกับหาดบางเทา

Page 2: บทที่ 1 - eia.onep.go.theia.onep.go.th/images/monitor/1584608725.pdfโรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต (ส่วนขยาย)

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบคณุภาพสิ่งแวดล้อม 1-2 โรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต (ส่วนขยาย) ระหว่างเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2562 บริษัท ดุสิต แมนเนจเม้นท์ จำกัด

บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2005 by TISI, ISO/IEC 17025:2017 by DSS

รูปท่ี 1-1 แสดงท่ีต้ังโครงการ

Page 3: บทที่ 1 - eia.onep.go.theia.onep.go.th/images/monitor/1584608725.pdfโรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต (ส่วนขยาย)

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบคณุภาพสิ่งแวดล้อม 1-3 โรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต (ส่วนขยาย) ระหว่างเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2562 บริษัท ดุสิต แมนเนจเม้นท์ จำกัด

บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2005 by TISI, ISO/IEC 17025:2017 by DSS

การใช้ประโยชน์พื้นท่ีของโครงการ

ภายในพื้นที่ของโครงการมีการใช้พื้นที่หลากหลายรูปแบบ เพื่อให้บริการที่ครบวงจรแก่ผู้มาพักโรงแรมฯ ได้แก่ อาคารที่พัก สระว่ายน้ำ สนามฟุตบอล สนามกอล์ฟขนาดเล็ก (3 หลุม) ทะเลสาบ 3 แห่ง สำหรับกิจกรรมสันทนาการ เช่น สกีน้ำ วินเซิร์ฟ และเรือใบ มีพื้นที่เป็นสวนและสนามหญ้าประมาณ 50 ไร่

อาคารภายในพื้นที่ของโรงแรม ดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต ประกอบด้วย อาคาร 16 หลัง คือ อาคาร A-H อาคาร J-L และอาคาร 1-5 ในแต่ละอาคารมีการใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ดังน้ี

1) อาคาร A-D, อาคาร F-H และอาคาร J-L

เป็นอาคารสำหรับใช้เป็นที่พักสำหรับลูกค้าโดยเฉพาะ อาคารมีความสูง 3 ชั้น ในแต่ละอาคารแบ่งเป็นห้องพักแบบต่าง ๆ อีก 5 แบบ คือ ห้อง Princess Suite จำนวน 1 ห้อง ห้อง Deluxe Rooms จำนวน 183 ห้อง ห้อง Landmark Suite จำนวน 12 ห้อง และห้อง Dusit Club Room จำนวน 30 หอ้ง รวมจำนวนห้องพักทั้งหมด 226 ห้อง (ดังตารางที่ 1-1 และรูปที่ 1-2)

ตารางท่ี 1-1 จำนวนห้องพักแต่ละอาคาร

อาคาร หน่วย Princess Suite Deluxe Rooms Dusit Club Room Landmark Suite A ห้อง - 21 5 -

B ห้อง - 15 - 3

C ห้อง - 21 5 - D ห้อง - 15 4 3

F ห้อง - 15 - 3

G ห้อง - 21 4 - H ห้อง - 15 - 3

J ห้อง - 21 5 -

K ห้อง - 21 3 - L ห้อง 1 18 4 -

รวม ห้อง 1 183 30 12

Page 4: บทที่ 1 - eia.onep.go.theia.onep.go.th/images/monitor/1584608725.pdfโรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต (ส่วนขยาย)

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบคณุภาพสิ่งแวดล้อม 1-4 โรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต (ส่วนขยาย) ระหว่างเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2562 บริษัท ดุสิต แมนเนจเม้นท์ จำกัด

บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2005 by TISI, ISO/IEC 17025:2017 by DSS

2) อาคาร E

เป็นอาคารที่ใช้ประโยชน์เป็นแผนกต้อนรับ และให้บริการด้านต่างๆ ของโรงแรมฯ ได้แก่ ห้องล็อบบี้ ห้องประชุม ร้านค้าของที่ระลึก ภัตตาคาร และเลานจ์ เป็นต้น สำหรับรายละเอียดห้องประชุม และภัตตาคาร มีดังน้ี

(1) ห้องประชุมของโรงแรม ดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต มีจำนวน 4 ห้อง ได้แก่ Dusit Hall Laguna Hall Suriyan Room และ Chantra Room ซ่ึงแต่ละห้องมีพื้นที่ 140 90 54 และ 52 ตารางเมตร ตามลำดับ (2) ภัตตาคารมี จำนวน 4 ห้อง คือ - Ruen Thai เป็นภัตตาคารอาหารไทย สามารถรองรับผู้มาใช้บริการได้ 100 ที่นั่ง แบ่งเป็นห้องปรับอากาศ 60 ที่น่ัง และบริเวณเฉลียงด้านนอก 40 ที่น่ัง - La Trattoria เป็นภัตตาคารอาหารอิตาลี สามารถรองรับผู้มาใช้บริการได้ 100 ที่นั่ง ตั้งอยู่บริเวณสวนหย่อมใกล้สระว่ายน้ำ - Laguna Cafe เป็นห้องอาหารตั้งอยู่บริเวณชั้น 1 ของอาคาร E มีที่น่ังทั้งหมด 94 ที่น่ัง - Casuarina Hut เป็นห้องอาหาร Seafood Thai Style สามารถรองรับผู ้มาใช้บริการได้ 62 ที ่น่ัง แบ่งเป็นภายนอกอาคาร (On the beach) 28 ที่น่ัง ภายในห้องอาหาร Casuarina hut

