ผลการจัดการเรียนรู้แบบ...

218
ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรูวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท่ 6 วิทวัส แก้วสม วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ พ.ศ. 2562

Transcript of ผลการจัดการเรียนรู้แบบ...

  • ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ประกอบหนังสอือิเล็กทรอนิกส ์

    ที่มีต่อผลสมัฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจต่อการจัดการเรยีนรู้

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนกัเรียนชั้นประถมศึกษาปีท่ี 6

    วิทวัส แก้วสม

    วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต

    สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลยัราชภัฏนครสวรรค์ พ.ศ. 2562

  • ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจ๊ิกซอว์ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

    ที่มีต่อผลสมัฤทธิท์างการเรียน และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

    วิทวัส แก้วสม

    วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต

    สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ พ.ศ. 2562

    ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

  • EFFECT OF COOPERATIVE LEARNING USING JIGSAW TECHNIQUE WITH ELECTRONIC BOOKS ON LEARNING ACHIEVEMENT AND SATISFACTION TOWARD LEARNING MANAGEMENT

    COMPUTER SUBJECT OF PRATHOMSUKSA 6 STUDENTS

    WITTAWAS KAEWSOM

    A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Master

    of Education Degree in Curriculum and Instruction Nakhon Sawan Rajabhat University

    2019 Copyright of Nakhon Sawan Rajabhat University

  • 1

    บทคัดย่อ

    ชื่อเรื่อง ผู้วิจัย อาจารย์ท่ีปรึกษา ปริญญา ปีการศึกษา

    ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที ่มีต่อผลสัมฤทธิ ์ทางการเรียน และความพึงพอใจต่อการจัดการเร ียนรู ้ว ิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นายวิทวัส แก้วสม ดร.พรรณราย เทียมทัน ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน) 2561

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพ่ือ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาลวัดช่องคีรีศรีสิทธิวราราม จ านวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่มสองขั้นตอนด้วยการจับฉลากโดยมีโรงเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 3 ฉบับ คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ได้ค่าเฉลี่ยคุณภาพของแผนเท่ากับ 3.95 โดยมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยมีค่าความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67 ถึง 1.00 ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.63 ถึง 0.80 และค่าอ านาจจ าแนกอยู่ระหว่าง 0.25 ถึง 0.51 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 และ 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน มีค่ าความตรงเชิงเนื้อหา อยู่ระหว่าง 0.67 ถึง 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 ท าการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพ้ืนฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบทีแบบไม่อิสระ

    ผลการวิจัยพบว่า

    1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่รับการสอนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 13.53 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.49 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 22.83 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.39 เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนพบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05

    2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมื อ ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.48

    ค าส าคัญ: การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์, หนังสืออิเล็กทรอนิกส์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจ

    ( )

  • 2

    Abstract

    Title Author Adviser Degree Academic Year

    Effect of Cooperative Learning using Jigsaw Technique with Electronic Books on Learning Achievement and Satisfaction toward Learning Management Computer Subject of Prathomsuksa 6 Students Mr.Wittawas Kaewsom Pannarai Tiamtan, Ph.D. Master of Education (Curriculum and Instruction) 2018

    The purpose of this Reasearch were to compare the students’ learning achievement before and after learning by cooperative learning using igsaw technique with electronic book and study the satisfaction of Prathomsuksa 6 students toward cooperative learning us ing jigsaw technique with electronic book. The participants in this research consisted of 30 Prathomsuksa 6/ 1 students of Wat Chong Khirisisitthi Wararam Municipality School. They obtained by using multi-stage sampling. Research instruments included of three parts 1) lesson plan of cooperative learning using j igsaw technique with electronic book, with the degree of quality of plans at 3.95 are satisfied at high level. 2) Leaning achievement test with the degree of content validity index between 0.67 - 1.00, discrimination between 0.63 - 0.80 and reliability of 0.85 and 3) satisfaction questionnaire with the degree of content validity index between 0.67 - 1.00 and reliability of 0.84. Statistics used for data analysis were mean, standard deviation and dependent samples t test.

    The reasearch finding were as follows:

    1. The post-test mean score of Prathomsuksa 6 students after learning by cooperative learning using jigsaw technique with electronic book was 22.83 with the standard deviation 2.39 which was higher than the pre-test mean score was 13.53 with the standard deviation 2.49. Meanwhile, the comparison of the pre-test mean score and post-test mean score showed the post-test mean score was higher than pre-test mean score at the .05 level of significance.

    2. The satisfaction of Prathomsuksa 6 students toward cooperative l earning using jigsaw technique with electronic book was at the high level with the mean score was 4.04, the standard deviation 0.48.

