ACADEMIC ADMINISTRATION STRATEGIES TO PROMOTE …สร้างสารสนเทศ...

10
วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี 99 กลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนเอกชนทางเลือก ACADEMIC ADMINISTRATION STRATEGIES TO PROMOTE 21ST CENTURY SKILLS OF STUDENTS IN ALTERNATIVE PRIVATE SCHOOLS สุนีย์ ชัยสุขสังข์* Sunee Chaisooksung ดร. ปิยพงษ์ สุเมตติกุล** Dr. Piyapong Sumettikoon ศาสตราจารย์ ดร. พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์*** Prof. Dr. Preut Siribanpitak บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหาร วิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนเอกชนทางเลือก 2) วิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษ ที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนเอกชนทางเลือก และ 3) พัฒนากลยุทธ์ที่เหมาะสมในการบริหารวิชาการ เพื่อเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนเอกชนทางเลือก โดยใช้แนวคิด การบริหารวิชาการของโรงเรียนเอกชนทางเลือกและแนวคิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 โดยศึกษาจาก ผู ้บริหาร จ�านวน 40 คน หัวหน้าฝ่ายวิชาการ จ�านวน 40 คน หัวหน้าระดับชั้น จ�านวน 40 คน และ ครูผู้สอน จ�านวน 80 คน รวมทั้งสิ้น 200 คน ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน (mixed method) เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความ ต้องการจ�าเป็น ผลการวิจัยพบว่า สภาพที่พึงประสงค์มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าสภาพปัจจุบันในทุกด้าน เมื่อ พิจารณาในภาพรวมพบว่า จุดอ่อนคือการประเมินผล จุดแข็งคือสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ การพัฒนา ทางวิชาชีพ หลักสูตรและการเรียนการสอน มาตรฐานการเรียนรู้ โอกาสคือสภาพเทคโนโลยี และ * ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2557 ** อาจารย์ประจ�าสาขาวิชาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย *** ประธานสาขาวิชาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Transcript of ACADEMIC ADMINISTRATION STRATEGIES TO PROMOTE …สร้างสารสนเทศ...

Page 1: ACADEMIC ADMINISTRATION STRATEGIES TO PROMOTE …สร้างสารสนเทศ รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีจริยธรรมและค

วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี 99

กลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

ของนักเรียนในโรงเรียนเอกชนทางเลือก

ACADEMIC ADMINISTRATION STRATEGIES TO

PROMOTE 21ST CENTURY SKILLS OF STUDENTS

IN ALTERNATIVE PRIVATE SCHOOLS

สุนีย์ชัยสุขสังข์*Sunee Chaisooksungดร.ปิยพงษ์สุเมตติกุล**

Dr. Piyapong Sumettikoonศาสตราจารย์ดร.พฤทธิ์ศิริบรรณพิทักษ์***

Prof. Dr. Preut Siribanpitak

บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนเอกชนทางเลือก 2) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษ ที ่21 ของนกัเรยีนในโรงเรยีนเอกชนทางเลือก และ 3) พัฒนากลยทุธ์ท่ีเหมาะสมในการบริหารวชิาการเพื่อเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษท่ี 21 ของนักเรียนในโรงเรียนเอกชนทางเลือก โดยใช้แนวคิด การบริหารวิชาการของโรงเรียนเอกชนทางเลือกและแนวคิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 โดยศึกษาจาก ผูบ้รหิาร จ�านวน 40 คน หวัหน้าฝ่ายวชิาการ จ�านวน 40 คน หวัหน้าระดับชัน้ จ�านวน 40 คน และ ครูผู้สอน จ�านวน 80 คน รวมทั้งสิ้น 200 คน ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน (mixed method) เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจ�าเป็น ผลการวิจัยพบว่า สภาพที่พึงประสงค์มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าสภาพปัจจุบันในทุกด้าน เมื่อพิจารณาในภาพรวมพบว่า จุดอ่อนคือการประเมินผล จุดแข็งคือสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ การพัฒนาทางวิชาชีพ หลักสูตรและการเรียนการสอน มาตรฐานการเรียนรู้ โอกาสคือสภาพเทคโนโลยี และ

* ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2557** อาจารย์ประจ�าสาขาวิชาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย*** ประธานสาขาวิชาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Page 2: ACADEMIC ADMINISTRATION STRATEGIES TO PROMOTE …สร้างสารสนเทศ รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีจริยธรรมและค

วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี100

ภาวะคุกคามคือนโยบายของรัฐ สภาพเศรษฐกิจและสังคม ส�าหรับกลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษท่ี 21 ของนักเรียนโรงเรียนเอกชนทางเลือกที่มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์หลักค�าส�าคัญ: โรงเรียนทางเลือก, การบริหารวิชาการ, ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

ABSTRACT The purposes of this research were: 1) to investigate the current and desirable states of academic administration to promote 21st century skills of students in alternative private schools, 2) to analyze strengths, weaknesses, opportunities and threats (SWOT) of academic administration to promote 21st century skills of students in alternative private schools, and 3) to develop academic administration strategies to promote 21st century skills of students in alternative private schools based on academic administration in alternative private schools and 21st century skills concepts. The data were collected from 80 administrators and 120 teachers. The study applied a mixed method approach. The instruments used in this study were questionnaires and the strategies evaluation form to testify feasibility and appropri-ateness of the strategies. The data were analyzed by frequency, percentage, standard deviation, PNI modified and content analysis. The results showed that the average of the desired states were higher than the current state in all aspects. When considered internal factors, the weakness of academic administration to promote 21st century skills of students in alternative schools was evaluation. The opportunity of academic administration to promote 21st century skills of students in alternative private schools was technology, while the threats of academic administration to promote 21st century skills of students in alternative private schools were government policy, economy and society. The academic administration strategies to promote 21st century skills of students in alternative private schools comprised 5 key strategies.Keywords: alternative schools, academic administration, 21st century skills.

บทน�า นับตั้งแต่การปฏิรูปการศึกษาครั้งส�าคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รชักาลที ่ 5 ทีท่รงมพีระราชด�ารใินการเปลีย่นแปลงการศกึษาไทยทีไ่ร้ระบบและเกดิขึน้ในบ้าน วดั วงั

Page 3: ACADEMIC ADMINISTRATION STRATEGIES TO PROMOTE …สร้างสารสนเทศ รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีจริยธรรมและค

วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี 101

หรือที่เราเรียกว่า “บวร” และรับเอาระเบียบแบบแผนแบบตะวันตกมาใช้ เรียกว่า “การศึกษาใน ระบบ” โดยใช้กลไกของโรงเรียนและสถานศึกษาเป็นตัวผลักดันให้เกิดการพัฒนาความรู้ของคนไทย การปฏริปูการศกึษาครัง้น้ันส่งผลทางบวกให้คนมคีวามรูม้ากขึน้ ประเทศมคีวามเจรญิก้าวหน้าทัง้ด้าน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ศิลปะวิทยาการต่าง ๆ แต่ในทางกลับกันก็รับเอาระบบการเรียนในแบบอุตสาหกรรมมาด้วย กล่าวคือเป็นการเรียนแบบท่องต�าราแต่ไม่เน้นการเรียนรู้วิถีชีวิต ทุกคนเรียนเนือ้หาเดยีวกนั เวลาเดยีวกนั ด้วยวธิเีดยีวกนั ศาสตราจารย์เกยีรตคิณุ นายแพทย์ประเวศ วะส ี(2553) เรียกการเรียนแบบนี้ว่า “การต่อท่อความรู้” ซึ่งสอดคล้องกับรุ่ง แก้วแดง (2540) ที่อธิบายถึงวิกฤตการศึกษาไทยว่า การศึกษาของไทยในสมัยนั้นเป็นการเรียนแบบท่องจ�า ไม่มีการปฏิบัติจริง คนไทยจึงขาดทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ขาดการริเริ่มสร้างสรรค์และการคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ส่งผลให้คนไทยขาดศักยภาพในการแข่งขันในระดับโลก ต่อมาได้เกิดการปฏิรูปการศึกษาครั้งที่ 2 โดยประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545 มีสาระส�าคัญในการพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็น “คนเก่ง คนดี และมีความสุข” ก�าหนดให้การจัดการเรียนการสอนต้องเน้นผู้เรียนเป็นส�าคัญ มีที่มาจากทฤษฎีการเรียนรู้จากการลงมือท�า (learning by doing) โดยเปลี่ยนบทบาทของนักเรียนจากการเป็นผู้รับมาเป็นผู้ลงมือเรียนรู้ด้วยตนเอง และเปลี่ยนบทบาทของครูจากผู้สอน ผู้สั่ง มาเป็นผู้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ก่อให้เกิดแนวการสอนแบบก้าวหน้าหรือแนวการสอนแบบพิพัฒนาการ (progressive) ขึ้นในสหรัฐอเมริกา ซึ่งประเทศไทยรับแนวคิดนี้มาใช้ในการปฏิรูปการศึกษาครั้งที่ 2 (พิพัฒน์ พสุธารชาติ, 2547) เพื่อหวังว่าคุณภาพของเด็กไทยและการศึกษาไทยจะพัฒนามากขึ้น การเกิดขึ้นของแนวการสอนแบบก้าวหน้าท�าให้เกิดกลุ่มนักเคล่ือนไหวทางสังคมท่ี ตอบโต้ระบบการศกึษาของรฐัทีจ่ดัการศกึษาแบบควบคมุทุกอย่างให้เป็นแบบเดียวกนั เพ่ือตอบสนอง ความต้องการแรงงานเพื่อป้อนสู่อุตสาหกรรม และท�าให้เกิดโรงเรียนทางเลือกขึ้นโดยใช้ปรัชญาการเรียนการสอนแบบ Summer Hill เน้นการจัดการเรียนการสอนแบบกึ่งโรงเรียนกึ่งบ้าน (home school) เพื่อพัฒนาเด็กด้อยโอกาสให้มีทักษะชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นและใช้ชีวิตในสังคมได้ อกีทัง้พระราชบญัญตักิารศกึษาแห่งชาต ิพ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิม่เตมิ ฉบบัที ่2 พ.ศ. 2545 มาตรา 12 ที่ระบุให้บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันทางศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ๆ มีสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ จึงเหมือนเป็นการ ส่งสัญญาณว่ารัฐเปิดรับแนวทางการศึกษาทางเลือกมากขึ้น โรงเรียนทางเลือกจึงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ (ปกป้อง จันวิทย์ และสุนทร ตัมมันทอง, 2555) โรงเรียนทางเลือกได้มุ่งเน้น “กระบวนการเรียนรู้ส�าคัญกว่าความรู้” และ “กระบวนการหาค�าตอบส�าคัญกว่าค�าตอบ” ซึ่งสอดคล้องกับฐานคิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st century skill) ที่พัฒนาโดยองค์กรภาคีเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st skill, Online, 2007) ซึ่งประกอบด้วย 3 ทักษะส�าคัญ ได้แก่

Page 4: ACADEMIC ADMINISTRATION STRATEGIES TO PROMOTE …สร้างสารสนเทศ รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีจริยธรรมและค

วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี102

1. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและแก้ปัญหา การสื่อสาร การท�างานเป็นทีม การคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม 2. ทักษะชีวิตและอาชีพ มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความสามารถในการยืดหยุ่นและปรับตัว มีความมุ่งมั่นและมีเป้าหมายในชีวิต เข้าใจสังคมและยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม มีศักยภาพในการท�างานและยอมรับการตรวจสอบ มีความเป็นผู้น�าและมีความรับผิดชอบ 3. ทักษะด้านข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร และเทคโนโลยี มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศและสื่อต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม สามารถจัดการ เชื่อมโยง ประเมินและ สร้างสารสนเทศ รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีจริยธรรมและค�านึงถึงกฎหมาย แต่กระนัน้ยงัพบว่าโรงเรยีนทางเลอืกประสบปัญหาในการประกนัคณุภาพภายนอก ผลสมัฤทธิ์ ทางการเรียน การวัดผลด้านทักษะการคิด การใฝ่รู้ใฝ่เรียนที่ไม่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม สะท้อนให้เห็นว่าโรงเรียนทางเลือกยังไม่สามารถแสดงให้ผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบยอมรับได้ว่าช่วยพัฒนาเด็กได้จริง แสดงถงึจดุอ่อนด้านการบรหิารวชิาการ จงึจ�าเป็นต้องศกึษากลยทุธ์การบริหารวชิาการเพ่ือเสริมสร้าง ทักษะแห่งศตวรรษท่ี 21 ของโรงเรียนเอกชนทางเลือก ถ้าผู้บริหารสถานศึกษาและหน่วยงานที่เก่ียวข้องน�ากลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเอกชนทางเลือกไปใช้ จะช่วยพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพ ท�าให้โรงเรียนทางเลือกได้รับการยอมรับ อีกทั้งยังมีประโยชน์ต่อการศึกษาไทยในภาพรวม ที่จะส่งผลให้คนไทยมีทักษะที่พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาพลเมืองให้มีคุณภาพและสามารถแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ได้