ทั้งน้ีภัตตาคาร Ruen Thai La Trattoria และ Casuarina hut มีห้องครัวของแต่ละภัตตาคารต่างหาก ซ่ึงแยกจากห้องครัวของโรงแรมฯ ส่วนภัตตาคาร Laguna Cafe ใช้ห้องครัวหลัก (Main Kitchen) ของทางโรงแรมฯ ซึ่งตั้งอยู่ภายใน ตัวอาคาร นอกจากน้ี ภายในพื้นที่โครงการ ยังประกอบด้วย - Pool Side Bar ตั้งอยู่บริเวณสระว่ายน้ำของโรงแรมฯ ส่วน Horizon Lounge ตั้งอยู่ที่ Lobby บริเวณชั้น 2 ของอาคาร E - สนามฟุตบอลขนาดเล็ก จำนวน 1 สนาม - สระว่ายน้ำ จำนวน 1 สระ - สนามกอล์ฟขนาดเล็ก (3 หลุม) จำนวน 1 สนาม - พื้นที่สวน และสนามหญ้าประมาณ 50 ไร่

3) อาคาร 1-5

เป็นอาคาร Villa สำหรับใช้เป็นที่พักสำหรับลูกค้าโดยเฉพาะ อาคารมีความสูง 2 ชั้น ในแต่ละอาคารแบ่งเป็นห้องพักตามจำนวนดังน้ี คือ อาคาร 1 จำนวน 7 ห้อง อาคาร 2 จำนวน 7 ห้อง อาคาร 3 จำนวน 4 ห้อง อาคาร 4 จำนวน 4 ห้อง และอาคาร 5 จำนวน 6 ห้อง รวมจำนวนห้องพักทั้งหมด 28 ห้อง (ดังรูปที่ 1-2)

Page 5: บทที่ 1 - eia.onep.go.theia.onep.go.th/images/monitor/1584608725.pdfโรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต (ส่วนขยาย)

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบคณุภาพสิ่งแวดล้อม 1-5 โรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต (ส่วนขยาย) ระหว่างเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2562 บริษัท ดุสิต แมนเนจเม้นท์ จำกัด

บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2005 by TISI, ISO/IEC 17025:2017 by DSS

รูปท่ี 1-2 แสดงการใช้ประโยชน์ท่ีดินของโครงการฯ

ท่ีมา: โรงแรมดุสติธานี ลากูน่า ภูเก็ต, 2561

Page 6: บทที่ 1 - eia.onep.go.theia.onep.go.th/images/monitor/1584608725.pdfโรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต (ส่วนขยาย)

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบคณุภาพสิ่งแวดล้อม 1-6 โรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต (ส่วนขยาย) ระหว่างเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2562 บริษัท ดุสิต แมนเนจเม้นท์ จำกัด

บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2005 by TISI, ISO/IEC 17025:2017 by DSS

รูปท่ี 1-2 (ต่อ) แสดงการใช้ประโยชน์ท่ีดินของโครงการฯ

ที่มา: โรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต, 2561

Page 7: บทที่ 1 - eia.onep.go.theia.onep.go.th/images/monitor/1584608725.pdfโรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต (ส่วนขยาย)

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบคณุภาพสิ่งแวดล้อม 1-7 โรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต (ส่วนขยาย) ระหว่างเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2562 บริษัท ดุสิต แมนเนจเม้นท์ จำกัด

บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2005 by TISI, ISO/IEC 17025:2017 by DSS

กิจกรรมภายในโครงการ

1) การดำเนินงานในด้านการบำบัดน้ำเสีย

(1) แหล่งท่ีมาและปริมาณน้ำเสีย

ระบบบำบัดน้ำเสียของโรงแรม ดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต รองรับน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากทุกกิจกรรมภายในโรงแรมฯ เช่น ห้องครัว ห้องน้ำ ห้องส้วม และห้องพักแขก เป็นต้น โดยน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมในห้องครัวจะต้องผ่านถังดักไขมันก่อนเข้ามาในระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อเป็นการลดปริมาณไขมันก่อนเข้าระบบบำบัดน้ำเสียให้มีปริมาณน้อยที่สุด เนื่องจากไขมันเป็นสาเหตุให้ประสิทธิภาพในการบำบัดลดลง ดังน้ันจึงต้องตักไขมันออกจากบ่อดักไขมันเป็นประจำ ซ่ึงโรงแรมฯ จะสูบไขมันออกจากบ่อโดยเฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณของไขมันในบ่อดักไขมันด้วย และปริมาณน้ำเสียเมื่อคิดเป็นค่าเฉลี่ย ทั้งปีจะมีอัตราการไหลเท่ากับ 200 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน อย่างไรก็ตามปริมาณน้ำเสียที่เข้ามาบำบัดในแต่ละวันจะแปรผันตามจำนวนของผู้มาใช้บริการเป็นหลัก

(2) รายละเอียดของระบบบำบัดน้ำเสีย

ระบบบำบัดน้ำเสียของโรงแรมฯ เป็นระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพชนิดตะกอนเร่ง (Activated Sludge, AS) ซึ ่งอาศัยกลไกการย่อยสลายสารอินทรีย์แบบใช้ออกซิเจน ในการบำบัดความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ ( Biochemical Oxygen Demand, BOD) ในน้ำเสีย ระบบบำบัดน้ำเสียดังกล่าวได้ร ับการออกแบบก่อสร้างให้สามารถรองรั บน้ำเส ียได้ประมาณ 480 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน โดยคำนวณจากร้อยละ 80 ของปริมาณน้ำใช้สูงสุด ซ่ึงเท่ากับ 600 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน สำหรับส่วนประกอบของระบบบำบัดน้ำเสียของโรงแรมฯ ประกอบด้วย (ดังรูปที่ 1-3)