    Keywords: Cooperative Learning using Jigsaw Technique, Electronic Book, Learning Achievement, Satisfaction

    ( )

  • 3

    กิตติกรรมประกาศ

    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ส าเร็จลุล่วงไปด้วยดี เพราะได้รับความอนุเคราะห์เอาใจใส่อย่างดียิ่งจาก อาจารย์ ดร.พรรณราย เทียมทัน อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ได้กรุณาให้ความรู้ ค าปรึกษาแนะน าแนวทางในการท าวิจัยทุกขั้นตอน และได้กรุณาตรวจสอบแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ รวมถึงการให้ก าลังใจ กระตุ้นให้ผู้วิจัยมีความเชื่อมั่นในการท าวิจัยมากขึ้น

    ขอขอบพระคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มงคล จันทร์ภิบาล อาจารย์ประจ าสาขาวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการเรียนรู้ อาจารย์ ดร.อาภากร โพธิ์ดง อาจารย์ภาควิชาหลักสูตรและการสอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพัฒนา หอมบุปผา รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ นางจรัญญา กล้วยพันธิ์งาม ศึกษานิเทศก์ช านาญการพิเศษ ส านักการศึกษา เทศบาลนครนครสวรรค์ นางนิอร เทอดเทียนวงษ์ ครูช านาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาลวัดช่องคีรีศรีสิทธิ วราราม และนางสุรีย์รัตน์ กองมณี ครูเชี่ยวชาญ โรงเรียนเทศบาลวัดวรนาถบรรพต ส านักการศึกษา เทศบาลนครนครสวรรค์ ที่ให้ความกรุณาเป็นผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

    ขอบคุณผู้บริหาร คณะครู และนักเรียน โรงเรียนเทศบาลวัดช่องคีรีศรีสิทธิวราราม ส านักการศึกษา เทศบาลนครนครสวรรค์ ทุกท่านที่กรุณาให้การสนับสนุน และให้ความร่วมมือในการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นอย่างดี

    ขอขอบคุณครอบครัว และนางสาวฐาปนีย์ ทองดี ที่คอยให้ก าลังใจช่วยเหลือและสนับสนุนส่งเสริมด้วยดีตลอดมา คุณค่าและประโยชน์ของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้วิจัยขอมอบเป็นเครื่องบูชาพระคุณบิดา มารดา ตลอดจนครู อาจารย์ และผู้มีพระคุณทุกท่าน ที่ให้การอบรมสั่งสอนประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ ให้ผู้วิจัยเป็นคนดีมีคุณธรรมจนประสบความส าเร็จในชีวิต

    ( )

  • 4

    สารบัญ

    บทที่ หน้า บทคัดย่อภาษาไทย (1) บทคัดย่อภาษาอังกฤษ (2) กิตติกรรมประกาศ (3) สารบัญ (4) สารบัญตาราง (6) สารบัญภาพ (7)

    1 บทน า 1 ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา 1 วัตถุประสงค์การวิจัย 5 ขอบเขตการวิจัย 5 นิยามศัพท์เฉพาะ 6 ประโยชน์ที่ได้รับ 7

    2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 8 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 9 การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ 18 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 43 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 53 ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ 74 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 84 กรอบแนวคิดการวิจัย 88 สมมติฐานการวิจัย 90

    3 วิธีด าเนินการวิจัย 91 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 91 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 92 การเก็บรวบรวมข้อมูล 103 การวิเคราะห์ข้อมูล 105 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 105

    4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 109 ตอนที่ 1 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 109

    ( )

  • 5

    สารบัญ (ต่อ)

    บทที่ หน้า ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ประกอบหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ 110

    5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 112 สรุปผลการวิจัย 112 อภิปรายผล 112 ข้อเสนอแนะ 114

    รายการอ้างอิง 115 ภาคผนวก 124

    ภาคผนวก ก รายนามผู้เชี่ยวชาญ 125 ภาคผนวก ข แบบตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย 127 ภาคผนวก ค ผลการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย 156 ภาคผนวก ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 177 ภาคผนวก จ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 200

    ประวัติย่อผู้วิจัย 205

    ( )

  • 6

    สารบัญตาราง

    ตารางท่ี หน้า 2.1 โครงสร้างรายวิชา ง 16101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี 11 2.2 บทบาทของครูผู้สอนและผู้เรียนในกิจกรรมการเรียนรู้แบบจิ๊กซอว์ 35 2.3 แสดงตัวอย่างการก าหนดลักษณะของข้อสอบ 61 2.4 แสดงจ านวนข้อสอบของแต่ละจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม 64 2.5 แสดงการหาคุณภาพของแบบทดสอบ 68 3.1 แสดงรายละเอียดโรงเรียนในสังกัดส านักการศึกษาเทศบาลนครนครสวรรค์ อ าเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 91 3.2 ตารางวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด เนื้อหา จุดประสงค์การเรียนรู้ วิชาคอมพิวเตอร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 93 3.3 แสดงรายละเอียดของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ 95 3.4 แสดงผลประเมินแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ ของผู้เชี่ยวชาญ 97 3.5 แสดงการวิเคราะห์ข้อสอบที่มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ 98 3.6 แสดงรายการแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 101 3.7 แสดงระยะเวลาการด าเนินการทดลอง 104 4.1 แสดงผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ประกอบหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ 109 4.2 แสดงผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อ การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 110