กรอบแนวคิดในการวิจัย

ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย

Page 5: ACADEMIC ADMINISTRATION STRATEGIES TO PROMOTE …สร้างสารสนเทศ รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีจริยธรรมและค

วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี 103

วิธีด�าเนินการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนทางเลือก จ�านวน 40 คน หัวหน้าฝ่ายวิชาการ จ�านวน 40 คน หัวหน้าระดับชั้น จ�านวน 40 คน และครูผู้สอน จ�านวน 80 คน รวมทั้งสิ้น 200 คน ในโรงเรียนเอกชนทางเลือก สังกัดส�านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จ�านวน 40 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่ผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และน�ามาค�านวณหาค่าดัชนีความต้องการจ�าเป็น (modified priority needs index: PNI modified) (สุวิมล ว่องวานิช, 2550) ผู้วิจัยจัดท�ากลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน ในโรงเรียนเอกชนทางเลือก โดยจัดท�าตารางเมตริกซ์เพื่อจับคู่จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคาม เพื่อร่างกลยุทธ์หลัก กลยุทธ์รอง และวิธีด�าเนินการ และน�าเสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างกลยทุธ์จากแบบประเมนิและการประชมุกลุม่ (focus group)

ผลการวิจัย 1. สภาพปัจจบุนัและสภาพทีพ่งึประสงค์ของการบรหิารวชิาการของโรงเรยีนเอกชนทางเลอืก 1.1 สภาพแวดล้อมภายใน จ�าแนกตามองค์ประกอบหลักของการบริหารวิชาการของ โรงเรียนเอกชนทางเลือก พบว่าสภาพที่พึงประสงค์มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าสภาพปัจจุบันในทุกด้าน เมื่อ พิจารณาสภาพปัจจุบันพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.272, SD = .71) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการพัฒนาทางวิชาชีพมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.347, SD = .65) รองลงมาคือ ด้านการจัดหลักสูตรและการเรียนการสอน ( = 4.308, SD = .73) ด้านการก�าหนดมาตรฐานการเรียนรู้ ( = 4.283, SD = .80) ด้านการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ( = 4.253, SD = .71) และด้านการประเมินผล ( = 4.171, SD = .74) ตามล�าดับ ส่วนสภาพที่พึงประสงค์พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.827, SD = .40) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการพัฒนาทางวิชาชีพ มีค่าเฉล่ียสูงสุด ( = 4.879, SD = .34) รองลงมาคือ ด้านการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ( = 4.841, SD = .39) ด้านการจัดหลักสูตรและการเรียนการสอน ( = 4.825, SD = .40) ด้านการก�าหนดมาตรฐานการเรียนรู้ ( = 4.797, SD = .45) และด้านการประเมินผล ( = 4.793, SD = .45) ตามล�าดับ 1.2 สภาพแวดล้อมภายนอก พบว่าสภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.797, SD = .77) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านสภาพเทคโนโลยีมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.911, SD = .75) รองลงมาคือ ด้านสภาพสังคม ( = 3.780, SD = .73) ด้านสภาพเศรษฐกิจ ( = 3.757, SD = .78) และด้านสภาพของรัฐ ( = 3.732, SD = .81) ตามล�าดับ

Page 6: ACADEMIC ADMINISTRATION STRATEGIES TO PROMOTE …สร้างสารสนเทศ รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีจริยธรรมและค

วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี104

2. จดุแขง็ จดุอ่อน โอกาส และภาวะคกุคามของการบรหิารวชิาการของโรงเรยีนเอกชนทางเลอืก จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน จ�าแนกตามองค์ประกอบหลักของการบริหารวิชาการของโรงเรียนเอกชนทางเลือก พบว่าประเด็นที่มีความต้องการจ�าเป็นในระดับสูง ได้แก่ ด้านการประเมินผล (PNI modified = 0.1491) เป็นจุดอ่อนของสภาพการบริหารวิชาการ ส่วนประเด็นที่มีความต้องการจ�าเป็นในระดับต�่า ได้แก่ ด้านการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (PNI modified = 0.1383) รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาทางวิชาชีพ (PNI modified = 0.1224) และด้านการก�าหนดมาตรฐานการเรียนรู้และการจัดหลักสูตรและการเรียนการสอน (PNI modified = 0.1200) เป็น จุดแข็งของสภาพการบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนเอกชนทางเลือก จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก จ�าแนกตามองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมภายนอกพบว่า ประเด็นท่ีมีความต้องการจ�าเป็นในระดับสูง ได้แก่ ด้านนโยบายของรัฐ (PNI modified = 0.2610) ด้านสภาพเศรษฐกิจ (PNI modified = 0.2595) และด้านสภาพสังคม (PNI modified = 0.2471) เป็นภาวะคุกคามของสภาพการบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะ แห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนเอกชนทางเลือก ส่วนประเด็นที่มีความต้องการจ�าเป็นในระดับต�่า ได้แก่ ด้านสภาพเทคโนโลยี (PNI modified = 0.2112) เป็นโอกาสของสภาพการบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนเอกชนทางเลือก 3. กลยทุธ์การบรหิารวชิาการเพือ่เสรมิสร้างทกัษะแห่งศตวรรษที ่ 21 ของนกัเรยีนในโรงเรยีน เอกชนทางเลือก น�าเสนอได้ดังนี้

ปฏิรูปการประเมินผลเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะแห่งศตวรรษที่21

ยกระดับการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนานักเรียนให้มีทักษะแห่งศตวรรษที่21

เร่งพัฒนาการใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนการประเมินผลให้นักเรียนมีทักษะนวัตกรรม ทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี และทักษะความเป็นพลเมืองและพลโลก

เร่งสร้างภาคีเครือข่ายการเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนทางเลือกเพ่ือขับเคลื่อนการประเมินผลให้นักเรียนมีทักษะการเรียนรู้ ทักษะชีวิต และทักษะอาชีพ

เสริมสร้างการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ ทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ และทักษะความเป็นพลเมืองและพลโลก

พัฒนาการใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ให้นักเรียนมีทักษะนวัตกรรม ทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี

Page 7: ACADEMIC ADMINISTRATION STRATEGIES TO PROMOTE …สร้างสารสนเทศ รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีจริยธรรมและค

วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี 105

สร้างความเป็นเลิศด้านการพัฒนาทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาครูให้มีทักษะแห่งศตวรรษที่21

ปรบักระบวนทศัน์ด้านการก�าหนดมาตรฐานการเรยีนรูเ้พ่ือพัฒนานกัเรยีนให้มทีกัษะแห่งศตวรรษที่21

ปรับกระบวนทัศน์ด้านการจัดหลักสูตรและการเรียนการสอบเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะแห่งศตวรรษที่21

สนบัสนนุการใช้เทคโนโลยเีพือ่การพฒันาทางวชิาชพีให้ครมูทีกัษะแห่งศตวรรษที ่21 ปรับรูปแบบการพัฒนาทางวิชาชีพให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่อการก�าหนดมาตรฐานการเรียนรู้ให้นักเรียนมีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

ส่งเสริมการก�าหนดมาตรฐานการเรียนรู้ให้นักเรียนมีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้นักเรียนมีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

ส่งเสริมการจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนเชิงบูรณาการให้นักเรียนมีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

อภิปรายผล 1. การพฒันาทางวชิาชพีของโรงเรยีนเอกชนทางเลอืก ผลจากการวจิยัพบว่า สภาพปัจจบุนั และสภาพท่ีพึงประสงค์ของการพัฒนาทางวิชาชีพมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดทั้ง 2 ด้าน ( = 4.347, SD = .65 และ = 4.879, SD = .34 ตามล�าดับ) แสดงให้เห็นว่าโรงเรียนทางเลือกให้ความส�าคัญ กับการพัฒนาทักษะของครูมาก สอดคล้องกับแนวคิดของวรากรณ์ สามโกเศศ และคณะ (2553) ที่กล่าวว่า คุณภาพของนักเรียนขึ้นอยู่กับคุณภาพของครู ทั้งนี้โรงเรียนเอกชนทางเลือกให้ความส�าคัญกับการพัฒนาทางวิชาชีพ ให้ครูมีทัศนคติและวิธีการท�างานที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนตามปรัชญาการศึกษาของโรงเรียน ซึ่งให้ความส�าคัญกับการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย ต้องการความยดืหยุน่ ปรบัเปลีย่น และพฒันาอยูต่ลอดเวลา โรงเรยีนทางเลอืกมคีวามต้องการครทูีม่คีณุภาพสงู เพราะครูมีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบมาก ไม่ว่าจะเป็นการท�าความเข้าใจปรัชญาการเรียนการสอนของโรงเรียน การใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนที่แตกต่างจากโรงเรียนกระแสหลักทั่วไป โรงเรียนทางเลือกบางแห่งเปิดโอกาสให้ครูคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ดูแลการติดตามพัฒนาการของนักเรียนอย่างใกล้ชิด หรือแม้แต่ร่วมกระบวนการประเมินผลพัฒนาการสอนของเพื่อนครู (ปกป้อง จันวิทย์ และสุนทร ตันมันทอง, 2555)