- บ่อรวบรวมน้ำเสีย (บ่อปรับเสถียร, Equalizing Tank) เนื ่องจากระบบบำบัดน้ำเสียของโรงแรมฯ เป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบชีวภาพซึ ่งมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของน้ำเสียทั้งในเชิงปริมาณ และคุณภาพ กล่าวคือ หากน้ำเสียที่เข้าสู่ระบบมีความแปรปรวนของอัตราการไหลหรือความเข้มข้นของน้ำเสียมาก จุลินทรีย์ไม่สามารถดำรงชีวิตตามปกติได้ จะส่งผลถึงคุณภาพของน้ำทิ้งที่ออกจากระบบบำบัด จึงจำเป็นต้องมีบ่อรวบรวมน้ำเสียเป็นองค์ประกอบหน่ึงของระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อทำหน้าที่รวบรวมน้ำเสียให้ผสมกันจนมีคุณลักษณะใกล้เคียงกัน และยังสามารถสูบเข้าบ่อเติมอากาศ (Aeration Tank) ได้อย่างต่อเน่ืองในปริมาณคงที่อีกด้วย สำหรับบ่อรวบรวมน้ำเสียของโรงแรมฯ เป็นบ่อที่ปรับปรุงมาจากระบบบำบัดน้ำเสียเดิม ทำหน้าที่รวบรวมน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมทุกประเภทของโรงแรมฯ น้ำเสียจากห้องครัวจะผ่านถังดักไขมัน (Grease Trap) เพื่อลดปริมาณไขมันที่จะเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย และน้ำเสียจากห้องส้วมจะถูกส่งเข้าบ่อเกรอะ (Septic Tank) เพื่อลดความสกปรกส่วนหน่ึงก่อนเข้ามาในบ่อรวบรวมน้ำเสียน้ี

Page 8: บทที่ 1 - eia.onep.go.theia.onep.go.th/images/monitor/1584608725.pdfโรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต (ส่วนขยาย)

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบคณุภาพสิ่งแวดล้อม 1-8 โรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต (ส่วนขยาย) ระหว่างเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2562 บริษัท ดุสิต แมนเนจเม้นท์ จำกัด

บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2005 by TISI, ISO/IEC 17025:2017 by DSS

- บ่อเติมอากาศ (Aeration Tank) เป็นองค์ประกอบหลักอย่างหน่ึงของระบบบำบัดน้ำเสียแบบตะกอนเร่ง (Activated Sludge) ทำหน้าที่เลี้ยงตะกอน จุลินทรีย์ ซึ่งจุลินทรีย์กลุ่มหลัก คือ แบคทีเรีย (Bacteria) จะบำบัดความสกปรกของน้ำเสียในรูปของสารอินทรีย์ โดยการเปลี่ยนความสกปรกเหล่านี้ให้กลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) น้ำ (H2O) และเซลล์แบคทีเรียเซลล์ใหม่ ด้วยอาศัยกลไกการย่อยสลายสารอินทรีย์ทางชีวภาพแบบใช้ออกซิเจน เซลล์จุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นต้องเจริญแบบเกาะกันเป็นฟลอค (Floc, ปุย) จึงพร้อมจะตกตะกอนแยกจากน้ำทิ้งได้ง่าย ทำให้น้ำทิ้งมีคุณภาพผ่านตามมาตรฐาน บ่อเติมอากาศของโรงแรมฯ มีลักษณะเป็นบ่อที่มีผนังก้ันแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ซ่ึงแต่ละส่วนสามารถเชื่อมต่อกันได้ ในบ่อนี้ต้องมีการควบคุมปริมาณออกซิเจนละลายให้พอเหมาะ เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของแบคทีเรียในการย่อยสลายสารอินทรีย์ (ค่าที่เหมาะสมจะอยู่ในช่วง 1-2 มิลลิกรัมต่อลิตร) และจะต้องควบคุมการกวนผสมภายในบ่อให้ตะกอนจุลินทรีย์สัมผัสกับน้ำเสียได้อย่างทั่วถึง โดยโรงแรมฯ ได้ทำการติดตั้งเครื่องเติมอากาศ (Aerator) ไว้ทั้งหมด จำนวน 9 เครื่อง แบ่งเป็นส่วนละ 3 เครื่อง เปิดทำงานพร้อมกันทั้ง 3 ส่วน ส่วนละ 1 เครื่อง เป็นเวลา 8 ชั่วโมงต่อเครื่องต่อวัน สลับกันไป ทำให้สามารถทำการเติมอากาศได้ทั่วถึงตลอดเวลาทั้ง 3 ส่วน และถือเป็นเรื่องของความปลอดภัย (Safety Factor) สำหรับ ในกรณีที่เครื่องเติมอากาศตัวใดตัวหนึ่งเกิดการชำรุด ก็สามารถเดินเครื่องเติมอากาศตัวอื่นทดแทนในขณะที่ทำการซ่อมแซมแก้ไขได้ ทำให้สามารถเดินระบบบำบัดน้ำเสียได้อย่างต่อเน่ือง