    ( )

  • 7

    สารบัญภาพ

    ภาพที่ หน้า 2.1 แสดงรูปแบบการสอนแบบร่วมมือ 24 2.2 แสดงแผนภูมิแสดงขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ 41 2.3 แสดงขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ 59 2.4 แสดงขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบอิงกลุ่ม 63 2.5 แสดงขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบอิงเกณฑ์ 66 2.6 แสดงความพึงพอใจน าไปสู่การปฏิบัติงาน 75 2.7 กรอบความคิดในการวิจัย 89 3.1 แสดงแบบแผนการวิจัย 103

    ( )

  • 1

    บทที่ 1

    บทน า ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา ในการจัดการศึกษาทุกระดับ และทุกระบบการศึกษาได้มีการยอมรับและน าเอาเทคโนโลยีการศึกษาบูรณาการเพ่ือแก้ปัญหา และเพ่ิมประสิทธิภาพการเรียนการสอนเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งนับวันจะเพ่ิมความจ าเป็นและความส าคัญยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพ่ิมเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 หมวดที่ 9 มาตรา 66 และ มาตรา 67 ที่กล่าวว่า ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เพ่ือการศึกษาในโอกาสแรกที่ท าได้ เพ่ือให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยี เพ่ือการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และรัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพ่ือการศึกษา รวมทั้งการติดตาม การตรวจสอบและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพ่ือการศึกษา เพ่ือให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่า และเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย และปัจจุบันประเทศไทยได้มีการตื่นตัวและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการศึกษามากขึ้น ดังจะเห็นได้จาก แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 - 2554) ได้ให้ความส าคัญของเทคโนโลยีการศึกษา โดยส่งเสริมเด็ก และเยาวชนในการจัดการเรียนรู้และปรับตัวรองรับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพ่ือสร้างโอกาสการเข้าถึงแหล่งข้อมูล และแหล่งของความรู้อย่างกว้างขวาง รวมทั้งการสร้าง และพัฒนาก าลังคนที่มีความเป็นเลิศในการสร้างสรรค์นวัตกรรม โดยพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่เน้นการปฏิบัติจริงตั้งแต่ชั้นปฐมวัยให้ผู้รู้ และผู้เชี่ยวชาญจากสถานประกอบการด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ และผู้ทีรู่้ด้านภูมิปัญญาของไทยมีส่วนร่วมถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ (ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ. 2550: 55 – 63) นโยบายของรัฐบาลภายใต้การบริหารจัดการของกระทรวงศึกษาธิการได้ก าหนดจุดเน้น การส่งเสริมสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาสื่อเทคโนโลยีเพ่ือการศึกษาทุกประเภททุกสาระ การเรียนรู้และทุกช่วงชั้น โดยให้ความส าคัญในการน าเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมาใช้ ในการจัดการเรียนการสอน และส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษามีและใช้สื่อเทคโนโลยี เพ่ือการศึกษาที่มีคุณภาพในกระบวนการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์น าเสนอและการจัดการเรียนรู้เพ่ือพัฒนาการศึกษาของผู้เรียนตามเป้าหมายของการพัฒนาและให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ที่ส าคัญอย่างยิ่งเป็นการเพ่ิมศักยภาพการสร้างความเข้มแข็งและการพัฒนาครูผู้สอนให้มีความรู้ความสามารถ ในการน าเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารไปประยุกต์ใช้สื่อในรูปแบบต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ซึ่งเป็นศักยภาพพ้ืนฐาน และเป็นปัจจัยส าคัญท่ีสนับสนุนการใช้การพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ก าลังด าเนินอยู่ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการปฏิรูปการศึกษา ที่ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรบุคคล โดยเพิ่มสมรรถนะให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ (ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน. 2557: 27) ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์มีส่วนส าคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศทางด้านการศึกษา

  • 2

    ทั้งเป็นเครื่องมือช่วยในการผลิตสื่อการเรียนการสอนของครู การเรียนการสอนด้วยระบบทางไกล ผ่านดาวเทียมและการค้นหาความรู้ทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น จากความส าคัญของคอมพิวเตอร์ดังกล่าวจึงท าให้คอมพิวเตอร์เป็นวิชาที่ทุกคนควรจะศึกษาค้นคว้า เพราะการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษาในปัจจุบันนักเรียนจะต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลางในการค้นหาข้อมูลข่าวสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ รายวิชาคอมพิวเตอร์จึงได้รับการบรรจุไว้ในหลักสูตรของทุกช่วงชั้น ให้เป็นวิชาพ้ืนฐานที่นักเรียนจะต้องเรียนทุกคน (กระทรวงศึกษาธิการ. 2550: 187)

    จากการจัดการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ในโรงเรียนสังกัดส านักการศึกษา เทศบาลนครนครสวรรค์ อ าเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จ านวน 8 โรงเรียนพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ในปีการศึกษา 2559 และ 2560 ที่ผ่านมามีคะแนนค่าเฉลี่ยร้อยละเท่ากับ 71.64 และ 67.06 ตามล าดับซึ่งคะแนนต่ าลงและไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่ก าหนดไว้ร้อยละ 75 (ส านักการศึกษาเทศบาลนครนครสวรรค์. 2560: 15) ดังนั้น การเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์จึงไม่บรรลุตามความมุ่งหมายของหลักสูตรเท่าที่ควร เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทางด้านสติปัญญา ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านบุคลิกภาพอ่ืนๆ ซึ่งความแตกต่างดังกล่าวจะส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งสิ้น ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม รวมทั้งปัญหาการขาดสื่อการเรียนการสอน จึงท าให้ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนเพ่ือให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ ตามความมุ่งหมายของหลักสูตรได้ (ณัฏฐพงศ์ ชูทัย. 2552: ออนไลน์) และในการจัดการเรียนการสอนหากผู้เรียนเรียนแล้วไม่เข้าใจอาจท าให้เกิดความเบื่อหน่ายในการเรียนได้ (ธรรมเกียรติ กันอริ. 2543: 96-99; อ้างถึงใน โรจนฤทธิ์ จันนุ่ม. 2551: 2) ในการจัดการเรียนการสอนจึงต้องใช้วิธีการที่หลากหลายมากขึ้นโดยเฉพาะเนื้อหาในบทเรียน เรื่อง ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งในเนื้อหาบทเรียนนี้จะเป็นการเรียนการสอนที่เป็นทฤษฎีมากกว่าปฏิบัติ ผู้สอนสอนแบบบรรยายซึ่งท าให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่ายในการเรียนรู้ ในการจัดการเรียนการสอนจึงไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาด้านเนื้อหาพบว่า มีเนื้อหาจ านวนมากและยากต่อการเข้าใจในเวลาที่จ ากัด จึงจ าเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการสอนจากแบบการบรรยายเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้ เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งมีหลากหลายวิธี เช่น การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ (Cooperative Learning) การจัดการเรียนรู้แบบโครงสร้างความรู้ (Graphic Organizer) การจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน (Learning Center) การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Based) การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrate Teaching) การจัดการเรียนรู้แบบถามตอบ (Ask and Question Model) การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบซิปปา (CIPPA Model) การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project Work) การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนเป็นคู่ (Learning Cell) การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมในแหล่งชุมชน (The use of Community activities) เป็นต้น (มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 2553: 67)

    การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เป็นการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนช่วยกันเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพ่ึงพาอาศัยกันในการเรียนรู้ มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด มีการสัมพันธ์กัน มีการท างานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม และมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบงานร่วมกัน (ทิศนา แขมมณี. 2548: 106-107) ซึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นการ

  • 3

    ร่วมมือกันระหว่างผู้เรียนด้วยกันและกับผู้สอนโดยมีปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันและกัน เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (นาตยา ปิลันธนานนท์. 2552: ออนไลน์) ซึ่งมีหลากหลายเทคนิค เช่น เทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยกัน (TGT) เทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เทคนิคร่วมด้วยช่วยกัน (TAI) เทคนิคซักไซ้ไล่เรียง (Round Robin) เทคนิคร่วมมือร่วมกลุ่ม (Co-Op Co-Op) เทคนิคการต่อภาพ (Jigsaw) เป็นต้น (มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 2553: 72-78)

    การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ เป็นกิจกรรมที่ท าให้นักเรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมในการค้นคว้าหาความรู้ ท าให้นักเรียนมีคามรู้สึกกระตือรือร้นที่จะค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ได้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันระหว่างกลุ่มและภายในกลุ่ม เป็นการฝึกทักษะทางด้านสังคมส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อกลุ่ม สร้างความภาคภูมิใจ และความเชื่อมั่นในตนเองกล้าคิดกล้าตัดสินใจกล้าแสดงออก เพราะทุกคนจะได้เป็นผู้เชี่ยวชาญทุกคน (กาญจนา ไชยพันธุ์. 2549: 58) และการเรียนรู้แบบจิ๊กซอว์นี้ ยังมีพ้ืนฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา ที่เน้นให้ผู้เรียนได้ช่วยเหลือกัน ร่วมกันคิด แก้ปัญหา ได้ลงมือกระท าค้นหาความรู้ด้วยตนเอง จนเกิดความรู้ ความเข้าใจที่ชัดเจน และการสร้างสรรค์ผลงานเป็นความส าเร็จของกลุ่มรวมทั้งทฤษฎีการเสริมแรงของ Skinner และทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์ (ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ . 2558: 190) นอกจากนี้ยังพบว่า การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแบบจิ๊กซอว์ ช่วยให้ผู้เรียนมีความเอาใจใส่รับผิดชอบต่อตนเอง และกลุ่มร่วมกับสมาชิกอ่ืน ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถแตกต่างกันได้เรียนรู้ร่วมกัน ส่งเสริมให้ผู้เรียนนั้นได้ผลัดกันเป็นผู้น า ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึก และได้เรียนรู้ทักษะทางสังคมโดยตรง (สุวิทย์ มูลค า, และอรทัย มูลค า. 2545: 181) ดังจะเห็นได้จากงานวิจัยหลายเรื่อง เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ เช่น มณีรัตน์ ผลประเสริฐ (2555) ได้วิจัยเกี่ยวกับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชากระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ 1 โดยใช้วิธีการเรียนแบบรว่มมือเทคนิคการสอนแบบจิ๊กซอว์ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนนั้นสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยส าคัญ และผู้เรียนมีความพึงพอใจในทุก ๆ ด้านในระดับมากถึงมากที่สุด เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยรวมพบว่าอยู่ในระดับมากท่ีสุด และ ศิริธร เชาวน์ชื่น (2556) ได้วิจัยเกี่ยวกับ การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิคแบบจิ๊กซอว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง อาณาจักรสุโขทัย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.20/86.61 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ก าหนดไว้ ดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนที่เรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ มีค่าเท่ากับ 0.7648 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความเป็นผู้น าทางการเรียนอยู่ในระดับมากท่ีสุด

    ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ มีข้ันตอนการด าเนินกิจกรรม ดังนี้ ขั้นที่ 1 ก าหนดขนาดของกลุ่มโดยจัดผู้เรียนเข้ากลุ่มบ้าน (Home group) ขั้นที่ 2 ผู้สอนแบ่งหัวข้อย่อย โดยให้ผู้เรียนแต่ละคนรับผิดชอบเนื้อหาไปศึกษาค้นคว้า ขั้นที่ 3 ศึกษาค้นคว้าหาความรู้โดยผู้เรียนที่รับมอบหมายให้ศึกษาหัวข้อเดียวกันของในแต่ละกลุ่มบ้านมารวมเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Expert group) ขั้นที่ 4 การถ่ายทอดความรู้ หลังจากศึกษาหาความรู้ร่วมกับสมาชิกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญแล้วสมาชิกแต่ละคนผลัดกันถ่ายทอดความรู้จนสมาชิกทุกคนในกลุ่มเข้าใจ ขั้นที่ 5 การน าเสนอ

  • 4

    ผลงานและการประเมินผลงาน สมาชิกในกลุ่มร่วมกันอภิปรายข้อมูล เพ่ือตรวจสอบความรู้ร่วมกัน เพ่ือเตรียมน าเสนอผลงาน และสุดท้ายผู้สอนกับผู้เรียนร่วมกันประเมินผลการเรียนรู้ของสมาชิกแต่ละกลุ่มตามแบบประเมินที่เตรียมไว้ (Slavin. 1987: 8-11; อ้างถึงใน มณีรัตน์ ผลประเสริฐ. 2555: 15) ซึ่งในขั้นตอนที่ 3 ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ จะสังเกตได้ว่า ผู้เรียนที่ได้รับมอบหมาย ให้ศึกษาหัวข้อเดียวกันของแต่ละกลุ่มบ้านมาศึกษาค้นคว้าเนื้อหา ผู้สอนสามารถจะสร้างสื่อการเรียนการสอนต่าง ๆ ในรูปแบบสื่อมัลติมีเดียหรือสื่อประเภทอิเล็กทรอนิกส์ได้ เช่น สื่อรูปแบบวิทยุโทรทัศน์ สื่อผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในรูปแบบเว็บเพจ รูปแบบดิจิทัลไลบรารี่ (Digital Library) รูปแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) เป็นต้น (ยืน ภู่วรวรรณ. 2546: 4)