Page 8: ACADEMIC ADMINISTRATION STRATEGIES TO PROMOTE …สร้างสารสนเทศ รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีจริยธรรมและค

วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี106

2. การประเมนิผลของโรงเรยีนเอกชนทางเลอืก ผลการวจิยัพบว่าสภาพความเป็นจรงิทีม่ค่ีา เฉลี่ยต�่าสุดคือด้านการประเมินผล ซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่ส�าคัญของการพัฒนาทักษะของนักเรียนและถือเป็นขั้นตอนที่มีความยากมากที่สุดเช่นกัน สอดคล้องกับจรีพร นาคสัมฤทธิ์ (2555) ที่กล่าวว่า โรงเรยีนทางเลอืกเน้นการประเมนิทีไ่ม่ตายตวั ประกอบกบัต้องพฒันาการประเมนิตามสภาพจรงิด้วยผลงาน เอกสาร โครงการที่ปฏิบัติเป็นรูปธรรม จึงจ�าเป็นต้องเร่งค้นหาแนวทางการประเมินที่ชัดเจน เพื่อให้เกิดความเข้าใจระหว่างหน่วยงานประเมินและประกันคุณภาพและโรงเรียนทางเลือก เพื่อเป็นต้นแบบในการจัดการที่ดีให้กับโรงเรียนอื่น ๆ ต่อไป 3. การน�าเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการบริหารวิชาการของโรงเรียนเอกชนทางเลือก มีการประยุกต์วิชาการต่าง ๆ มาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือแม้กระทั่งการเรียนรู้ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และสื่ออื่น ๆ การเทียบโอนความรู้ การบูรณาการการศึกษาต่าง ๆ ท�าให้เกิดความยืดหยุ่น ต่อเนื่อง และเสริมซึ่งกัน และกัน มีประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับตามหลักมาตรฐาน ทั้งนี้ผู ้บริหารสถานศึกษาควรเตรียมบุคลากรให้พร้อมส�าหรับการใช้เทคโนโลยี กระตุ้นให้ครูใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้ง สร้างจิตส�านึกในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบัน ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ส่งเสริมและสนับสนุนกันในด้านต่าง ๆ เช่น การลดค่าใช้จ่าย การใช้ทรัพยากรและประสบการณ์ร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งผลให้สถานศึกษาสามารถพัฒนางานบริหารวิชาการให้มีความเชี่ยวชาญและมีประสิทธิภาพได้ 4. นโยบายของรัฐกับการด�าเนินการของโรงเรียนเอกชนทางเลือก จากการวิจัยพบว่าโรงเรียนเอกชนทางเลือกประสบกับปัญหานโยบายของรัฐที่ตามไม่ทันทิศทาง ปรัชญา แนวคิดของโรงเรียน ทั้งด้านหลักสูตรและการประเมินผลที่ยังคงใช้ระบบตายตัว ไม่ยืดหยุ่น ไม่เอื้อต่อการจัดการศึกษารูปแบบใหม่ที่สนองปรัชญาของโรงเรียน (วรากรณ์ สามโกเศศ และคณะ, 2553) ทั้งที่มีการก�าหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545 ที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาโดยยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความส�าคัญมากที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ สอดคล้องกับปกป้อง จันวิทย์ และสุนทร ตันมันทอง (2555) ที่ศึกษาเรื่องโรงเรียนทางเลือกกับทางเลือกในการศึกษาของประชาชน และส�านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2554) เรื่อง ข้อเสนอ หลักเกณฑ์ และวิธีการในการปรับใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ส�าหรับการศึกษาทางเลือกตามแนวทางของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติที่กล่าวว่า กฎกติกาของรัฐในปัจจุบันยังไม่เอื้ออ�านวยต่อการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาเท่าที่ควร ทั้งกรอบของหลักสูตรแกนกลางข้ันพื้นฐานและระบบประเมินผลที่ตายตัว รวมทั้งข้อจ�ากัดด้านทรัพยากรและ