- บ่อตกตะกอน (Sedimentation Tank) เป็นบ่อตกตะกอนรูปสี่เหลี ่ยม ทำหน้าที่แยกตะกอนจุลินทรีย์ออกจากน้ำทิ้ง (Effluent) ที่ผ่านการบำบัดแล้ว จากบ่อเติมอากาศ โดยอาศัยหลักการตกตะกอนตามแรงโน้มถ่วง (Gravity Settling) ทำให้เซลล์แบคทีเรียตกลงด้านล่างของบ่อ แยกกับส่วนที่เป็นน้ำใสด้านบน จุลินทรีย์ที่ตกตะกอนอยู่ด้านล่าง ส่วนหนึ่งจะถูกสูบไปเก็บไว้ยังถังเก็บเชื้อ ( Digester Tank) อีกส่วนหน่ึงจะสูบกลับไปยังบ่อเติมอากาศ (Return Sludge) เพื่อรักษาปริมาณจุลินทรีย์ในบ่อเติมอากาศให้เหมาะสมกับการบำบัดน้ำเสียตลอดเวลา ส่วนที่เป็นน้ำทิ้ง (Effluent) ด้านบน โดยจะไหลลงสู่บ่อเติมคลอรีน (Chlorine Contact Tank) ต่อไป

- บ่อเติมคลอรีน (Chlorine Contact Tank) เพื่อลดผลกระทบอันอาจเกิดจากแบคทีเรีย หรือจุลินทรีย์อ่ืน ต่อสิ่งแวดล้อม จึงมีการเติมคลอรีนลงในน้ำทิ้งจากบ่อตกตะกอนก่อนจะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือนำกลับมาใช้ใหม่ (Reused) เพื่อกำจัดจุลินทรีย์เหล่าน้ีในบ่อเติมคลอรีน หลังจากเติมคลอรีนให้กับน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดแล้ว (Effluent) น้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดแล้วนี้ต้องมีคุณภาพอยู่ในมาตรฐาน น้ำท ิ ้งจากอาคารประเภท ก ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาต ิ และสิ ่งแวดล้อม พ.ศ. 2548 ม ีค ่าบ ีโอดี (Biochemical Oxygen Demand, BOD) ไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อลิตร และสารแขวนลอยทั ้งหมด (Total Suspended Solids, TSS) ไม่เกิน 30 มิลลิกรัมต่อลิตร

Page 9: บทที่ 1 - eia.onep.go.theia.onep.go.th/images/monitor/1584608725.pdfโรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต (ส่วนขยาย)

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบคณุภาพสิ่งแวดล้อม 1-9 โรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต (ส่วนขยาย) ระหว่างเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2562 บริษัท ดุสิต แมนเนจเม้นท์ จำกัด

บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2005 by TISI, ISO/IEC 17025:2017 by DSS

รูปท่ี 1-3 ขั้นตอนการบำบัดน้ำเสีย ของโรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต

Septic

Grease Trap Equalizing Tank

Sump Pump

Contact Tank

Stabilization Tank

Sludge Digestio

n

Distribution Box

Sludge

Chlorine Contact

Tank Effluent Storage

for Irrigation

Air Supply

Sludge

Air Supply

Supernatant

Air Supply

Sedimentation Tank

Sewage

Cooking

Ect.

Drain to Public Supernatant

ที่มา: โรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต , 2561

Page 10: บทที่ 1 - eia.onep.go.theia.onep.go.th/images/monitor/1584608725.pdfโรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต (ส่วนขยาย)

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบคณุภาพสิ่งแวดล้อม 1-10 โรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต (ส่วนขยาย) ระหว่างเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2562 บริษัท ดุสิต แมนเนจเม้นท์ จำกัด

บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2005 by TISI, ISO/IEC 17025:2017 by DSS

2) การดำเนินงานด้านน้ำใช้

โรงแรม ดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต ใช้น้ำประปาจาก บริษัท ลากูน่าเซอร์วิส จำกัด ซ่ึงเป็นบริษัทที่อยู่ในเครือเดียวกัน โดยทางบริษัทฯ มีอัตรากำลังการผลิตน้ำได้สูงสุด 7,080 ลูกบาศก์เมตร/วัน ในปัจจุบันทางบริษัทฯ จ่ายน้ำให้กับโรงแรมในเครือทั้งหมดประมาณ 3,800 ลูกบาศก์เมตร/วัน โดยทางโรงแรมฯ จะเก็บน้ำไว้ในถังพักน้ำดิบ ขนาด 1,150 ลูกบาศก์เมตร ก่อนนำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ ของโรงแรมฯ รวมทั้งเป็นน้ำสำรองสำหรับดับเพลิงด้วย สำหรับน้ำใช้ในกิจกรรมภายในห้องครัว จะต้องนำมาผ่านขั้นตอนการปรับปรุงคุณภาพก่อนนำไปใช้ ประกอบด้วยการกรองผ่ านเครื่องลดความกระด้าง (เครื่องทำน้ำอ่อน, Softener) แล้วนำไปเก็บไว้ในถังขนาด 12 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 2 ถัง นอกจากนี้ทางโรงแรมฯ ได้มีมาตรการป้องกันเหตุฉุกเฉิน ในกรณีที่ปริมาณน้ำใช้ไม่เพียงพอต่อความต้องการหรืออยู่ในระหว่างการปิดปรับปรุงระบบน้ำใช้ โดยได้ทำการจัดเตรียมถังพักน้ำขนาดใหญ่ ซ่ึงมีความจุที่สามารถใช้ได้อย่างเพียงพอประมาณ 2-3 วัน และยังได้จัดเตรียมรถบรรทุกน้ำในกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้น้ำจากแหล่งอ่ืนอีกด้วย (ดังรูปที่ 1-4)