    ในขั้นตอนการศึกษาค้นคว้าหาความรู้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Book) เป็นสื่อที่สามารถเชื่อมโยงเนื้อหาสาระท้ังลักษณะของข้อความ ภาพนิ่ง เสียง ภาพวีดิทัศน์ ตลอดจนการโต้ตอบ หรือการเชื่อมโยงเนื้อหาสาระตามท่ีผู้ใช้ต้องการ สามารถน ามาใช้เป็นเครื่องมือ เพ่ือส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งที่เป็นสื่อหลักหรือสื่อเสริมได้ และสามารถน ามาใช้ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ หรือการศึกษาตามอัธยาศัย (คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 2554: 2) และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ช่วยให้ผู้เรียนสามารถย้อนกลับเพ่ือทบทวนบทเรียนหากไม่เข้าใจและสามารถเลือกเรียนได้ตามเวลาและสถานที่ที่ตนเองสะดวก อีกทั้งหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีสีสัน ภาพ วีดีโอ และเสียง ท าให้ผู้ เรียนเกิดความตื่นเต้นและไม่ เบื่อหน่าย (เสาวลักษณ์ ญาณสมบัติ. 2545: 33-35; อ้างถึงใน อารีด บินหมัด. 2555: 14-15) ดังจะเห็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการน าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มาใช้เป็นเครื่องมือเพ่ือส่งเสริมในการเรียนรู้ เช่น สุวิดา ศรีนาค (2552) ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ส่งเสริมการอ่าน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนมีความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดและกุลิสรา เบ้าสุข (2552) ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องการตกแต่งภาพที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และเจตคติทางการเรียน กลุ่มสาระวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดโป่งก้อนเส้า จังหวัดสระบุรี พบว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องการตกแต่งภาพนักเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีเจตคติทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติท่ีระดับ .01

    นอกจากนั้น ในการด าเนินกิจกรรมการเรียนการสอน ความพึงพอใจเป็นสิ่งส าคัญที่กระตุ้นให้ผู้เรียนที่ได้รับมอบหมายหรือต้องการปฏิบัติให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ ซึ่งครูผู้สอนในปัจจุบันเป็นเพียงผู้อ านวยความสะดวกหรือให้ค าแนะน าปรึกษา จึงต้องค านึงถึงความพึงพอใจในการเรียนรู้ และครูผู้สอนที่ต้องการให้กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ บรรลุผลส าเร็จจึงต้องค านึงถึงการจัดบรรยากาศ และสถานการณ์ รวมทั้งสื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนที่เอ้ืออ านวยต่อการเรียน เพ่ือตอบสนองความพึงพอใจของผู้เรียนให้มีแรงจูงใจ ในการท ากิจกรรมจนบรรลุ ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร (วัชรีย์ คงพิบูลย์. 2549: 30) ดังจะเห็นงานวิจัยหลายเรื่องเกี่ยวกับความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ เช่น วีณา บุญปัทม์ (2550) ที่ได้วิจัยเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบจิ๊กซอว์ เรื่องพัฒนาการของอาณาจักสุโขทัยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

  • 5

    และความพึงพอใจในการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบจิ๊กซอว์ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด สุคนธ์ ยะณะโชติ (2554) ได้วิจัยเกี่ยวกับผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาสุขศึกษา เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กลุ่มร่วมมือแบบจิ๊กซอว์ พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กลุ่มร่วมมือแบบจิ๊กซอว์ โดยรวมและเป็นรายด้านอยู่ในระดับมาก และ จีรนันท์ ค าพิลา (2553) ที่ได้วิจัยเกี่ยวกับผลการจัดการเรียนรู้ เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ 2 ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ 2 ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อยู่ระดับมากท่ีสุด

    จากความเป็นมาและความส าคัญที่กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพ่ือเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ก่อน และหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ทั้งเป็นการตอบสนองนโยบายปฏิรูปการศึกษาให้ครูมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร และสื่อการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย

    1. เพ่ือเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 2. เพ่ือศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ขอบเขตของการวิจัย 1. ขอบเขตด้านเนื้อหาและระยะเวลา

    1.1 เนื้อหาที่ใช้การวิจัยในครั้งนี้ได้แก่ เนื้อหาวิชาคอมพิวเตอร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดช่องคีรีศรีสิทธิวราราม พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระ การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยแบ่งออกเป็น 6 เรื่อง คือ

    1.1.1 ความรู้เบื้องต้นเก่ียวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 1.1.2 รูปแบบและลักษณะการเชื่อมโยงเครือข่าย 1.1.3 ชนิดของสื่อกลางส่งข้อมูล 1.1.4 ความรู้เบื้องต้นเก่ียวกับอินเทอร์เน็ต 1.1.5 มารยาทในการใช้งานอินเทอร์เน็ต 1.1.6 ประโยชน์และโทษของอินเทอร์เน็ต

    1.2 ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โดยใช้เวลา

  • 6

    3 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 วัน วันละ 2 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 12 ชั่วโมง