Page 9: ACADEMIC ADMINISTRATION STRATEGIES TO PROMOTE …สร้างสารสนเทศ รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีจริยธรรมและค

วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี 107

ความไม่แน่นอนของแหล่งเงินทุน อันเนื่องมาจากระบบเงินอุดหนุนรายบุคคลของรัฐไม่สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายท่ีแท้จริงของโรงเรียนทางเลือก หรือข้อจ�ากัดที่ผูกพันมากับการรับเงินอุดหนุนรายบุคคลจากภาครัฐ อีกทั้งยังประสบปัญหากับระเบียบวิธีการประเมินคุณภาพภายนอกที่มีมาตรฐานเดียวกันทุกระบบการศึกษา ท�าให้โรงเรียนเอกชนทางเลือกยังต้องเร่งสร้างความเข้าใจอันดีกับรัฐ และผลักดันให้เกิดระบบการจัดการศึกษาส�าหรับการศึกษาทางเลือก ทั้งด้านนโยบาย กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และการปฏิบัติ

ข้อเสนอแนะ 1. กลยุทธ์หลักท่ีโรงเรียนเอกชนทางเลือกควรจะต้องวางแผนเชิงรุกในการน�าไปปฏิบัติคือ กลยุทธ์หลักที่ 1 ปฏิรูปการประเมินผลเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 2. กลยุทธ์หลักที่โรงเรียนควรน�าไปปฏิบัติได้ทันทีคือ กลยุทธ์หลักที่ 3 สร้างความเป็นเลิศด้านการพัฒนาทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาครูให้มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 3. ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนทางเลือกควรส่งเสริมการท�าวิจัยเชิงปฏิบัติการให้มากขึ้น 4. ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนทางเลือกควรสร้างเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อหาการสนับสนุน ด้านทรัพยากรที่จ�าเป็น

บรรณานุกรมจรีพร นาคสัมฤทธิ์. (2555). กระบวนการบริหารโรงเรียนทางเลือกตามแนวคิดการบริหารที่เน้น

ความเป็นมนุษย์และแนวคิดการศึกษามนุษยนิยม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปกป้อง จันวิทย์ และสุนทร ตันมันทอง. (2555). โรงเรียนทางเลือกกับทางเลือกในการศึกษาของประชาชน. ใน การสัมมนาวิชาการ ประจ�าปี 2554 ยกเครื่องการศึกษาไทย: สู่การศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง (Revamping Thai Education System: Quality for All). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการ พัฒนาประเทศไทย.

ประเวศ วะสี. (2553). มีปัญญา รักษาทุก(ข์)โรค: ระบบการศึกษาที่แก้ความทุกข์ยากของคนทั้งแผ่นดิน. นนทบุรี: กรีน-ปัญญาญาณ.

พิพัฒน์ พสุธารชาติ. (2547). ไชลด์เซ็นเตอร์: ส�านวนซ�้าซากของการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: ศยาม.รุ่ง แก้วแดง. (2543). ปฏิวัติการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: มติชน.วรากรณ์ สามโกเศศ และคณะ. (2553). ข้อเสนอทางเลือกระบบการศึกษาที่เหมาะสมกับสุขภาวะ

คนไทย. กรุงเทพฯ: ส�านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

Page 10: ACADEMIC ADMINISTRATION STRATEGIES TO PROMOTE …สร้างสารสนเทศ รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีจริยธรรมและค

วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี108

ส�านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). ข้อเสนอ หลักเกณฑ์ และวิธีการในการปรับใช้หลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พ.ศ. 2551 ส�าหรับการศึกษาทางเลือกตามแนวทางของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: ส�านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การประเมินอภิมาน: วิธีวิทยาและประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.Partnership for 21st Century Skills. (2007). Framework for 21st century learning

(Online). Available: http://www.p21.org/our-work/p21-framework [2014, May 21].