3) การดำเนินงานด้านสระว่ายน้ำ

โรงแรม ดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต มีสระว่ายน้ำจำนวน 1 สระ ภายในบริเวณสระมีป้ายบอกความลึก และระเบียบการใช้สระอย่างชัดเจน รวมทั้งจัดให้มีผู้ดูแลความปลอดภัย (Life Guard) เพื่อดูแลความปลอดภัย ให้กับผู้ที่มาใช้บริการ และลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้อีกด้วย น้ำที่ใช้ในสระจะผ่านการกรองด้วยถังกรอง Diatomaceous Earth (อาจเรียก ถังกรองผ้า) จำนวน 3 ใบ ซ่ึงอาศัยหลักการกรองแบบเค้ก (Cake Filtration) ซ่ึงมีประสิทธิภาพในการกรองสิ่งสกปรกในน้ำได้ละเอียดกว่าการกรองด้วยถังกรองทรายเร็ว (Rapid Sand Filter) ที่ใช้กันโดยทั่ว ส่วนการเติมคลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรคน้ัน จะใช้คลอรีนเหลว เติมอัตโนมัติ ซึ่งควบคุมอยู่ในช่วงที่เหมาะสม คือ มากกว่า 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามมาตรการกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และมีการตรวจวัดความเป็นกรดและด่าง (pH) ให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม คือ อยู่ในช่วง 7.2-8.4 ทั้งน้ีทางโรงแรมมีการตรวจวัดคุณภาพน้ำในสระว่ายน้ำทุกวัน โดยตรวจวัดค่าคลอรีนคงเหลือ และค่าความเป็นกรดและด่าง ในช่วงเวลา 06:00 น. 10:00 น. 14:00 น และ 22:00 น. ของทุกวัน (ดังรูปที่ 1-5)

Page 11: บทที่ 1 - eia.onep.go.theia.onep.go.th/images/monitor/1584608725.pdfโรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต (ส่วนขยาย)

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบคณุภาพสิ่งแวดล้อม 1-11 โรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต (ส่วนขยาย) ระหว่างเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2562 บริษัท ดุสิต แมนเนจเม้นท์ จำกัด

บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2005 by TISI, ISO/IEC 17025:2017 by DSS

รูปท่ี 1-4 แสดงระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำใช้

บ่อพักน้ำดับเพลิง บ่อพักน้ำสำรอง

บ่อพักน้ำ

วาล์ว BY PASS

ถังกรอง

น้ำใช้

น้ำด่ืม

Page 12: บทที่ 1 - eia.onep.go.theia.onep.go.th/images/monitor/1584608725.pdfโรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต (ส่วนขยาย)

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบคณุภาพสิ่งแวดล้อม 1-12 โรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต (ส่วนขยาย) ระหว่างเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2562 บริษัท ดุสิต แมนเนจเม้นท์ จำกัด

บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2005 by TISI, ISO/IEC 17025:2017 by DSS

รูปท่ี 1-5 แสดงระบบการหมุนเวียนน้ำในสระว่ายน้ำ

Swimming Pool

SurgeTank Pump

Pump

Filter

Tank Filter

Tank Filter

Tank

Water Supply Pipe 1.5”

Page 13: บทที่ 1 - eia.onep.go.theia.onep.go.th/images/monitor/1584608725.pdfโรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต (ส่วนขยาย)

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบคณุภาพสิ่งแวดล้อม 1-13 โรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต (ส่วนขยาย) ระหว่างเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2562 บริษัท ดุสิต แมนเนจเม้นท์ จำกัด

บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2005 by TISI, ISO/IEC 17025:2017 by DSS

4) การดำเนินงานด้านการรวบรวม และกำจัดมูลฝอย

ระบบรวบรวม และกำจัดมูลฝอย ทางโรงแรมฯ จัดให้มีถังรองรับมูลฝอยในห้องพัก และบริเวณทางเดินภายนอกอาคารเป็นระยะ ๆ สำหรับรองรับปริมาณมูลฝอยทั้งหมดที่เกิดขึ้นประมาณ 2-3 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน แล้วทำการแยกประเภทมูลฝอยออกเป็น มูลฝอยเปียก มูลฝอยแห้ง และมูลฝอยอันตราย ก่อนที่จะนำมูลฝอยไปเก็บรวบรวมในห้องเก็บมูลฝอยที่บริเวณชั้น 1 ซ่ึงแบ่งเป็นห้องสำหรับเก็บมูลฝอยเปียก และมูลฝอยแห้ง อย่างละ 1 ห้อง มีขนาด 2.5 x 3.3 x 3.0 ลูกบาศก์เมตร และ 3.0 x 3.5 x 3.0 ลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ซ่ึงมีปริมาตรเพียงพอที่จะรองรับมูลฝอยที่เกิดขึ้นจากโครงการได้มากกว่า 3 วัน โดยภายในห้องเก็บมูลฝอยเปียกมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศเพื่อควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อโรค และรักษาสภาพมูลฝอยไม่ให้เกิดการย่อยสลาย เกิดกลิ่นเหม็น หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงไปก่อนทำการขนย้าย ส่วนมูลฝอยแห้งจะถูกนำไปใส่ถุงดำ และนำไปพักไว้ที่ห้องเก็บมูลฝอยแห้งเพื่อรอการขนย้ายไปกำจัดอีกต่อไป