    2. ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

    2.1 ประชากร

    ประชากรในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในสังกัดส านักการศึกษาเทศบาลนครนครสวรรค์ อ าเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จ านวน 8 โรงเรียน จ านวนห้องเรียนทั้งหมด 18 ห้องเรียน 2.2 กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาลวัดช่องคีรีศรีสิทธิวราราม สังกัดส านักการศึกษาเทศบาลนครนครสวรรค์ อ าเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ จ านวน 1 ห้อง มีนักเรียน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่มสองขั้นตอน (Multi-stage Sampling) ด้วยการจับฉลาก โดยมีโรงเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม 3. ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา

    3.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 3.2 ตัวแปรตาม ได้แก ่ 3.2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ 3.2.2 ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ นิยามศัพท์เฉพาะ

    การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้แก่ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ แต่ละกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกที่มีความรู้ความสามารถแตกต่างกัน ได้ลงมือกระท าค้นหาความรู้ด้วยตนเอง จากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จนเกิดความรู้ ความเข้าใจที่ชัดเจน และสร้างผลงานเป็นความส าเร็ จ ของกลุ่ม มีข้ันตอนดังนี้

    ขั้นที่ 1 การจัดกลุ่มผู้เรียน หมายถึง ครูผู้สอนก าหนดขนาดของกลุ่มตามจ านวนหัวข้อย่อยของเนื้อหาสาระกลุ่มละ 4-5 คน และจัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ (เก่ง-กลาง-อ่อน) เรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่มบ้าน (Home group) ขั้นที่ 2 การมอบหมายงาน หมายถึง ผู้สอนแบ่งเนื้อหาที่จะเรียนออกเป็นหัวข้อย่อยเท่ากับจ านวนสมาชิกในกลุ่มบ้าน โดยให้สมาชิกแต่ละคนรับผิดชอบเนื้อหาไปศึกษาค้นคว้า คนละ 1 หัวข้อ ขั้นที่ 3 การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ หมายถึง การให้สมาชิกที่ได้รับมอบหมายให้ศึกษาหัวข้อเดียวกันของแต่ละกลุ่มบ้านมารวมเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Expert group) เพ่ือศึกษาหาความรู้จากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้สอนจัดเตรียมไว้ให้ และผู้เรียนเตรียมการถ่ายทอดความรู้ต่อสมาชิก กลุ่มบ้าน ขั้นที่ 4 การถ่ายทอดความรู้ หมายถึง สมาชิกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญกลับไปยังกลุ่มบ้านของตนแล้วผลัดกันถ่ายทอดความรู้ให้เพ่ือนในกลุ่มจนทุกคนในกลุ่มเข้าใจ สมาชิกในกลุ่มร่วมกันอภิปราย และซักถาม

  • 7

    ขั้นที่ 5 การทดสอบความรู้และมอบของรางวัล หมายถึง ผู้เรียนแต่ละคนท าแบบทดสอบ โดยผู้สอนจะน าคะแนนของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่มมารวมกันแล้วหาค่าเฉลี่ยเป็นคะแนนของกลุ่ม กลุ่มใดได้คะแนนสูงสุดได้รับรางวัล ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความสามารถในการศึกษาเรียนรู้รายวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งวัดจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผู้วิจัยสร้างข้ึน ซ่ึงเป็นแบบทดสอบปรนัย แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จ านวน 30 ข้อ ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือวิชาคอมพิวเตอร์ หมายถึง ความรู้สึกชอบพอใจและสนใจ ของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วัดจากแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ตามวิธีของลิเคอร์ท (Likert) จ านวน 20 ข้อ ประโยชน์ที่ได้รับ 1. นักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น 2. เป็นแนวทางส าหรับครูผู้สอนในการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ 3. เป็นแนวทางในการจัดการเรยีนรู้ในรายวชิาอ่ืน ๆ ด้วยหนังสอือิเล็กทรอนิกส์ประกอบการสอน

  • 8

    บทที่ 2

    เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพ่ือความเข้าใจในหลักการ และทฤษฎีตลอดจนผลการวิจัยต่าง ๆ และน าเสนอสรุปเป็นประเด็นส าคัญดังนี้ 1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี 1.1 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ 1.2 คุณภาพผู้เรียนเมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 1.3 โครงสร้างรายวิชา ง 16101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี 1.4 ค าอธิบายรายวิชาคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 1.5 การจัดการเรียนรู้ที่ใช้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 1.6 การวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี 2. การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ 2.1 ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ 2.2 องค์ประกอบที่ส าคัญของการเรียนรู้แบบร่วมมือ 2.3 รูปแบบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ 2.4 การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ 2.5 แนวคิดของการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ 2.6 องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ 2.7 บทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ 2.8 ขั้นตอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ 2.9 ประโยชน์ของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ 3. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 3.1 ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 3.2 องค์ประกอบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 3.3 ประเภทของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 3.4 ประโยชน์ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4.1 ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