การเก็บรวบรวมและขนย้ายมูลฝอยไปกำจัด ดำเนินการโดยบริษัทเอกชน ภายใต้ใบอนุญาตขององค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล ซึ่งจะมาเก็บขนไปวันละ 2 ครั้ง ในเวลา 07:00 น. และ 15:00 น. ของทุกวัน เพื่อรองรับมูลฝอยทั้งในช่วงกลางวัน และช่วงกลางคืน และนำไปกำจัดต่อไปโดยการเผาที่โรงเผาขยะมูลฝอยจังหวัดภูเก็ต หลังจากทำการขนย้ายมูลฝอยเปียกเสร็จสิ้นในแต่ละครั้ง จะใช้น้ำฉีดล้างทำความสะอาดภายในห้องทุกครั้ง น้ำเสียที่เกิดขึ้นจากขบวนการน้ีถูกรวบรวมกลับเข้าไปในระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อทำการบำบัดต่อไป โดยมูลฝอยประเภทเศษหญ้า และก่ิงไม้จะมีการแยกห้องไว้ต่างหาก และขนย้ายวันละ 1 เที ่ยว นอกจากนี ้เศษหญ้า เศษผักผลไม้ จะนำมาทำปุ ๋ยหมักชีวภาพ สำหรับมูลฝอยที ่นำกลับไปใช้ใหม่ได้ (Recycle) เช่น ขวดแก้ว โรงแรมฯ ได้แยกจัดเก็บไว้ต่างหากเพื่อรอจำหน่าย อีกทั้งยังเป็นการลดมูลฝอยที่ต้องกำจัดของโรงแรมฯ ไปได้ส่วนหน่ึง

5) การดำเนินงานด้านความปลอดภัย

โรงแรม ด ุส ิตธานี ลากูน ่า ภ ูเก ็ต ได ้จ ัดให ้ม ีระบบป้องกันอัคค ีภัยไว้ในทุกห ้องพัก และในบร ิเวณต่าง ๆ ของอาคาร โดยทุกห้องพักมีการติดตั้งเครื่องดักจับควัน (Smoke Detector) ไว้ภายในห้องพักทุกห้อง สำหรับในห้องครัวซ่ึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยสูง ทางโรงแรมฯ ได้ติดตั้งเครื่องจับกลิ่นก๊าซเพื่อป้องกันกรณีที่ก๊าซรั่วและเครื่องตรวจจับความร้อน (Heat Detector) อีกทั้งยังติดตั้งถังดับเพลิงเคมีชนิดพิเศษ ติดตั้งหัวโปรยน้ำฝอย (Sprinkle) ไว้บริเวณเตาประกอบอาหาร สำหรับบริเวณทางเดินโดยรอบอาคารได้ติดตั้งตู้เก็บอุปกรณ์ดับเพลิง (Fire Hose Cabinet, FHC) ซึ่งประกอบด้วย ถังดับเพลิงขนาด 15 ปอนด์ 1 ถัง และสายดับเพลิงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 นิ้ว ยาว 20 เมตร หากเกิดเหตุไฟไหม้ขึ้นภายในตัวอาคาร ระบบสัญญาณไฟ จะส่งไปยังแผงสัญญาณควบคุมกลาง (Fire Alarm Control Panel with Graphic Annunciator) ในห้องเครื่องชั้นล่าง และมีสัญญาณเตือนภัยอัตโนมัติให้ทุกคนในบริเวณรับทราบเหตุการณ์ โดยเจ้าหน้าที่ของทางโรงแรมฯ จะทำการดับเพลิงทันที ทั้งนี้ทางโรงแรมฯ ได้ดำเนินการจัดให้มีพนักงานควบคุมตรวจสอบดูแลรักษาระบบอยู่เป็นประจำ ทุกวันที่ 1 ของแต่ละเดือน นอกจากน้ียังได้ติดตั้งไฟฟ้าฉุกเฉิน กริ่งสัญญาณเตือนภัย (Alarm Bell) แผนผังทางเดินหนีไฟ และบันไดหนีไฟ ตามจุดต่าง ๆ ในทุกชั้นของอาคารทุกหลัง ภายในตัวอาคารมีป้ายแสดงทางหนีไฟชัดเจน และในห้องพักมีผังแสดงตำแหน่งเพื่อประโยชน์ในการหนีไฟ ในกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้ผู้พักอาศัยสามารถมารวมตัวกันได้ที่จุดรวมพลบริเวณชายหาดบางเทา ซ่ึงอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของตัวโครงการ

Page 14: บทที่ 1 - eia.onep.go.theia.onep.go.th/images/monitor/1584608725.pdfโรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต (ส่วนขยาย)

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบคณุภาพสิ่งแวดล้อม 1-14 โรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต (ส่วนขยาย) ระหว่างเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2562 บริษัท ดุสิต แมนเนจเม้นท์ จำกัด

บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2005 by TISI, ISO/IEC 17025:2017 by DSS

ระบบน้ำสำรองเพื่อการดับเพลิงมีสระว่ายน้ำและทะเลสาบของโรงแรมฯ สำหรับน้ำสำรองเพื่อการดับเพลิงจากบ่อเก็บน้ำใต้ดินมีปั๊มสูบน้ำดับเพลิง (Fire Pump) ซ่ึงสูบน้ำจากบ่อเก็บน้ำใต้ดิน (Underground Tank) ผ่านท่อขนาด 8 น้ิว แล้วจ่ายน้ำเข้า Fire Hose Cabinet (FHC) และ Hydrant System รอบอาคาร ส่วนน้ำสำรองสำหรับดับเพลิงจากสระว่ายน้ำ และทะเลสาบ สามารถสูบขึ้นมาใช้ในกรณีฉุกเฉินได้เช่นกัน

การจัดอบรมซ้อมด ับเพลิง โดยสำนักงานเทศบาลเมืองป ่าตอง เป ็นประจำทุกป ี ซ ึ ่งผ ู ้ เข ้าร ับการอบรม ในแต่ละครั้งเป็นพนักงานทุกแผนก และพนักงานดูแลความปลอดภัย โดยในปี พ.ศ. 2562 ทางโรงแรมฯ ดำเนินการจัดอบรมในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 นอกจากนี้ทางโรงแรมฯ ยังได้จัดแยกสถานที่สำหรับเก็บวัตถุไวไฟโดยเฉพาะแยกจากตัวอาคาร เพื่อให้มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น

6) การดำเนินการด้านการระบายน้ำ

มีการจัดการด้านรางระบายน้ำรอบพื้นที่โรงแรมฯ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง และมีตะแกรงดักเศษมูลฝอยก่อนไหลลงสู่รางระบายน้ำ ทั้งนี้ยังมีเจ้าหน้าที่ดูแล และทำความสะอาดเป็นประจำ ซึ่งน้ำฝนที่ตกลงมาบนพื้นที่โครงการจะไหลลงสู่ท่อระบายน้ำ ซ่ึงเป็นระบบระบายน้ำฝนแยกกับน้ำเสีย ส่วนน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากแต่ละอาคารจะไหลมาลงบ่อรวบรวมน้ำเสีย และถูกสูบผ่านไปที่ระบบบำบัดน้ำเสียรวม โดยน้ำทิ้งดังกล่าวจะถูกนำไปรดน้ำต้นไม้ภายในพื้นที่โครงการ สำหรับการระบายน้ำในช่วงที่ฝนตก น้ำฝนจะไหลไปตามแนวท่อ ซ่ึงจะผ่านบ่อดักขยะก่อนจะไหลลงสู่ทะเลสาบขนาดใหญ่ที่อยู่ด้านทิศเหนือต่อไป

7) การดำเนินการด้านพื้นท่ีสีเขียว

บริเวณโดยรอบโรงแรมฯ ได้มีการจัดสวน และตกแต่งต้นไม้ให้สวยงาม พร้อมทั้งมีการนำต้นไม้มาปลูกเพิ่มเติม เพื่อทำให้มีทัศนียภาพที่สวยงามร่มรื่น นอกจากน้ียังเป็นที่อยู่อาศัยและอาหารของนกและแมลงต่าง ๆ และยังจัดให้มีเจ้าหน้าที่ดูแลรับผิดชอบตลอดทั้งโครงการ

8) การดำเนินการด้านการคมนาคมขนส่ง

ด้านการคมนาคมขนส่งโดยรอบโรงแรมฯ มีการจัดพื ้นที ่ให ้ม ีบร ิเวณที ่จอดรถเพียงพอกับปริมาณรถของ ผู ้ที ่มาพักอาศัยและเพียงพอกับปริมาณของรถเจ้าหน้าที ่ของโรงแรมฯ และยังจัดให้มีป้ายจราจรต่าง ๆ แสดงชัดเจน เพื ่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ โดยปัจจุบันทางโรงแรมฯ มีที ่จอดรถรถยนต์จำนวน 28 คัน และที ่จอดรถบัสจำนวน 5 คัน พร้อมกับมีเส้นทางเชื่อมต่อกับตัวโครงการอันได้แก่ ทางหลวงหมายเลข 4030 และถนนสาธารณะที่ใช้เป็นทางเข้า-ออกของโรงแรมในเครือลากูน่า

9) การดำเนินการด้านการป้องกันเชื้อลีจิโอเนลลา

การดำเนินการป้องกันเช ื ้อล ีจ ิโอเนลลา ภายในโรงแรมฯ ใช ้ระบบปร ับอากาศแบบหน่วยกลางบร ิ เ วณ หอผึ่งน้ำ (Cooling Tower) มีการดูแลและทำความสะอาดอยู ่เสมอ ทางโรงแรมฯ มีการจ้างบริษัทเอกชนมาดำเนินการตรวจวัดทุก 3 เดือน

10) การดำเนินการด้านการระบายอากาศ

ทางโรงแรมฯ ได้จัดให้มีเครื่องดูดอากาศบริเวณห้องครัว และมีเจ้าหน้าที่ดูแลทำความสะอาดเป็นประจำ

Page 15: บทที่ 1 - eia.onep.go.theia.onep.go.th/images/monitor/1584608725.pdfโรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต (ส่วนขยาย)

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบคณุภาพสิ่งแวดล้อม 1-15 โรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต (ส่วนขยาย) ระหว่างเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2562 บริษัท ดุสิต แมนเนจเม้นท์ จำกัด

บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2005 by TISI, ISO/IEC 17025:2017 by DSS