  • 9

    4.2 การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4.3 ประเภทของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4.4 การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4.5 การหาคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5. ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ 5.1 ความหมายของความพึงพอใจ 5.2 ทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจ 5.3 การวัดความพึงพอใจ 5.4 การสร้างและหาคุณภาพแบบวัดความพึงพอใจ 6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 6.1 งานวิจัยในประเทศ 6.2 งานวิจัยต่างประเทศ 7. กรอบแนวคิดในการวิจัย 8. สมมติฐานการวิจัย หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

    กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเป็นกลุ่มสาระที่ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียน มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะพ้ืนฐานที่จ าเป็นต่อการด ารงชีวิต และเรียนรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง สามารถน าความรู้เกี่ยวกับการด ารงชีวิต การอาชีพและเทคโนโลยี มาใช้ประโยชน์ในการท างาน อย่างมีความคิดสร้างสรรค์ และการแข่งขันในสังคมไทยและสากล เห็นแนวทางในการประกอบอาชีพ รักการท างาน และมีเจตคติที่ดีต่อการท างาน สามารถด ารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างพอเพียง และมีความสุข (ส านักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. 2551: 1 - 50)

    1. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ สาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 ประกอบไปด้วย 4 สาระการเรียนรู้ดังนี้

    สาระที่ 1 การด ารงชีวิตและครอบครัว

    มาตรฐาน ง 1.1 เข้าใจการท างาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการท างาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการท างานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้ มีคุณธรรม และลักษณะนิสัยในการท างาน มีจิตส านึกในการใช้พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพ่ือการด ารงชีวิตและครอบครัว

    สาระที่ 2 การออกแบบและเทคโนโลยี มาตรฐาน ง 2.1 เข้าใจเทคโนโลยีและกระบวนการเทคโนโลยี ออกแบบและสร้างสิ่งของเครื่องใช้ หรือวิธีการตามกระบวนการเทคโนโลยีอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ เลือกใช้เทคโนโลยี

  • 10

    ในทางสร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมในการจัดการเทคโนโลยีที่ยั่งยืน สาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาตรฐาน ง 3.1 เข้าใจ เห็นคุณค่า และการใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหา การท างาน และการประกอบอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีคุณธรรม สาระที่ 4 การอาชีพ มาตรฐาน ง 4.1 เข้าใจ มีทักษะที่จ าเป็น มีประสบการณ์ เห็นแนวทางในงานอาชีพ ใช้เทคโนโลยีเพ่ือพัฒนาอาชีพ มีคุณธรรม และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ ในวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เลือกสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ดังนี้ สาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาตรฐานการเรียนรู้ ง 3.1 คือ เข้าใจ เห็นคุณค่า และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหา การท างาน และอาชีพ อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีคุณธรรม 2. คุณภาพผู้เรียนเมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีท่ี 6 1. เข้าใจการท างานและปรับปรุงการท างานแต่ละขั้นตอน มีทักษะการจัดการ ทักษะการท างานร่วมกัน ท างานอย่างเป็นระบบและมีความคิดสร้างสรรค์ มีลักษณะนิสัยการท างาน ที่ขยัน อดทน รับผิดชอบ ซื่อสัตย์ มีมารยาท และมีจิตส านึกในการใช้น้ า ไฟฟ้าอย่างประหยัดและคุ้มค่า 2. เข้าใจความหมาย วิวัฒนาการของเทคโนโลยี และส่วนประกอบของระบบเทคโนโลยี มีความคิดในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการอย่างหลากหลาย น าความรู้และทักษะการสร้างชิ้นงานไปประยุกต์ในการสร้างสิ่ งของเครื่องใช้ตามความสนใจอย่างปลอดภัย โดยใช้กระบวนการเทคโนโลยี ได้แก่ ก าหนดปัญหาหรือความต้องการ จากนั้นรวบรวมข้อมูล และออกแบบ โดยการถ่ายทอดความคิดเป็นภาพร่าง 3 มิติ หรือแผนที่ความคิด ลงมือสร้าง และประเมินผลเลือกใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจ าวันอย่างสร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคม และมีการจัดการเทคโนโลยีด้วยการแปรรูปแล้วน ากลับมาใช้ใหม่ 3. เข้าใจหลักการแก้ปัญหาเบื้องต้น มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในการค้นหาข้อมูล เก็บรักษาข้อมูล สร้างภาพกราฟิก สร้างงานเอกสาร น าเสนอข้อมูล และสร้างชิ้นงานอย่างมีจิตส านึก และมีความรบัผิดชอบ

    4. มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับอาชีพ รวมทั้งมีความรู้ ความสามารถ และคุณธรรมที่สัมพันธ์กับอาชีพ 3. โครงสร้างรายวิชา ง 16101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี โครงสร้างรายวิชา ง