11) การดำเนินการด้านสาธารณสุข

ทางโรงแรมฯ ได้จัดให้มีระบบการจัดการด้านสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม โดยมีการจัดเก็บมูลฝอยจากโครงการทุกวัน การบำบัดน้ำเสียสามารถบำบัดให้คุณภาพน้ำทิ้งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกำหนด มีระบบระบายน้ำที่ดี รวมทั้งมีการจัดการเรื่องน้ำอุปโภคบริโภคที่สะอาดและเพียงพอต่อความต้องการของผู้ที่เข้ามาพักภายในโครงการ ซึ่งการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมน้ีเป็นการช่วยลดปัญหาที่จะส่งผลกระทบต่อชุมชนใกล้เคียงพื้นที่โครงการ

1.3 ความเป็นมาของการจัดทำรายงาน

โรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต ได้มอบหมายให้บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ดำเนินการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม พร้อมทั ้งจัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และเสนอต่อหน่วยงานอนุญาตปีละ 2 ครั้ง

1.4 แผนการดำเนินการตามมาตรการการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม

แผนการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งมีรายละเอียดแผนการดำเนินงานแสดงไว้ในตารางที่ 1-2

Page 16: บทที่ 1 - eia.onep.go.theia.onep.go.th/images/monitor/1584608725.pdfโรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต (ส่วนขยาย)

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบคณุภาพสิ่งแวดล้อม 1-16 โรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต (ส่วนขยาย) ระหว่างเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2562 บริษัท ดุสิต แมนเนจเม้นท์ จำกัด

บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2005 by TISI, ISO/IEC 17025:2017 by DSS

ตารางท่ี 1-2 แผนการดำเนินการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมโรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต

มาตรการติดตามตรวจสอบ วิธีการติดตามตรวจสอบ ดัชนีการติดตามตรวจสอบ ความถี่และช่วงเวลาในการติดตามตรวจสอบ 1.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ Activated Sludge, AS

1. ตรวจสอบการทำงานของระบบและประเมินความสามารถในการรองรับน้ำเสียโดยพิจารณาจากแบบแปลนและรายการคำนวณที่ได้ออกแบบไว้เปรียบเทียบกับปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้นจริง 2. ติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำเสียก่อนเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย 3. ติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งหลังจากผ่านการบำบัดแล้ว 4. หาประส ิทธิภาพการบำบัดของระบบฯโดยพิจารณาจาก การเปรียบเทียบคุณภาพน้ำเสีย ก่อนเข้าสู ่ระบบ และน้ำทิ้งหลังจากผ่านการบำบัดแล้ว

- น้ำเสียก่อนเข้าระบบบำบัดน้ำเสีย - น้ำทิ้งหลังผ่านการบำบัดแล้ว 1. ความเป็นกรดและด่าง 2. บีโอดี 3. สารแขวนลอยทั้งหมด 4. สารที่ละลายได้ทั้งหมด 5. ทีเคเอ็น 6. ตะกอนหนัก 7. ซัลไฟด์ 8. น้ำมันและไขมัน 9. แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด (เฉพาะน้ำทิง้หลังผ่านการบำบัดแล้ว)

- ตรวจสอบสภาพการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียพร้อมทั ้งเก็บตัวอย่างน้ำ เพื ่อส่งตรวจวิเคราะห์เป็นประจำทุกเดือน - สรุปรายงานผลการติดตามตรวจสอบส่งให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาเป็นประจำทุก 6 เดือน

2. ต ิดตามตรวจสอบค ุณภาพ น้ำทะเลสาบด้านทิศเหนือของโครงการ (เริ ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา)

- บริเวณทะเลสาบด้านทิศเหนือของโครงการ - น้ำทะเลสาบด้านทิศเหนือของโครงการ 1. ความเป็นกรดและด่าง 2. บีโอดี 3. สารแขวนลอยทั้งหมด 4. ออกซิเจนละลาย 5. น้ำมันและไขมัน 6. ไนเตรท-ไนโตรเจน 7. แบคทีเรียกลุ่มฟีคัลโคลิฟอร์มทั้งหมด

- ตรวจวิเคราะห์เป็นประจำทุกเดือน - สรุปรายงานผลการติดตามตรวจสอบส่งให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาเป็นประจำทุก 6 เดือน

Page 17: บทที่ 1 - eia.onep.go.theia.onep.go.th/images/monitor/1584608725.pdfโรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต (ส่วนขยาย)

รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบคณุภาพสิ่งแวดล้อม 1-17 โรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต (ส่วนขยาย) ระหว่างเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2562 บริษัท ดุสิต แมนเนจเม้นท์ จำกัด

บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2005 by TISI, ISO/IEC 17025:2017 by DSS

ตารางท่ี 1-2 (ต่อ) แผนการดำเนินการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมโรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต

มาตรการติดตามตรวจสอบ วิธีการติดตามตรวจสอบ ดัชนีการติดตามตรวจสอบ ความถี่และช่วงเวลาในการติดตามตรวจสอบ 3. การปฏิบัติตามเงื่อนไขของมาตรการลดผลกระทบสิง่แวดล้อม

- ตรวจสอบตามมาตรการลดผลกระทบสิ ่งแวดล้อมที่ระบุไว ้ ใน รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)

- ติดตามตรวจสอบเป็นประจำทุก 6 เดือน - ดำเนินการเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 - สรุปรายงานผลการติดตามตรวจสอบส่งมอบให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาเป็นประจำทุก 6 เดือน

4. การจัดทำรายงาน - - - ส่งพิจารณาเป็นประจำทุก 6 เดือน